แบงก์ชาติเผยแพร่ผลการประเมินเศรษฐกิจไทยปี 58 ของไอเอ็มเอฟ คาดการณ์เศรษฐกิจไทยโตแค่ 3.5% จาก 0.5% ในปี 2557 และมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่า เหตุกำลังซื้อในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวและความผันผวนจากตลาดเงินโลก ขณะที่การลงทุนภาครัฐล่าช้า การเมืองไม่มีความแน่นอน หนุนทยอยขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุผลการสรุปผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2558 โดยคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (2015 Article IV Consultation) หรือ ไอเอ็มเอฟ ในโอกาสที่คณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจไทย ระหว่างวันที่ 15-29 ม.ค. ที่ผ่านมา
นายหลุยส์ เบราเออร์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟได้กล่าวสรุปผลการประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ขยายตัวประมาณ 0.5% และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตรา 3.5% ในปี 2558 จากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคที่ได้รับผลดีจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง และการลงทุนของภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ทางการได้เร่งอนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ โดยนโยบายการเงินที่ยังผ่อนปรนจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่อาจสามารถพิจารณาผ่อนคลายเพิ่มเติมหากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนจะได้รับอุปสรรคจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งกำลังซื้อและความต้องการใช้จ่ายในต่างประเทศที่ยังชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในประเทศยังมีข้อจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการสินค้าไทยในตลาดโลกยังอ่อนแอ อีกทั้งการลงทุนของภาครัฐทำได้ล่าช้ากว่าที่คาด ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวรวมถึงในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาด้วย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องโดยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นได้บ้างในช่วงปลายปี 2558 ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง และคาดว่าการเกินดุลจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปในปี 2558 ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ยังคาดด้วยว่าในระยะต่อไป การนำเข้าของไทยจะทยอยฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกจะยังขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงในระยะปานกลางได้
ไอเอ็มเอฟมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2558 ยังมีความเสี่ยงอาจขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งนี้ได้ โดยปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ ได้แก่ ความล่าช้าของนโยบายภาครัฐ กำลังซื้อและความต้องการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่อ่อนแอกว่าคาด และความไม่แน่นอนทางการเมืองในขณะที่ความเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ได้แก่ ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจัยด้านบวกจะมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่อาจได้รับผลดีมากกว่าที่คาดไว้จากราคาน้ำมันที่ลดลงมาก
แต่ไอเอ็มเอฟเห็นด้วยกับมาตรการการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้จัดทำกรอบการดำเนินนโยบายในระยะปานกลาง ในการเพิ่มรายได้เพิ่มการลงทุน โดยไอเอ็มเอฟให้ความสำคัญอย่างมากในการเร่งปฏิรูปการอุดหนุนราคาพลังงาน ซึ่งรวมถึงการกลับไปจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตราที่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟยังเห็นว่าไทยควรพิจารณาทยอยปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% อย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้น ควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการปรับขึ้นภาษีดังกล่าว
ปิดท้ายด้วยการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงแนะให้มีการหาแนวทางช่วยรองรับภาระของภาครัฐในการดูแลการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของไทยในอนาคตได้ ขณะที่การปฏิรูปต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจนโยบายข้าว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐ จะช่วยเสริมสร้างความโปร่งใส ความเชื่อมั่น และความยั่งยืนทางการคลังของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุผลการสรุปผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2558 โดยคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (2015 Article IV Consultation) หรือ ไอเอ็มเอฟ ในโอกาสที่คณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศเดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจไทย ระหว่างวันที่ 15-29 ม.ค. ที่ผ่านมา
นายหลุยส์ เบราเออร์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟได้กล่าวสรุปผลการประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ขยายตัวประมาณ 0.5% และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตรา 3.5% ในปี 2558 จากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคที่ได้รับผลดีจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง และการลงทุนของภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ทางการได้เร่งอนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ โดยนโยบายการเงินที่ยังผ่อนปรนจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่อาจสามารถพิจารณาผ่อนคลายเพิ่มเติมหากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ของภาคเอกชนจะได้รับอุปสรรคจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งกำลังซื้อและความต้องการใช้จ่ายในต่างประเทศที่ยังชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในประเทศยังมีข้อจำกัดจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการสินค้าไทยในตลาดโลกยังอ่อนแอ อีกทั้งการลงทุนของภาครัฐทำได้ล่าช้ากว่าที่คาด ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวรวมถึงในส่วนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาด้วย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องโดยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นได้บ้างในช่วงปลายปี 2558 ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง และคาดว่าการเกินดุลจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปในปี 2558 ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ยังคาดด้วยว่าในระยะต่อไป การนำเข้าของไทยจะทยอยฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกจะยังขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงในระยะปานกลางได้
ไอเอ็มเอฟมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2558 ยังมีความเสี่ยงอาจขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งนี้ได้ โดยปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ ได้แก่ ความล่าช้าของนโยบายภาครัฐ กำลังซื้อและความต้องการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่อ่อนแอกว่าคาด และความไม่แน่นอนทางการเมืองในขณะที่ความเสี่ยงจากภายนอกประเทศ ได้แก่ ความผันผวนของตลาดการเงินโลก และการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจัยด้านบวกจะมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่อาจได้รับผลดีมากกว่าที่คาดไว้จากราคาน้ำมันที่ลดลงมาก
แต่ไอเอ็มเอฟเห็นด้วยกับมาตรการการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้จัดทำกรอบการดำเนินนโยบายในระยะปานกลาง ในการเพิ่มรายได้เพิ่มการลงทุน โดยไอเอ็มเอฟให้ความสำคัญอย่างมากในการเร่งปฏิรูปการอุดหนุนราคาพลังงาน ซึ่งรวมถึงการกลับไปจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตราที่เหมาะสม
เจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟยังเห็นว่าไทยควรพิจารณาทยอยปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% อย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้น ควบคู่กับมาตรการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการปรับขึ้นภาษีดังกล่าว
ปิดท้ายด้วยการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงแนะให้มีการหาแนวทางช่วยรองรับภาระของภาครัฐในการดูแลการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของไทยในอนาคตได้ ขณะที่การปฏิรูปต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจนโยบายข้าว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐ จะช่วยเสริมสร้างความโปร่งใส ความเชื่อมั่น และความยั่งยืนทางการคลังของไทย