กรุงไทย ตบท้ายผลประกอบการแบงก์ไตรมาส 3 กำไรร่วง 41% หลังกันสำรองฯ เพิ่มเก็บกวาดหนี้เสียรายใหญ่ 2 ราย ส่วน 9 เดือน มีกำไร 2.1 หมื่นล้าน ลดลง 13.7% เอ็นพีแอลเพิ่มเป็น 4.03% จาก 3.05% ขณะที่กรุงศรีฯ สดใสกำไรไตรมาส 3 พุ่ง 38%
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) แจ้งผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2558 มีกำไร จำนวน 21,724 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.7% เนื่องจากในส่วนของธนาคารมีการกันสำรองเพิ่มเติม จำนวน 10,300 ล้านบาท โดยตั้งในไตรมาส 2/2558 จำนวน 3,600 ล้านบาท เพื่อรองรับ NPLs จากสินเชื่อรายย่อยและลูกค้า SME ขนาดเล็กเป็นหลัก และในไตรมาส 3/2558 อีกจำนวน 6,700 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสำรองเพิ่มเติมจำนวนประมาณ 6,000 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้อุตสาหกรรมเหล็กรายใหญ่ 2 ราย ที่ธนาคารได้จัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ รวมกับการตั้งสำรองรายเดือน เดือนละ 700 ล้านบาท ส่งผลให้มีการตั้งสำรองจำนวน 21,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,108 ล้านบาท หรือเท่ากับ 59.69% จากระยะเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม รายได้หลักของธนาคารยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 1,862 ล้านบาท (3.23%) และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 1,996 ล้านบาท (14.57%)
ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3 เท่ากับ 1,984,069 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,073 ล้านบาท (1.59%) จาก ณ 31 ธันวาคม 2557 โดยเพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายย่อย และลูกค้า SME ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายสินเชื่อมากนัก และความต้องการสินเชื่อที่น้อยลง ทำให้การขยายสินเชื่อของธนาคารเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ณ 30 กันยายน 2558 จำนวน 91,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34,043 ล้านบาท (59.22%) จาก ณ 31 ธันวาคม 2557 หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.03% ของสินเชื่อรวม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดชั้นลูกค้ารายใหญ่ 2 ราย ในอุตสาหกรรมเหล็กเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ ประมาณ 23,000 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อด้อยคุณภาพของลูกค้ารายใหญ่ดังกล่าว NPL จะเท่ากับ 68,476 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,987 ล้านบาท (19.11%) หรือเท่ากับ 3.05%
ส่วนในไตรมาส 3/2558 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการกันสำรอง และภาษีเงินได้ 17,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,438 ล้านบาท (9.22%) จากไตรมาส 3/2557 เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรอง และภาษีเงินได้แล้ว มีกำไรสุทธิ 5,599 ล้านบาท ลดลง 3,911 ล้านบาท (41.13%) จากไตรมาส 3/2557
กรุงศรีฯ กำไร 9 เดือนเพิ่ม 32%
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) รายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2558 จำนวน 4.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11.5% จากไตรมาส 2/2558 โดยปัจจัยขับเคลื่อนผลงานที่น่าพอใจมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2558 มีกำไรสุทธิ 13.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 4.24% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.79% จาก 3.70% ในไตรมาสก่อนหน้า ปัจจัยหลักเกิดจากต้นทุนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ สินเชื่อมียอดรวมอยู่ที่ 1.237 ล้านล้านบาท โดย 9 เดือนแรกของปี 2558 สินเชื่อขยายตัว 22.1% เพิ่มขึ้นจำนวน 224 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 73.5% ปัจจัยหลักมาจากสินเชื่อ BTMU สาขากรุงเทพฯ ที่โอนมายังกรุงศรี ในเดือนมกราคม 2558 แต่ลดลง 0.7% หรือจำนวน 8.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวในช่วงดังกล่าว โดยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หดตัว 8.1% สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง สินเชื่อเพื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น 5.1% จากความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่เอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 2.44% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.35%
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) แจ้งผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2558 มีกำไร จำนวน 21,724 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.7% เนื่องจากในส่วนของธนาคารมีการกันสำรองเพิ่มเติม จำนวน 10,300 ล้านบาท โดยตั้งในไตรมาส 2/2558 จำนวน 3,600 ล้านบาท เพื่อรองรับ NPLs จากสินเชื่อรายย่อยและลูกค้า SME ขนาดเล็กเป็นหลัก และในไตรมาส 3/2558 อีกจำนวน 6,700 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสำรองเพิ่มเติมจำนวนประมาณ 6,000 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้อุตสาหกรรมเหล็กรายใหญ่ 2 ราย ที่ธนาคารได้จัดชั้นเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ รวมกับการตั้งสำรองรายเดือน เดือนละ 700 ล้านบาท ส่งผลให้มีการตั้งสำรองจำนวน 21,692 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,108 ล้านบาท หรือเท่ากับ 59.69% จากระยะเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม รายได้หลักของธนาคารยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 1,862 ล้านบาท (3.23%) และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 1,996 ล้านบาท (14.57%)
ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3 เท่ากับ 1,984,069 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,073 ล้านบาท (1.59%) จาก ณ 31 ธันวาคม 2557 โดยเพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายย่อย และลูกค้า SME ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายสินเชื่อมากนัก และความต้องการสินเชื่อที่น้อยลง ทำให้การขยายสินเชื่อของธนาคารเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ณ 30 กันยายน 2558 จำนวน 91,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34,043 ล้านบาท (59.22%) จาก ณ 31 ธันวาคม 2557 หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.03% ของสินเชื่อรวม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดชั้นลูกค้ารายใหญ่ 2 ราย ในอุตสาหกรรมเหล็กเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ ประมาณ 23,000 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อด้อยคุณภาพของลูกค้ารายใหญ่ดังกล่าว NPL จะเท่ากับ 68,476 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,987 ล้านบาท (19.11%) หรือเท่ากับ 3.05%
ส่วนในไตรมาส 3/2558 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการกันสำรอง และภาษีเงินได้ 17,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,438 ล้านบาท (9.22%) จากไตรมาส 3/2557 เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรอง และภาษีเงินได้แล้ว มีกำไรสุทธิ 5,599 ล้านบาท ลดลง 3,911 ล้านบาท (41.13%) จากไตรมาส 3/2557
กรุงศรีฯ กำไร 9 เดือนเพิ่ม 32%
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) รายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2558 จำนวน 4.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11.5% จากไตรมาส 2/2558 โดยปัจจัยขับเคลื่อนผลงานที่น่าพอใจมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2558 มีกำไรสุทธิ 13.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 4.24% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.79% จาก 3.70% ในไตรมาสก่อนหน้า ปัจจัยหลักเกิดจากต้นทุนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ สินเชื่อมียอดรวมอยู่ที่ 1.237 ล้านล้านบาท โดย 9 เดือนแรกของปี 2558 สินเชื่อขยายตัว 22.1% เพิ่มขึ้นจำนวน 224 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 73.5% ปัจจัยหลักมาจากสินเชื่อ BTMU สาขากรุงเทพฯ ที่โอนมายังกรุงศรี ในเดือนมกราคม 2558 แต่ลดลง 0.7% หรือจำนวน 8.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวในช่วงดังกล่าว โดยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หดตัว 8.1% สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง สินเชื่อเพื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น 5.1% จากความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่เอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 2.44% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.35%