สุราษฎร์ธานี - “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” รองนายกรัฐมนตรี ลงตรวจราชการในพื้นที่สุราษฎร์ธานี ระบุรัฐถังแตกหากไม่เดินหน้าการจัดเก็บภาษีบ้านที่ดิน และโรงเรียนกวดวิชา ไม่มีงบประมาณรองรับโครงการกระทรวงคมนาคมใน 9 ปีข้างหน้า พร้อมยันภาษีบ้านที่ดิน และภาษีโรงเรียนกวดวิชา ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน และการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม และติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งรับฟังปัญหาสำคัญที่เร่งด่วนของพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดพัทลุง
รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ในการลงพื้นที่ติดตามปัญหาต่างๆ ประการแรกรู้สึกพอใจต่อการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นรายจ่ายทำได้ดีทั้ง 4 จังหวัด ส่วนที่ 2 ยังไม่ดีเท่าที่ควร เรื่องของการเบิกจ่ายงบลงทุน บางจังหวัดยังทำได้ช้ากว่าเป้าหมาย บางจังหวัดก็บรรลุเป้าหมาย แต่ที่สบายใจได้ก็เรื่องของการทำสัญญาผูกพันก่อหนี้ว่าจ้างได้เสร็จก่อน 31 มีนาคมนี้เป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นงานเดินหน้าก็จะมีเงินจ่ายออกมา ในไตรมาสถัดไปที่เริ่ม 1 เมษายนนี้ การลงทุนทั้งหมดเดินหน้าหากงบประมาณ 2 ก้อนนี้ออกมา ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าเป็นปกติได้ แต่ยอมรับว่าเศรษฐกิจที่โตช้ามาจากผลการส่งออกน้อย และไม่มีเพิ่มเลย
ส่วนเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รองนายกฯ ย้ำว่า ไม่มีใครอยากทำให้ประชาชนมาตำหนิ พร้อมระบุว่า ประเทศไทยอัตราการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ การลงทุนของภาครัฐสูงกว่าการเพิ่มรายได้มานับ 10 ปี เห็นได้ชัดภาครัฐขาดทุนงบประมาณมาตลอด และก็เป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาตลอด และจุดอันตรายก็มาจากรายได้ไม่พอรายจ่าย เราก็มาลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนภาครัฐในสมัยก่อนสูงถึง 30% ของงบประมาน แต่ตอนนี้ปีงบประมาณ 58 ลดลงเหลือแค่ 17.5% ของงบประมาณ ที่จริงแล้วงบประมาณไม่เพียงพอ งบประมาณที่รัฐมนตรีคมนาคมประกาศ 9 ปีข้างหน้าจะสร้างโน่นสร้างนี่ รายได้ที่มีอยู่ตามการจัดเก็บภาษีปัจจุบันย่อมไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวตามโครงการได้
จึงมีความจำเป็นต้องหาทางจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ก็มีหลายทาง ภาษีที่เก็บอยู่ปัจจุบันก็เป็นภาษีรายได้ และภาษีการค้า แต่ภาษีที่เกือบจะไม่ได้เก็บ หรือเก็บน้อยมากก็เป็นภาษีทรัพย์สมบัติของประชาชน ซึ่งในต่างประเทศเขาเก็บกันหมดแล้ว ทางรัฐบาลจึงนำมาจัดเก็บภามีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากไม่เก็บก็ต้องเก็บภาษีการค้าเพิ่มซึ่งตนไม่เห็นด้วย จึงนำเรื่องการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมาดำเนินการใช้ ในการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องระวังไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย โดยหลักการเก็บภาษีมีความยุติธรรมอยู่แล้ว ใครมีมากก็เสียมากใครมีน้อยก็เสียน้อย แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า 1.5 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี 3-5 ล้านบาท จัดเก็บภาษีกึ่งหนึ่ง ซึ่งอัตราจัดเก็บภาษีบ้านและที่ดินเพียงแค่ .1 % หรือ 1,000,000 บาทต่อ 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขณะนี้อยู่ในระหว่าการเสนอเข้า ครม. และอีกนานกว่าจะมีผลบังคับใช้ ส่วนภาษีมรดกหากสามีเสียชีวิต ภรรยาเป็นผู้รับมรดกไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด ในส่วนการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้นนั้น ยืนยันว่าไม่กระทบต่อผู้ปกครองเพราะเป็นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีกำไรมากอยู่แล้ว และทางรัฐบาลจัดเก็บจากกำไรส่วนเกินของโรงเรียนนั้นๆ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน และการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม และติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งรับฟังปัญหาสำคัญที่เร่งด่วนของพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดพัทลุง
รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ในการลงพื้นที่ติดตามปัญหาต่างๆ ประการแรกรู้สึกพอใจต่อการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นรายจ่ายทำได้ดีทั้ง 4 จังหวัด ส่วนที่ 2 ยังไม่ดีเท่าที่ควร เรื่องของการเบิกจ่ายงบลงทุน บางจังหวัดยังทำได้ช้ากว่าเป้าหมาย บางจังหวัดก็บรรลุเป้าหมาย แต่ที่สบายใจได้ก็เรื่องของการทำสัญญาผูกพันก่อหนี้ว่าจ้างได้เสร็จก่อน 31 มีนาคมนี้เป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นงานเดินหน้าก็จะมีเงินจ่ายออกมา ในไตรมาสถัดไปที่เริ่ม 1 เมษายนนี้ การลงทุนทั้งหมดเดินหน้าหากงบประมาณ 2 ก้อนนี้ออกมา ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าเป็นปกติได้ แต่ยอมรับว่าเศรษฐกิจที่โตช้ามาจากผลการส่งออกน้อย และไม่มีเพิ่มเลย
ส่วนเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รองนายกฯ ย้ำว่า ไม่มีใครอยากทำให้ประชาชนมาตำหนิ พร้อมระบุว่า ประเทศไทยอัตราการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ การลงทุนของภาครัฐสูงกว่าการเพิ่มรายได้มานับ 10 ปี เห็นได้ชัดภาครัฐขาดทุนงบประมาณมาตลอด และก็เป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาตลอด และจุดอันตรายก็มาจากรายได้ไม่พอรายจ่าย เราก็มาลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนภาครัฐในสมัยก่อนสูงถึง 30% ของงบประมาน แต่ตอนนี้ปีงบประมาณ 58 ลดลงเหลือแค่ 17.5% ของงบประมาณ ที่จริงแล้วงบประมาณไม่เพียงพอ งบประมาณที่รัฐมนตรีคมนาคมประกาศ 9 ปีข้างหน้าจะสร้างโน่นสร้างนี่ รายได้ที่มีอยู่ตามการจัดเก็บภาษีปัจจุบันย่อมไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวตามโครงการได้
จึงมีความจำเป็นต้องหาทางจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ก็มีหลายทาง ภาษีที่เก็บอยู่ปัจจุบันก็เป็นภาษีรายได้ และภาษีการค้า แต่ภาษีที่เกือบจะไม่ได้เก็บ หรือเก็บน้อยมากก็เป็นภาษีทรัพย์สมบัติของประชาชน ซึ่งในต่างประเทศเขาเก็บกันหมดแล้ว ทางรัฐบาลจึงนำมาจัดเก็บภามีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากไม่เก็บก็ต้องเก็บภาษีการค้าเพิ่มซึ่งตนไม่เห็นด้วย จึงนำเรื่องการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมาดำเนินการใช้ ในการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องระวังไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย โดยหลักการเก็บภาษีมีความยุติธรรมอยู่แล้ว ใครมีมากก็เสียมากใครมีน้อยก็เสียน้อย แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า 1.5 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี 3-5 ล้านบาท จัดเก็บภาษีกึ่งหนึ่ง ซึ่งอัตราจัดเก็บภาษีบ้านและที่ดินเพียงแค่ .1 % หรือ 1,000,000 บาทต่อ 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขณะนี้อยู่ในระหว่าการเสนอเข้า ครม. และอีกนานกว่าจะมีผลบังคับใช้ ส่วนภาษีมรดกหากสามีเสียชีวิต ภรรยาเป็นผู้รับมรดกไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด ในส่วนการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้นนั้น ยืนยันว่าไม่กระทบต่อผู้ปกครองเพราะเป็นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีกำไรมากอยู่แล้ว และทางรัฐบาลจัดเก็บจากกำไรส่วนเกินของโรงเรียนนั้นๆ