“คลัง” เดินหน้าเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อไป ขอเวลาอีก 2 สัปดาห์ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม “หม่อยอุ๋ย” ระบุจะมีผลบังคับใช้จริงอาจต้องใช้เวลาอีก 2 ปี ปรับอัตราเริ่มต้นที่ 0.1% นายกฯ ต้องมองทุกมิติ ไม่ได้มีเป้าหมายขูดรีดประชาชน และอย่ายึดสิทธิเสรีภาพของตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องช่วยกันรับผิดชอบในฐานะพลเมือง
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง จะยังคงหาแนวทางจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อไป แต่ในเบื้องต้น ขอเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น วัด หรือมูลนิธิ จะมีการจัดเก็บหรือไม่ ที่ดินเพื่อเกษตร หรือที่ดินที่มีถนนตัดผ่าน และไม่ตัดผ่าน เนื่องจากเกี่ยวข้องต่อคนจำนวนมาก ดังนั้น จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้หลายฝ่ายมาต่อรองในเรื่องของเวลาในการดำเนินการ เนื่องจากหากพิจารณาจริงๆ แล้ว แม้ ครม.จะประกาศใช้ แต่ระยะเวลาในการดำเนินการกว่าจะมีผลจริงอาจใช้เวลาถึง 2 ปี เนื่องจากหลังเข้า ครม.แล้วเสร็จจะต้องใช้เวลา 4 เดือน ในการประกาศใช้ และใช้เวลามากกว่า 1 ปีครึ่ง เพื่อประเมินในส่วนของราคาที่ดิน
“ยืนยันว่าจะต้องจัดเก็บอย่างแน่นอน เพราะตอนนี้ดูจากทั่วโลกมีกว่า 40 ประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว อย่าพูดว่าทำไมเราซื้อบ้านต้องเสียภาษีบ้านตัวเอง แล้วดูอย่างรถทำไมเราต้องเสียภาษี ก็ในทำนองเดียวกัน เพื่อพัฒนาประเทศ ถ้าไม่ทำเราจะเจริญเหมือนประเทศอื่นไหม เราต้องคิดแบบนี้ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมันก็เป็นการจัดเก็บตามภาวะเศรษฐกิจของมัน”
รมว.คลัง กล่าวว่า ในเบื้องต้น หากที่อยู่อาศัยมีมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 1-1.5 ล้านบาท อาจยกเว้นการจัดเก็บภาษี แต่หากบ้านที่มีราคาตั้งแต่ 1-3 ล้านบาทขึ้นไป จะจัดเก็บในอัตรา 0.5% เช่น ราคาบ้าน 2.9 ล้านบาท เสียภาษีเต็มในอัตรา 2,900 บาท จะเหลือเสียภาษีเพียง 1,450 บาทเท่านั้น
คาดเสนอ ครม.ภายใน 2 สัปดาห์
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคาดว่าที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างจะเริ่มต้นที่อัตรา 0.1% ในส่วนของที่ดินที่อยู่อาศัย ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะมีอัตราการจัดเก็บภาษีสูงขึ้น ส่วนภาษีบ้านนั้นประชาชนทั่วไปจำเป็นต้องจ่าย แต่จะเป็นอัตราที่ไม่สูงเช่นเดียวกับการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี โดยเตรียมจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
ความจำเป็นที่รัฐบาลต้องจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น เพราะอัตราการเพิ่มของรายจ่ายภาครัฐมีสูงกว่าอัตราการเพิ่มของรายได้ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการนี้เชื่อว่าจะดีกว่าการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งประชาชนไม่ควรเป็นกังวลต่อการถูกเรียกเก็บภาษีบ้าน เพราะเชื่อว่าในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาคงจะมีข้อยกเว้นอีกมาก
อย่างไรก็ดี ภาษีที่ดินกว่าจะมีผลบังคับใช้จริงอาจต้องใช้เวลาอีก 2 ปี เพราะต้องให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISDA) ไปสำรวจแผนที่ของสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดทั่วประเทศก่อน ขณะที่กรมธนารักษ์ จะทำหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศเช่นกัน
ไม่มีเป้าหมายขูดรีดภาษีประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า กรณีที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะขูดรีดภาษีจากประชาชน เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะมีมาตรการยกเว้น เช่น กรณีบ้านหลังแรก หรือบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดมาก็อาจจะไม่ต้องเสียภาษี เป็นต้น ซึ่งต้องมองในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นจะต้องเดินหน้าเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้รัฐ เพราะที่ผ่านมา ไม่มีการเตรียมการเรื่องการดูแลภาพรวมทางเศรษฐกิจ ทำให้ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐในขณะนี้ สิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการคือ การเก็บภาษีอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม ทั้งคนจน และคนรวย จึงอยากเรียกร้องไม่อยากให้ทุกคนยึดสิทธิเสรีภาพของตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องช่วยกันมีความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองด้วย
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลัง จะยังคงหาแนวทางจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อไป แต่ในเบื้องต้น ขอเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น วัด หรือมูลนิธิ จะมีการจัดเก็บหรือไม่ ที่ดินเพื่อเกษตร หรือที่ดินที่มีถนนตัดผ่าน และไม่ตัดผ่าน เนื่องจากเกี่ยวข้องต่อคนจำนวนมาก ดังนั้น จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้หลายฝ่ายมาต่อรองในเรื่องของเวลาในการดำเนินการ เนื่องจากหากพิจารณาจริงๆ แล้ว แม้ ครม.จะประกาศใช้ แต่ระยะเวลาในการดำเนินการกว่าจะมีผลจริงอาจใช้เวลาถึง 2 ปี เนื่องจากหลังเข้า ครม.แล้วเสร็จจะต้องใช้เวลา 4 เดือน ในการประกาศใช้ และใช้เวลามากกว่า 1 ปีครึ่ง เพื่อประเมินในส่วนของราคาที่ดิน
“ยืนยันว่าจะต้องจัดเก็บอย่างแน่นอน เพราะตอนนี้ดูจากทั่วโลกมีกว่า 40 ประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว อย่าพูดว่าทำไมเราซื้อบ้านต้องเสียภาษีบ้านตัวเอง แล้วดูอย่างรถทำไมเราต้องเสียภาษี ก็ในทำนองเดียวกัน เพื่อพัฒนาประเทศ ถ้าไม่ทำเราจะเจริญเหมือนประเทศอื่นไหม เราต้องคิดแบบนี้ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมันก็เป็นการจัดเก็บตามภาวะเศรษฐกิจของมัน”
รมว.คลัง กล่าวว่า ในเบื้องต้น หากที่อยู่อาศัยมีมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 1-1.5 ล้านบาท อาจยกเว้นการจัดเก็บภาษี แต่หากบ้านที่มีราคาตั้งแต่ 1-3 ล้านบาทขึ้นไป จะจัดเก็บในอัตรา 0.5% เช่น ราคาบ้าน 2.9 ล้านบาท เสียภาษีเต็มในอัตรา 2,900 บาท จะเหลือเสียภาษีเพียง 1,450 บาทเท่านั้น
คาดเสนอ ครม.ภายใน 2 สัปดาห์
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคาดว่าที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างจะเริ่มต้นที่อัตรา 0.1% ในส่วนของที่ดินที่อยู่อาศัย ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะมีอัตราการจัดเก็บภาษีสูงขึ้น ส่วนภาษีบ้านนั้นประชาชนทั่วไปจำเป็นต้องจ่าย แต่จะเป็นอัตราที่ไม่สูงเช่นเดียวกับการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี โดยเตรียมจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
ความจำเป็นที่รัฐบาลต้องจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น เพราะอัตราการเพิ่มของรายจ่ายภาครัฐมีสูงกว่าอัตราการเพิ่มของรายได้ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการนี้เชื่อว่าจะดีกว่าการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งประชาชนไม่ควรเป็นกังวลต่อการถูกเรียกเก็บภาษีบ้าน เพราะเชื่อว่าในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาคงจะมีข้อยกเว้นอีกมาก
อย่างไรก็ดี ภาษีที่ดินกว่าจะมีผลบังคับใช้จริงอาจต้องใช้เวลาอีก 2 ปี เพราะต้องให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISDA) ไปสำรวจแผนที่ของสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดทั่วประเทศก่อน ขณะที่กรมธนารักษ์ จะทำหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศเช่นกัน
ไม่มีเป้าหมายขูดรีดภาษีประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า กรณีที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะขูดรีดภาษีจากประชาชน เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะมีมาตรการยกเว้น เช่น กรณีบ้านหลังแรก หรือบ้านที่ได้รับมรดกตกทอดมาก็อาจจะไม่ต้องเสียภาษี เป็นต้น ซึ่งต้องมองในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นจะต้องเดินหน้าเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้รัฐ เพราะที่ผ่านมา ไม่มีการเตรียมการเรื่องการดูแลภาพรวมทางเศรษฐกิจ ทำให้ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐในขณะนี้ สิ่งที่รัฐบาลพยายามดำเนินการคือ การเก็บภาษีอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม ทั้งคนจน และคนรวย จึงอยากเรียกร้องไม่อยากให้ทุกคนยึดสิทธิเสรีภาพของตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องช่วยกันมีความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองด้วย