เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ ลุ้นออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเข้าก่อนธันวาคมนี้ หนุนกำไรปีนี้โตกว่าปีก่อน ขณะคงเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ 10% เผยรอความชัดเจนจากภาครัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น สบช่องการติดตั้งตู้ชาร์จไฟ ดันรายได้เพิ่ม ขณะเจรจาซื้อกิจการในไต้หวัน เสริมศักยภาพ
นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่า กำไรสุทธิปีนี้มีโอกาสจะทำได้สูงกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 6.71 พันล้านบาท หากได้รับคำสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ประกอบการในยุโรป และสหรัฐฯ เข้ามาในก่อนเดือน ธ.ค.59 ช่วยหนุนผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ปีนี้สูงขึ้นจากไตรมาส 3 ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังในปี 60 พร้อมคงเป้ารายได้การเติบโตไว้ที่ระดับ 10% จากปีก่อนที่ทำได้ 4.79 หมื่นล้านบาท แม้รายได้จากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มโทรคมนาคม ซึ่งถือเป็นรายได้หลักปรับตัวลง 20% แต่คาดว่าธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยผลักดันรายได้ช่วงไตรมาส 4 ปี 59 มีโอกาสเติบโตตามเป้าหมาย
“ตอนนี้เราก็ลุ้นว่า ออเดอร์ของชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาในไตรมาส 4 นี้หรือไม่ เพราะเท่าที่เราได้ทำการ R&D ก็มีลูกค้ารองรับไว้แล้ว มีโอกาสสูงที่ผู้ประกอบการรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มสั่งซื้อชิ้นส่วนฯ ไปการผลิตรถ เพราะเขาจะต้องขายรถยนต์ไฟฟ้า และส่งมอบให้กับลูกค้าในปี 60 ซึ่งถ้าออเดอร์นี้เข้ามา ก็จะช่วยทำให้กำไรปีนี้ของบริษัทสูงกว่าปีก่อน แต่หากออเดอร์ไม่เข้าตามคาด อาจส่งผลต่อเป้าหมายของการดำเนินงานต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย” นายอนุสรณ์ กล่าว
สำหรับธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้านั้น บริษัทได้ทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในช่วงที่ผ่านมา โดยใช้งบลงทุนไปแล้วกว่า 300-400 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้ครบตามแผนงาน 1 พันล้านบาท โดยมองเห็นโอกาสของการเติบโตในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ ที่มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง ซึ่งเริ่มมีการทยอยใช้งานรถไฟฟ้ากันแล้ว แต่ปัจจุบันยังติดปัญหาในเรื่องจำนวนตู้ชาร์จไฟ และประเภทของหัวจ่ายไฟที่ยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 60 DELTA คาดว่า ค่ายรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มทำการตลาด และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องมีการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถไฟฟ้าเข้ามา ตั้งแต่ช่วงที่เหลือของปีนี้มากขึ้น เพื่อจะใช้สำหรับผลิตในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้าก่อนการส่งมอบให้ลูกค้า ขณะเดียวกัน ที่ตู้ชาร์จไฟบริษัทก็ได้แจกจ่ายออกไป เพื่อติดตั้งในประเทศกลุ่มยุโรป และมองโอกาสที่จะลงทุนติดตั้งในไทย
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากภาครัฐ หลังจากเริ่มมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และในช่วงแรกภาครัฐได้เสนอที่จะลงทุนติดตั้งตู้ชาร์จไฟเอง ซึ่งทางบริษัทก็เห็นโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตั้งตู้ชาร์จไฟ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายตู้ชาร์จไฟ รวมไปถึงรายได้ค่าบริการด้วย ซึ่งโครงการติดตั้งตู้ชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าจะนำร่องการให้บริการหน่วยงานภาครัฐที่ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้ว คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และในอนาคตรัฐบาลน่าจะเพิ่มรถไฟฟ้าให้เป็นรถที่ใช้ในหน่วยงานราชการ
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนเข้าซื้อกิจการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันในต่างประเทศ โดยจะเป็นธุรกิจที่เข้ามาเสริมศักยภาพ เช่น การเสริมศักยภาพ และสร้างนวัตกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายความร้อนในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท รวมไปถึงการระบายความร้อนในรถยนต์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสในอนาคต เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุน และประหยัดพลังงาน และเตรียมเจรจาเพื่อซื้อกิจการในไต้หวัน
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 60 คาดว่า รายได้จะสูงกว่าปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการฟื้นตัวของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มโทรคมนาคม ที่จะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปีหน้าเป็นช่วงการเปลี่ยนเทคโนโลยี ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น หลังจากปีนี้ที่ธุรกิจโทรคมนาคมถึงจุดอิ่มตัว เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีใหม่ อีกทั้งการสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มสูงขึ้นจากกระกระตุ้นการใช้ ซึ่งจะเสริมให้สัดส่วนรายได้จากยุโรปจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% จากปีนี้ 60% ด้านรายได้จากอินเดียปีหน้า คาดว่าจะทำได้ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปีนี้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะในอินเดีย มีการเติบโตของการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มตาม
นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่า กำไรสุทธิปีนี้มีโอกาสจะทำได้สูงกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 6.71 พันล้านบาท หากได้รับคำสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ประกอบการในยุโรป และสหรัฐฯ เข้ามาในก่อนเดือน ธ.ค.59 ช่วยหนุนผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ปีนี้สูงขึ้นจากไตรมาส 3 ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังในปี 60 พร้อมคงเป้ารายได้การเติบโตไว้ที่ระดับ 10% จากปีก่อนที่ทำได้ 4.79 หมื่นล้านบาท แม้รายได้จากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มโทรคมนาคม ซึ่งถือเป็นรายได้หลักปรับตัวลง 20% แต่คาดว่าธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยผลักดันรายได้ช่วงไตรมาส 4 ปี 59 มีโอกาสเติบโตตามเป้าหมาย
“ตอนนี้เราก็ลุ้นว่า ออเดอร์ของชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาในไตรมาส 4 นี้หรือไม่ เพราะเท่าที่เราได้ทำการ R&D ก็มีลูกค้ารองรับไว้แล้ว มีโอกาสสูงที่ผู้ประกอบการรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มสั่งซื้อชิ้นส่วนฯ ไปการผลิตรถ เพราะเขาจะต้องขายรถยนต์ไฟฟ้า และส่งมอบให้กับลูกค้าในปี 60 ซึ่งถ้าออเดอร์นี้เข้ามา ก็จะช่วยทำให้กำไรปีนี้ของบริษัทสูงกว่าปีก่อน แต่หากออเดอร์ไม่เข้าตามคาด อาจส่งผลต่อเป้าหมายของการดำเนินงานต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย” นายอนุสรณ์ กล่าว
สำหรับธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้านั้น บริษัทได้ทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในช่วงที่ผ่านมา โดยใช้งบลงทุนไปแล้วกว่า 300-400 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้ครบตามแผนงาน 1 พันล้านบาท โดยมองเห็นโอกาสของการเติบโตในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ ที่มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง ซึ่งเริ่มมีการทยอยใช้งานรถไฟฟ้ากันแล้ว แต่ปัจจุบันยังติดปัญหาในเรื่องจำนวนตู้ชาร์จไฟ และประเภทของหัวจ่ายไฟที่ยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 60 DELTA คาดว่า ค่ายรถยนต์ในยุโรป และสหรัฐฯ จะเริ่มทำการตลาด และจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องมีการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถไฟฟ้าเข้ามา ตั้งแต่ช่วงที่เหลือของปีนี้มากขึ้น เพื่อจะใช้สำหรับผลิตในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้าก่อนการส่งมอบให้ลูกค้า ขณะเดียวกัน ที่ตู้ชาร์จไฟบริษัทก็ได้แจกจ่ายออกไป เพื่อติดตั้งในประเทศกลุ่มยุโรป และมองโอกาสที่จะลงทุนติดตั้งในไทย
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากภาครัฐ หลังจากเริ่มมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และในช่วงแรกภาครัฐได้เสนอที่จะลงทุนติดตั้งตู้ชาร์จไฟเอง ซึ่งทางบริษัทก็เห็นโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตั้งตู้ชาร์จไฟ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายตู้ชาร์จไฟ รวมไปถึงรายได้ค่าบริการด้วย ซึ่งโครงการติดตั้งตู้ชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าจะนำร่องการให้บริการหน่วยงานภาครัฐที่ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้ว คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และในอนาคตรัฐบาลน่าจะเพิ่มรถไฟฟ้าให้เป็นรถที่ใช้ในหน่วยงานราชการ
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีแผนเข้าซื้อกิจการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันในต่างประเทศ โดยจะเป็นธุรกิจที่เข้ามาเสริมศักยภาพ เช่น การเสริมศักยภาพ และสร้างนวัตกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบระบายความร้อนในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท รวมไปถึงการระบายความร้อนในรถยนต์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสในอนาคต เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุน และประหยัดพลังงาน และเตรียมเจรจาเพื่อซื้อกิจการในไต้หวัน
สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 60 คาดว่า รายได้จะสูงกว่าปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการฟื้นตัวของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มโทรคมนาคม ที่จะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปีหน้าเป็นช่วงการเปลี่ยนเทคโนโลยี ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น หลังจากปีนี้ที่ธุรกิจโทรคมนาคมถึงจุดอิ่มตัว เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีใหม่ อีกทั้งการสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มสูงขึ้นจากกระกระตุ้นการใช้ ซึ่งจะเสริมให้สัดส่วนรายได้จากยุโรปจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% จากปีนี้ 60% ด้านรายได้จากอินเดียปีหน้า คาดว่าจะทำได้ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปีนี้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะในอินเดีย มีการเติบโตของการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มตาม