xs
xsm
sm
md
lg

สภาพัฒน์คาดปี 59 จีดีพีของไทยเติบโตได้ 3% ห่วงผลกระทบ ศก.โลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สภาพัฒน์ เผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/58 ขยายตัวได้ 2.8% ดีกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์เอาไว้ คาดปี 59 จีดีพีเติบโตได้ 3.3% ปรับลดจากคาดการณ์เดิมเล็กน้อย รอลุ้นเงินลงทุนภาครัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ห่วงเศรษฐกิจโลกฉุดเศรษฐกิจไทย

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จีดีพีไตรมาส 4 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ทำให้เศรษฐกิจทั้งปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8 ในปี 2557 โดยการบริโภคขยายตัวร้อยละ 2.1 การลงทุนขยายตัวร้อยละ 4.7 การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.6 สำหรับการผลิตในภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.2 กำหนดอัตราเงินเฟ้อลบร้อยละ 0.9

ทั้งนี้ สศช.คาดการณ์ว่า จีดีพีปี 2559 จากเดิมคาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 3.5 กำหนดเป็นค่ากลางร้อยละ 3.3 สูงขึ้นจากขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2558 คาดการณ์เงินบาทอ่อนค่าจาก 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเป็น 35.2-36.5 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันลดลงจากคาดการณ์เดิม 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 32-42 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ชะลอปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.6 อัตราเงินเฟ้อลบร้อยละ 0.1-0.9

สำหรับมูลค่าการส่งออกชะลอร้อยละ 1.2 เนื่องจากการค้าโลกขยายตัวจากร้อยละ 3.8 เหลือร้อยละ 3.2 เพราะแนวโน้มเงินบาทยังอ่อนค่า การส่งออกหลายประเทศติดลบอย่างมาก กลุ่มรถยนต์ยังส่งออกได้ต่อเนื่อง ขณะที่ไทยต้องติดตามเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด เพราะค่าเงินหยวนของจีนถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง จึงห่วงเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวนอีกปีหนึ่ง

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.0. ในปี 2558 แต่ปรับลดลงจากประมาณการร้อยละ 4.7 เนื่องจากกำลังการผลิตยังอยู่ระดับต่ำ และยังมีข้อจำกัดการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 11.2 เนื่องจากเงินลงทุนภาครัฐจออกสู่ระบบสูงมากถึงร้อยละ 29.8 ทำให้ปี 2559 มีอัตราชะลอลง รัฐบาลจึงต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ การเร่งรัดลงทุนด้านคมนาคม การส่งเสริมการค้าตามแนวชายแดน

โดยยังมีปัจจัยบวกเพื่อรอเงิน 7 มาตรการภาครัฐออกสู่ระบบ 180,000 ล้านบาท ในปี 2559 เช่น สินเชื่อส่งเสริมเอสเอ็มอี การอัดฉีดเงินผ่านกองทุนหมู่บ้านฯ โครงการประชารัฐดูแลเศรษฐกิจฐานราก การเดินหน้าขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การดูแลรายได้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย และหาทางป้องกันภัยแล้ง เพราะทำให้ภาคเกษตรกลับมาฟื้นตัวได้ช้า รัฐบาลกำลังเร่งออกมาตรการแก้ปัญหา
กำลังโหลดความคิดเห็น