นายประภาส ตันติพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.กรุงศรี กล่าวในงานสัมมนา “ปี 2558 หัวเลี้ยวหัวต่อของการคลี่คลายวิกฤตเศรษฐกิจโลก" โดยระบุว่า ในปีนี้คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวในกรอบ 1,350-1,800 จุด บนพื้นฐานกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตที่ระดับ 10-15% จากปีที่ผ่านมาติดลบ 3-5% รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับปัจจัยบวกที่จะมาสนับสนุนตลาดหุ้นไทยในปีนี้ คือ การเติบโตของภาพรวมเศรษฐกิจ(GDP) คาดไว้ในระดับ 3.8-4.8% รับผลดีจากการลงทุนภาครัฐฯ มูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมามาก เอื้อต่อต้นทุนการผลิตในภาคการผลิตจริง และลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป
ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่จะช่วยผลักดันดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้คือ การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ราคาน้ำมันคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลักมีแนวโน้มจะลดการผลิตลง
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และการออกมาตรการมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย QE ของยุโรป จะช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริงหรือไม่ ประกอบกับ ความเสี่ยงจากปัญหาของรัสเซีย ทั้งโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อรายได้ของรัสเซียในฐานะประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 200,000 ล้านยูโร จากปัจจุบัน 300,000 ล้านยูโร
นายประภาส กล่าวว่า จากผลประกอบการจดทะเบียนในปีที่ผ่านมาปรับลดลงมาก ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นไปประมาณ 20% ส่งผลให้ P/E ปัจจุบันสูงขึ้นมาที่ 19 เท่า และในปีนี้มองว่า มีโอกาสที่จะเห็น P/E แตะที่ระดับ 23-25 เท่า หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากจะมีเงินไหลเข้ามาจากผลของมาตรการ QE ของยุโรป
“หากผลประกอบการ บจ.ปีนี้ออกมาไม่ดี แต่ในด้านความเชื่อมั่นนักลงทุนยังมีอยู่สูงจะดันให้ ดัชนีปรับตัวขึ้นไปแตะที่ 1,700-1,800 จุด ซึ่งจะส่งผลให้ P/E ขึ้นมาแตะที่ระดับ 23-25 เท่า แต่คงไม่สามารถตอบได้ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด คงต้องจับตาดูว่าหาก P/E ขึ้นไปแตะที่ระดับดังกล่าวนั้นจะเกิดการพักฐานรอบใหญ่เหมือนที่ผ่านมาหรือไม่” นายประภาส กล่าว
สำหรับปัจจัยบวกที่จะมาสนับสนุนตลาดหุ้นไทยในปีนี้ คือ การเติบโตของภาพรวมเศรษฐกิจ(GDP) คาดไว้ในระดับ 3.8-4.8% รับผลดีจากการลงทุนภาครัฐฯ มูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมามาก เอื้อต่อต้นทุนการผลิตในภาคการผลิตจริง และลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป
ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่จะช่วยผลักดันดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้คือ การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ราคาน้ำมันคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลักมีแนวโน้มจะลดการผลิตลง
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และการออกมาตรการมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย QE ของยุโรป จะช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริงหรือไม่ ประกอบกับ ความเสี่ยงจากปัญหาของรัสเซีย ทั้งโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อรายได้ของรัสเซียในฐานะประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 200,000 ล้านยูโร จากปัจจุบัน 300,000 ล้านยูโร
นายประภาส กล่าวว่า จากผลประกอบการจดทะเบียนในปีที่ผ่านมาปรับลดลงมาก ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นไปประมาณ 20% ส่งผลให้ P/E ปัจจุบันสูงขึ้นมาที่ 19 เท่า และในปีนี้มองว่า มีโอกาสที่จะเห็น P/E แตะที่ระดับ 23-25 เท่า หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง แม้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากจะมีเงินไหลเข้ามาจากผลของมาตรการ QE ของยุโรป
“หากผลประกอบการ บจ.ปีนี้ออกมาไม่ดี แต่ในด้านความเชื่อมั่นนักลงทุนยังมีอยู่สูงจะดันให้ ดัชนีปรับตัวขึ้นไปแตะที่ 1,700-1,800 จุด ซึ่งจะส่งผลให้ P/E ขึ้นมาแตะที่ระดับ 23-25 เท่า แต่คงไม่สามารถตอบได้ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด คงต้องจับตาดูว่าหาก P/E ขึ้นไปแตะที่ระดับดังกล่าวนั้นจะเกิดการพักฐานรอบใหญ่เหมือนที่ผ่านมาหรือไม่” นายประภาส กล่าว