GUNKUL แจงผลโรดโชว์สิงคโปร์สัปดาห์ก่อน ปลื้มนักลงทุนให้การตอบรับดีเกินคาด เตรียมรุกเพิ่มผลิตไฟฟ้า
นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) กล่าวว่า การเดินทางไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้แก่นักลงทุนสถาบันร่วมกับ Credit Suisse Group ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 7-8 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจจากกองทุนต่างๆ เป็นจำนวนมาก และถือว่าเกินกว่าที่คาดไว้มาก
บริษัทได้นำเสนอข้อมูลเพื่อตอกย้ำความมั่นใจให้แก่กองทุนต่างๆ โดยระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ทั้งใน และต่างประเทศรวมกว่า 336 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ โครงการพลังงานลมในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 170 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิต 65 เมกะวัตต์ ซึ่งในปี 2560 บริษัทตั้งเป้ามีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งใน และต่างประเทศไม่น้อยกว่า 550-600 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทยังมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพันธมิตรที่ประเทศญี่ปุ่น นับจากช่วงนี้ยาวถึง 2-3 ปีข้างหน้า โดยกำหนดเป้าหมายไว้ไม่น้อยกว่า 250 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์อยู่ในมือ 65 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดหวังผลตอบแทนจากส่วนเงินลงทุน (EIRR) ไม่น้อยกว่า 12%
ขณะเดียวกัน บริษัทยังประสบความสำเร็จจากการเพิ่มทุน RO (Right Offering) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นเงินกว่า 4 พันล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์รวม และส่วนผู้ถือหุ้นเติบโตและมีสถานะที่แข็งแกร่ง และส่งผลให้มีอัตราหนี้สินต่อทุนในปัจจุบันเพียง 1.10 เท่า ประกอบกับยังมี Warrant ที่ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิได้ในอัตรา 1:1 ในราคา 27 บาท ในระยะเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ บริษัทจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งแสดงเจตจำนงเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวในวงเงินประมาณ 1 พันล้านบาท จะช่วยเสริมศักยภาพ และยังผลให้บริษัทมีเงินทุนเพียงพอต่อการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตได้ถึง 600-650 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นหลักประกันได้ว่าบริษัทไม่จำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนโดยการเพิ่มทุนอีกในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือว่า GUNKUL ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Cap.) ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตเป็น 30,000 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่า อีกทั้งในปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 87 เมกะวัตต์ (ถือสัดส่วน 67%) จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว และคาดว่าในปีนี้ช่วงเดือน มี.ค.59 จะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าจากโครงการวินด์ฟาร์ม จำนวน 10 เมกะวัตต์ ในโครงการซับพลู 1-2 ที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยจะจำหน่ายไฟฟ้าได้ครบทั้ง 60 เมกะวัตต์ ได้ภายในต้นเดือน ก.ค.59
นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 59 จะเติบโตไม่น้อยกว่า 25% มาที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท เนื่องจากทยอยรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัท รางเงิน โซลูชั่น จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 87 เมกะวัตต์ (ถือสัดส่วน 67%) และจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 2 โครงการ คือ โครงการซับพลูวินด์ฟาร์ม 1,2 และ วายุวินด์ฟาร์ม ขนาดกำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ ของบริษัท พัฒนาพลังงานลม
อีกทั้งภาครัฐยังได้ส่งเสริมโครงการพลังงานทดแทน ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมโครงการโซล่าร์สหกรณ์และราชการ โดยได้รับประกาศผ่านคุณสมบัติแล้ว 50 เมกะวัตต์ จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อสร้าง และจำหน่ายไฟฟ้าและรับรู้รายได้ในปี 59 นี้
“บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น และโครงการวินด์ฟาร์มอีก 2 โครงการให้เสร็จสิ้นตามแผนงาน รวมถึงการจัดหา PPA ในโครงการใหม่ครอบคลุมทุกด้านทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายความเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน และก้าวสู่บริษัทพลังงานสะอาดชั้นนำในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไป” นายสมบูรณ์ กล่าว
นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) กล่าวว่า การเดินทางไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้แก่นักลงทุนสถาบันร่วมกับ Credit Suisse Group ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 7-8 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจจากกองทุนต่างๆ เป็นจำนวนมาก และถือว่าเกินกว่าที่คาดไว้มาก
บริษัทได้นำเสนอข้อมูลเพื่อตอกย้ำความมั่นใจให้แก่กองทุนต่างๆ โดยระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ทั้งใน และต่างประเทศรวมกว่า 336 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ โครงการพลังงานลมในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 170 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิต 65 เมกะวัตต์ ซึ่งในปี 2560 บริษัทตั้งเป้ามีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งใน และต่างประเทศไม่น้อยกว่า 550-600 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทยังมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพันธมิตรที่ประเทศญี่ปุ่น นับจากช่วงนี้ยาวถึง 2-3 ปีข้างหน้า โดยกำหนดเป้าหมายไว้ไม่น้อยกว่า 250 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์อยู่ในมือ 65 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดหวังผลตอบแทนจากส่วนเงินลงทุน (EIRR) ไม่น้อยกว่า 12%
ขณะเดียวกัน บริษัทยังประสบความสำเร็จจากการเพิ่มทุน RO (Right Offering) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นเงินกว่า 4 พันล้านบาท ส่งผลให้สินทรัพย์รวม และส่วนผู้ถือหุ้นเติบโตและมีสถานะที่แข็งแกร่ง และส่งผลให้มีอัตราหนี้สินต่อทุนในปัจจุบันเพียง 1.10 เท่า ประกอบกับยังมี Warrant ที่ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิได้ในอัตรา 1:1 ในราคา 27 บาท ในระยะเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ บริษัทจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งแสดงเจตจำนงเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวในวงเงินประมาณ 1 พันล้านบาท จะช่วยเสริมศักยภาพ และยังผลให้บริษัทมีเงินทุนเพียงพอต่อการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตได้ถึง 600-650 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นหลักประกันได้ว่าบริษัทไม่จำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนโดยการเพิ่มทุนอีกในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือว่า GUNKUL ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Cap.) ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตเป็น 30,000 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่า อีกทั้งในปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 87 เมกะวัตต์ (ถือสัดส่วน 67%) จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว และคาดว่าในปีนี้ช่วงเดือน มี.ค.59 จะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าจากโครงการวินด์ฟาร์ม จำนวน 10 เมกะวัตต์ ในโครงการซับพลู 1-2 ที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยจะจำหน่ายไฟฟ้าได้ครบทั้ง 60 เมกะวัตต์ ได้ภายในต้นเดือน ก.ค.59
นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 59 จะเติบโตไม่น้อยกว่า 25% มาที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท เนื่องจากทยอยรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัท รางเงิน โซลูชั่น จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 87 เมกะวัตต์ (ถือสัดส่วน 67%) และจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 2 โครงการ คือ โครงการซับพลูวินด์ฟาร์ม 1,2 และ วายุวินด์ฟาร์ม ขนาดกำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ ของบริษัท พัฒนาพลังงานลม
อีกทั้งภาครัฐยังได้ส่งเสริมโครงการพลังงานทดแทน ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมโครงการโซล่าร์สหกรณ์และราชการ โดยได้รับประกาศผ่านคุณสมบัติแล้ว 50 เมกะวัตต์ จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อสร้าง และจำหน่ายไฟฟ้าและรับรู้รายได้ในปี 59 นี้
“บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น และโครงการวินด์ฟาร์มอีก 2 โครงการให้เสร็จสิ้นตามแผนงาน รวมถึงการจัดหา PPA ในโครงการใหม่ครอบคลุมทุกด้านทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายความเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน และก้าวสู่บริษัทพลังงานสะอาดชั้นนำในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไป” นายสมบูรณ์ กล่าว