xs
xsm
sm
md
lg

MILL ลงขันกับ โกเบ สตีล ตั้งบริษัทร่วมทุน 2.8 พันล้าน ผลิตเหล็กเกรดพิเศษป้อนอุตฯ ยานยนต์ (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล  กรรมการผู้จัดการใหญ่  เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บมจ. มิลล์คอน สตีล หรือ MILL
โกเบสตีล-มิลล์คอสตีล ทุ่ม 2.8 พันล้าน ตั้งบริษัทร่วมทุน โคเบลโก้ มิลล์คอน สตีล หรือ KMS ผลิต และจำหน่ายเหล็กลวดเกรดพิเศษ ในประเทศไทยป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดช่วยดันบุ๊กแวลู่เพิ่มขึ้น กดหนี้สินต่อทุนเหลือ 1.5 เท่าภายในสิ้นปีนี้



นายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บมจ. มิลล์คอน สตีล หรือ MILL ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทร่วมทุนกับ บริษัท โกเบ สตีล จากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ โคเบลโก้ มิลล์คอน สตีล จำกัด หรือ KMS (จากเดิมชื่อ บริษัท มิลล์คอน สเปเชียล สตีล จำกัด หรือ MSS) ซึ่งก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทได้มีการเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจหรือ MOU ไปแล้ว เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุน เพื่อผลิต และจำหน่ายเหล็กลวดในประเทศไทยโดย บริษัท โคเบลโก้ มิลล์คอน สตีล จำกัด หรือ KMS จะเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายเหล็กลวด และเหล็กลวดเกรดพิเศษ เพื่อใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ 2,800 ล้านบาท โดยจะมีกำลังการผลิตเหล็กที่ 480,000 ตัน/ปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI และจะใช้เงินลงทุนในโครงการผลิตเหล็กเกรดพิเศษทั้งหมดประมาณ 6,790 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตเกรดพิเศษได้ภายในปี 2560

“การร่วมทุนในครั้งนี้ โกเบ สตีล ได้อนุมัติงบร่วมทุนเข้ามาใน บริษัท โคเบลโก้ มิลล์คอน จำกัด ประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยจะถือหุ้นในสัดส่วน 50% ซึ่งเงินร่วมทุนดังกล่าว บริษัท มิลล์คอนสตีล มีแผนที่จะนำไปชำระหนี้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ลดลงจากเดิมเกือบ 3 เท่าตัว เหลือเพียงไม่ถึง 1.5 เท่า นอกจากนี้ ในส่วนของความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มมิลล์คอนสตีลคาดว่าจะดีขึ้น จากเดิมที่มาร์จิ้นของการผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 5% ส่วนเหล็กเกรดพิเศษ มาร์จิ้นอยู่ที่ระดับ 15-16% ซึ่งจะทำให้ค่าเฉลี่ยของมาร์จิ้นจะขยับเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว”

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในปี 2558 อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 1.91 ล้านคัน จากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปีนี้ เฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ก็จะมีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สูงเช่นกัน ดังนั้น การใช้เหล็กลวดในกลุ่มประเทศอาเซียนจึงสูงมากขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น