บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน (BWG) จะใช้เงิน 12.49 ล้านบาท เพื่อเข้าถือหุ้นทางอ้อมเกือบทั้งหมดในบริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด (RH) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม พร้อมลงทุนเพิ่มเติมเพื่อทำโครงการ ซึ่งเบื้องต้นจะให้เงินช่วยเหลือทางการเงินแก่ RH ในวงเงินไม่เกิน 125 ล้านบาท เพื่อใช้ชำระค่าซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ซึ่งหากการเข้าซื้อ RH แล้วเสร็จจะทำให้กลุ่ม BWG มีโครงการที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมรอบใหม่ 2 โครงการ
BWG แจ้งว่า ได้รับแจ้งจากบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (ETC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 60% ว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ของ ETC อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 820 ล้านบาท จากเดิม 500 ล้านบาท เพื่อเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ ETC ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ โดยให้เรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนในเบื้องต้นในอัตรา 40% คิดเป็นจำนวน 128 ล้านบาท โดย BWG จะชำระเงินเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นใน ETC จำนวน 1.92 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 40 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 76.8 ล้านบาท
นอกจากนี้ ETC ยังมีมติการเข้าซื้อหุ้น 99.88% ในบริษัท ลิงค์ 88 พาวเวอร์ จำกัด (L88) เป็นจำนวนเงิน 12.49 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ ETC สามารถเข้าถือหุ้นของ RH ทางอ้อม โดยผ่าน L88 ซึ่งถือหุ้นอยู่ใน RH จำนวน 95% เพื่อเป็นการรองรับดำเนินโครงการที่ได้ยื่นคำร้อง และข้อเสนอขอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 22 ก.ย.59 ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT)
ขณะที่ RH มีภาระที่จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร (รวมค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน) เพื่อใช้เป็นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณไม่เกิน 121 ล้านบาท ดังนั้น ETC ตกลงอนุมัติการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ RH กู้ยืมเงินไม่เกิน 125 ล้านบาท เพื่อใช้ซื้อที่ดินดังกล่าว และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ คิดดอกเบี้ยในอัตรา 8% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่มียอดหนี้คงค้าง
ดังนั้น เมื่อรวมกับการใช้วงเงิน 12.49 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหุ้น L88 และการให้เงินกู้ยืมในการซื้อที่ดินไม่เกิน 125 ล้านบาทนั้น ทำให้ขนาดของรายการทั้งสองมีมูลค่ารวมเท่ากับ 137.49 ล้านบาท
อนึ่ง RH เป็น 1 ใน 7 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมที่ กกพ. เพิ่งประกาศรายชื่อเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ต.ค.) ซึ่งการเข้าถือหุ้นทางอ้อมของกลุ่ม BWG ใน RH ครั้งนี้ก็จะส่งผลให้กลุ่ม BWG มีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมรอบนี้ 2 โครงการ รวมถึงบริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มที่ได้รับคัดเลือก โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ ขณะที่ RH มีกำลังผลิตติดตั้ง 9.4 เมกะวัตต์
BWG แจ้งว่า ได้รับแจ้งจากบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (ETC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นอยู่ 60% ว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ของ ETC อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 820 ล้านบาท จากเดิม 500 ล้านบาท เพื่อเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ ETC ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ โดยให้เรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนในเบื้องต้นในอัตรา 40% คิดเป็นจำนวน 128 ล้านบาท โดย BWG จะชำระเงินเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นใน ETC จำนวน 1.92 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 40 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 76.8 ล้านบาท
นอกจากนี้ ETC ยังมีมติการเข้าซื้อหุ้น 99.88% ในบริษัท ลิงค์ 88 พาวเวอร์ จำกัด (L88) เป็นจำนวนเงิน 12.49 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ ETC สามารถเข้าถือหุ้นของ RH ทางอ้อม โดยผ่าน L88 ซึ่งถือหุ้นอยู่ใน RH จำนวน 95% เพื่อเป็นการรองรับดำเนินโครงการที่ได้ยื่นคำร้อง และข้อเสนอขอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 22 ก.ย.59 ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT)
ขณะที่ RH มีภาระที่จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร (รวมค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน) เพื่อใช้เป็นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณไม่เกิน 121 ล้านบาท ดังนั้น ETC ตกลงอนุมัติการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ RH กู้ยืมเงินไม่เกิน 125 ล้านบาท เพื่อใช้ซื้อที่ดินดังกล่าว และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ คิดดอกเบี้ยในอัตรา 8% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่มียอดหนี้คงค้าง
ดังนั้น เมื่อรวมกับการใช้วงเงิน 12.49 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหุ้น L88 และการให้เงินกู้ยืมในการซื้อที่ดินไม่เกิน 125 ล้านบาทนั้น ทำให้ขนาดของรายการทั้งสองมีมูลค่ารวมเท่ากับ 137.49 ล้านบาท
อนึ่ง RH เป็น 1 ใน 7 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมที่ กกพ. เพิ่งประกาศรายชื่อเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ต.ค.) ซึ่งการเข้าถือหุ้นทางอ้อมของกลุ่ม BWG ใน RH ครั้งนี้ก็จะส่งผลให้กลุ่ม BWG มีโครงการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมรอบนี้ 2 โครงการ รวมถึงบริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มที่ได้รับคัดเลือก โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ ขณะที่ RH มีกำลังผลิตติดตั้ง 9.4 เมกะวัตต์