นางทัศนีย์ ทองดี กรรมการและเลขานุการ บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน (BWG) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้ากำลังการผลิต 9.4 เมกะวัตต์ จากการต่อยอดธุรกิจหลักนำกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด บริษัทย่อย ว่าได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟ (PPA) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เรียบร้อยแล้วในระบบให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed in Tariff) หรือ FiT ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากกากอุตสาหกรรมรายแรกที่ได้ลงนามขายไฟฟ้าให้กับ กฟภ.ในระบบดังกล่าว หลังจากได้รับการสนับการลงทุนจาก BOI เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
สำหรับนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐ ซึ่งมีทั้งการกำหนดโควตาการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมในเบื้องต้น 50 เมกะวัตต์ และมีการปรับเปลี่ยนจากระบบ Adder เป็น Feed in Tariff ส่งผลดีต่อบริษัทฯ เกินความคาดหมาย เพราะเมื่อรวมเงินสนับสนุนจากภาครัฐกับค่าไฟฐานค่าพรีเมียม จะทำให้อัตราค่าไฟของบริษัทฯ อยู่ที่ระดับ 6.78 บาท/หน่วย ใน 8 ปีแรก และอยู่ที่ระดับ 6.08 บาท/หน่วย ใน 12 ปีถัดไป ซึ่งเดิมคาดว่าราคาขายไฟจะเป็นระบบ Adder ที่มีเงินสนับสนุนรวมค่าไฟฐานจะอยู่ที่อัตราประมาณ 6 บาทเศษ/หน่วย เฉพาะใน 7 ปีแรกเท่านั้น ทำให้รายได้จากการขายไฟปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมทันที
นางทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า บริษัทมีปริมาณเชื้อเพลิงที่มากพอกับการเพิ่มขึ้นของโควตาการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ และพร้อมเดินหน้าลุยธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 58 เป็นต้นไป หลังจากได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟกับ กฟภ.เรียบร้อยแล้ว โดยโรงไฟฟ้าจากกากอุตสาหกรรมโรงแรกของบริษัทฯ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 16 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟประมาณกลางปี 59
บริษัทฯ จะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมรายได้จากการขายเชื้อเพลิงอัดแท่ง (Refuse Derived Fuel Project-RDF) ให้แก่โรงไฟฟ้า ถือเป็นรายได้จากธุรกิจหลัก ดังนั้น ธุรกิจโรงไฟฟ้าจะช่วยให้ BWG มีรายได้ที่เป็นกระแสเงินสดไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง สามารถเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว ซึ่งคาดว่าปีแรกหลังการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าจะทำให้ BWG มีรายได้เพิ่มขึ้นทันที โดยไม่รวมประโยชน์ที่บริษัทฯ จะได้พื้นที่ฝังกลบเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกด้วย
สำหรับนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากภาครัฐ ซึ่งมีทั้งการกำหนดโควตาการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมในเบื้องต้น 50 เมกะวัตต์ และมีการปรับเปลี่ยนจากระบบ Adder เป็น Feed in Tariff ส่งผลดีต่อบริษัทฯ เกินความคาดหมาย เพราะเมื่อรวมเงินสนับสนุนจากภาครัฐกับค่าไฟฐานค่าพรีเมียม จะทำให้อัตราค่าไฟของบริษัทฯ อยู่ที่ระดับ 6.78 บาท/หน่วย ใน 8 ปีแรก และอยู่ที่ระดับ 6.08 บาท/หน่วย ใน 12 ปีถัดไป ซึ่งเดิมคาดว่าราคาขายไฟจะเป็นระบบ Adder ที่มีเงินสนับสนุนรวมค่าไฟฐานจะอยู่ที่อัตราประมาณ 6 บาทเศษ/หน่วย เฉพาะใน 7 ปีแรกเท่านั้น ทำให้รายได้จากการขายไฟปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมทันที
นางทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า บริษัทมีปริมาณเชื้อเพลิงที่มากพอกับการเพิ่มขึ้นของโควตาการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ และพร้อมเดินหน้าลุยธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 58 เป็นต้นไป หลังจากได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟกับ กฟภ.เรียบร้อยแล้ว โดยโรงไฟฟ้าจากกากอุตสาหกรรมโรงแรกของบริษัทฯ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 16 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟประมาณกลางปี 59
บริษัทฯ จะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมรายได้จากการขายเชื้อเพลิงอัดแท่ง (Refuse Derived Fuel Project-RDF) ให้แก่โรงไฟฟ้า ถือเป็นรายได้จากธุรกิจหลัก ดังนั้น ธุรกิจโรงไฟฟ้าจะช่วยให้ BWG มีรายได้ที่เป็นกระแสเงินสดไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง สามารถเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว ซึ่งคาดว่าปีแรกหลังการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าจะทำให้ BWG มีรายได้เพิ่มขึ้นทันที โดยไม่รวมประโยชน์ที่บริษัทฯ จะได้พื้นที่ฝังกลบเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกด้วย