ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ บล. โนมูระ เตรียมเดินสายโรดโชว์เชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นไทยต้นเดือน ก.ค. นี้ หลัง ก.ล.ต. อนุมัติออกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น
ดร. ภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เดือน ก.ค. นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทหลักทรัพย์โนมูระจะเดินทาง เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนในประเทศญี่ปุ่น อีกยังร่วมมือกับทางบริษัทเคพีเอ็มจี ภูมิไทย เพื่อเชิญให้บริษัทญี่ปุ่นทั้งที่อยู่ทั้งในตลาดและนอกตลาดซึ่งมีความสนใจจะเข้าลงทุนในประเทศไทยได้อาศัยตลาดหลักทรัพย์ของไทยเป็นแหล่งในการระดมทุนให้มากขึ้นแทนการใช้วิธีการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ในตลาดพันธบัตรเช่นปัจจุบัน
ปัจจุบัน มีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นห่วงโซ่การผลิตจากญี่ปุ่นหลักสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้ออกสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น เช่น กองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ทรัสต์ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมองว่า บริษัทลูกสัญชาติญี่ปุ่นที่มีฐานการทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ลิซซิ่ง, ฮอนด้า ยังจะมีความต้องการที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นของไทยในอนาคต
นอกจากกลุ่มผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังมองว่า กลุ่มประเทศที่มีโอกาสและสนใจจะใช้ตลาดหุ้นไทยเป็นเครื่องมือในการระดมทุนนั้นจะเป็นกลุ่มประเทศที่มีนักลงทุนของตนขยายการลงทุนเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อย่างประเทศจีน
สำหรับการระดมทุนด้วยการขายหุ้นไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ฯ นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 58 มีทั้งสิ้น 7.98 หมื่นล้านบาท โดยมูลค่าการระดมทุนดังกล่าวถือว่าสูงสุดในภูมิภาค และมากกว่าตลาดอันดับ 2 รองจากไทยอย่างมาเลเซียถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ มูลค่ารวมการออกหุ้นไอพีโอในตลาดมาเลเซียมีมูลค่าทั้งสิ้น 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อินโดนีเซีย 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสิงคโปร์ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดร. อาภร ยังย้ำด้วยว่า สาเหตุการระดมทุนด้วยการออกหุ้นไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ที่มีอย่างมากมายในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นก็เนื่องจากหลายบริษัทจดทะเบียนในไทยต่างก็พยายามเร่งขยายการลงทุนของพวกตนไปยังต่างประเทศ อย่างเช่น บมจ.ซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP อีกทั้ง ปัจจุบันก็มีเครื่องมือใหม่ๆ ในการระดมทุนมากขึ้น เช่น กองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ดร. ภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เดือน ก.ค. นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทหลักทรัพย์โนมูระจะเดินทาง เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนในประเทศญี่ปุ่น อีกยังร่วมมือกับทางบริษัทเคพีเอ็มจี ภูมิไทย เพื่อเชิญให้บริษัทญี่ปุ่นทั้งที่อยู่ทั้งในตลาดและนอกตลาดซึ่งมีความสนใจจะเข้าลงทุนในประเทศไทยได้อาศัยตลาดหลักทรัพย์ของไทยเป็นแหล่งในการระดมทุนให้มากขึ้นแทนการใช้วิธีการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ในตลาดพันธบัตรเช่นปัจจุบัน
ปัจจุบัน มีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นห่วงโซ่การผลิตจากญี่ปุ่นหลักสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้ออกสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น เช่น กองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ทรัสต์ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมองว่า บริษัทลูกสัญชาติญี่ปุ่นที่มีฐานการทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ลิซซิ่ง, ฮอนด้า ยังจะมีความต้องการที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นของไทยในอนาคต
นอกจากกลุ่มผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังมองว่า กลุ่มประเทศที่มีโอกาสและสนใจจะใช้ตลาดหุ้นไทยเป็นเครื่องมือในการระดมทุนนั้นจะเป็นกลุ่มประเทศที่มีนักลงทุนของตนขยายการลงทุนเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อย่างประเทศจีน
สำหรับการระดมทุนด้วยการขายหุ้นไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ฯ นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 58 มีทั้งสิ้น 7.98 หมื่นล้านบาท โดยมูลค่าการระดมทุนดังกล่าวถือว่าสูงสุดในภูมิภาค และมากกว่าตลาดอันดับ 2 รองจากไทยอย่างมาเลเซียถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ มูลค่ารวมการออกหุ้นไอพีโอในตลาดมาเลเซียมีมูลค่าทั้งสิ้น 790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อินโดนีเซีย 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสิงคโปร์ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดร. อาภร ยังย้ำด้วยว่า สาเหตุการระดมทุนด้วยการออกหุ้นไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ที่มีอย่างมากมายในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นก็เนื่องจากหลายบริษัทจดทะเบียนในไทยต่างก็พยายามเร่งขยายการลงทุนของพวกตนไปยังต่างประเทศ อย่างเช่น บมจ.ซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP อีกทั้ง ปัจจุบันก็มีเครื่องมือใหม่ๆ ในการระดมทุนมากขึ้น เช่น กองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์