ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนประเมินเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี 58 มีแนวโน้มแย่ลง ส่งผลให้ทั้งปีเติบโตต่ำกว่า 2% โดยยังได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายการคลัง และการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่บจ. 60% ยังมีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง 12 เดือนข้างหน้า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานผลการสำรวจความคิดเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เกี่ยวกับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 โดยมีบริษัทจดทะเบียนตอบแบบสอบถาม 108 บริษัท คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์รวม 36% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมทั้งตลาด
ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) ส่วนใหญ่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 มีแนวโน้มแย่ลง ตรงกันข้ามจากการสำรวจในครั้งก่อนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัว และ CEO คาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2558 จะเติบโตลดลงไปอยู่ในช่วงน้อยกว่า 2% และคาดแนวโน้มอุตสาหกรรมมีทิศทางที่แย่ลงเช่นเดียวกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 ยังคงเป็นนโยบายการคลัง และการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่ CEO คาดการณ์การท่องเที่ยวจะมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง ภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และ CEO เริ่มให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกที่ไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ และเริ่มมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของ บจ.ในครึ่งหลังของปี 58 จะดีขึ้น โดยสัดส่วน 58% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดรายได้ของบริษัทในปี 58 จะมีอัตราการเติบโตมากกว่า 3% และสัดส่วน 41% จะเติดโตได้มากกว่า 6%
ขณะที่แผนการรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนั้น บจ.จะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ขณะที่ด้านการตลาดให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ด้านการลงทุนบริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญต่อการขยายการลงทุนในต่างประเทศแต่เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ให้ความสนใจต่อการบริหารควบคุมค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และมีข้อสังเกตว่า 1 ใน 4 ของบริษัทจดทะเบียนที่วางแผนลดอัตราการจ้างงานซึ่งสูงกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
สำหรับแนวโน้มการลงทุน ผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วน 60% มีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนขางหน้า โดยมีแหล่งเงินทุนที่สำคัญจากกำไรสะสม การกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และการออกหุ้นกู้ภายในประเทศ ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ สัดส่วน 47% ยังมีแผนขยายการลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ลงทุนน้อยกว่า 25% ของเงินลงทุนทั้งหมดของบริษัท และเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานผลการสำรวจความคิดเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เกี่ยวกับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 โดยมีบริษัทจดทะเบียนตอบแบบสอบถาม 108 บริษัท คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์รวม 36% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมทั้งตลาด
ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) ส่วนใหญ่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 มีแนวโน้มแย่ลง ตรงกันข้ามจากการสำรวจในครั้งก่อนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัว และ CEO คาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2558 จะเติบโตลดลงไปอยู่ในช่วงน้อยกว่า 2% และคาดแนวโน้มอุตสาหกรรมมีทิศทางที่แย่ลงเช่นเดียวกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 ยังคงเป็นนโยบายการคลัง และการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่ CEO คาดการณ์การท่องเที่ยวจะมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง ภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และ CEO เริ่มให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจโลกที่ไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ และเริ่มมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของ บจ.ในครึ่งหลังของปี 58 จะดีขึ้น โดยสัดส่วน 58% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดรายได้ของบริษัทในปี 58 จะมีอัตราการเติบโตมากกว่า 3% และสัดส่วน 41% จะเติดโตได้มากกว่า 6%
ขณะที่แผนการรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนั้น บจ.จะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ขณะที่ด้านการตลาดให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ด้านการลงทุนบริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญต่อการขยายการลงทุนในต่างประเทศแต่เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ให้ความสนใจต่อการบริหารควบคุมค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และมีข้อสังเกตว่า 1 ใน 4 ของบริษัทจดทะเบียนที่วางแผนลดอัตราการจ้างงานซึ่งสูงกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
สำหรับแนวโน้มการลงทุน ผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วน 60% มีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนขางหน้า โดยมีแหล่งเงินทุนที่สำคัญจากกำไรสะสม การกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และการออกหุ้นกู้ภายในประเทศ ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ สัดส่วน 47% ยังมีแผนขยายการลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ลงทุนน้อยกว่า 25% ของเงินลงทุนทั้งหมดของบริษัท และเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน