กสิกรไทยคาดจีดีพีไตรมาสแรกโตแค่ 1% กว่า เหตุเศรษฐกิจนอกบ้านไม่เอื้อ จับตากรีซ-ยุโรปยังไม่นิ่ง ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าไม่เอื้อส่งออก เตรียมปรับลดเป้าส่งออกโต
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกนั้น คงจะยังไม่เติบโตในระดับที่สูงนัก น่าจะอยู่ในระดับ 1% กว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อน โดยปัจจัยที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเป็นเรื่องของเศรษฐกิจในประเทศหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ส่งผลต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทางธนาคารน่าจะมีการปรับลดประมาณส่งออกเติบโตจาก 3% เหลือ 2% หรือ 1% ปลายๆ
นอกจากนี้ ก็ยังมีกรณีการทำ QE ของยุโรปที่จะเริ่มในกลางปีว่าจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างไร เนื่องจากผลจากมาตรการ QE ของสหรัฐฯ นั้น ทำให้เงินไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมาก ขณะที่มาตรการ QE ของญี่ปุ่นเงินไหลเข้าทางฝั่งประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วมากกว่า ดังนั้น QE ของยุโรปอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคเอเชียมากเท่าสหรัฐฯ ก็ได้
ขณะที่ค่าเงินบาทในช่วงนี้อาจจะแข็งค่าขึ้นในช่วงสั้น โดยประเมินไว้ที่ระดับ 32-33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทของไทยของแข็งค่าขึ้น 3% เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเป็นระดับที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันแล้ว ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงน่าจะมีการพิจารณาในจุดนี้ว่านโยบายบริหารด้านอัตราแลกเปลี่ยนควรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) นั้น คาดว่าจะอยู่ในระดับเดิมที่ 2% ในปีนี้ เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยสถานการณ์นี้คงไม่ตอบโจทย์เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับที่สูง ขณะที่ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กับของไทยมีแนวโน้มที่แคบลงเรื่อยๆ อยู่แล้ว หากไทยลดอกเบี้ยลงอีกก็อาจส่งผลต่อค่าเงินบาทและการเคลื่อนย้ายเงินทุนด้วย
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกนั้น คงจะยังไม่เติบโตในระดับที่สูงนัก น่าจะอยู่ในระดับ 1% กว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อน โดยปัจจัยที่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเป็นเรื่องของเศรษฐกิจในประเทศหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ส่งผลต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทางธนาคารน่าจะมีการปรับลดประมาณส่งออกเติบโตจาก 3% เหลือ 2% หรือ 1% ปลายๆ
นอกจากนี้ ก็ยังมีกรณีการทำ QE ของยุโรปที่จะเริ่มในกลางปีว่าจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างไร เนื่องจากผลจากมาตรการ QE ของสหรัฐฯ นั้น ทำให้เงินไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมาก ขณะที่มาตรการ QE ของญี่ปุ่นเงินไหลเข้าทางฝั่งประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วมากกว่า ดังนั้น QE ของยุโรปอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคเอเชียมากเท่าสหรัฐฯ ก็ได้
ขณะที่ค่าเงินบาทในช่วงนี้อาจจะแข็งค่าขึ้นในช่วงสั้น โดยประเมินไว้ที่ระดับ 32-33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทของไทยของแข็งค่าขึ้น 3% เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเป็นระดับที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันแล้ว ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงน่าจะมีการพิจารณาในจุดนี้ว่านโยบายบริหารด้านอัตราแลกเปลี่ยนควรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) นั้น คาดว่าจะอยู่ในระดับเดิมที่ 2% ในปีนี้ เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยสถานการณ์นี้คงไม่ตอบโจทย์เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับที่สูง ขณะที่ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กับของไทยมีแนวโน้มที่แคบลงเรื่อยๆ อยู่แล้ว หากไทยลดอกเบี้ยลงอีกก็อาจส่งผลต่อค่าเงินบาทและการเคลื่อนย้ายเงินทุนด้วย