ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินสภาพคล่องช่วงที่ 5 เดือนสุดท้ายของปี แนวโน้มสภาพคล่องตึงตัวขึ้น จากความต้องการเงินทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งภาครัฐ เอกชน ขณะที่ผู้ออมเตรียมเฮชอปผลิตภัณฑ์ดอกเบี้ยสูง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มสภาพคล่องในช่วงที่เหลือของปี 2557 นั้น มีความเป็นไปได้ที่สภาพคล่องของระบบจะตึงตัวขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 6-7 เดือนแรกของปี จากหลายปัจจัยทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้ ความชัดเจนของแรงส่งของเศรษฐกิจไทยที่น่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมายังความต้องการเงินทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะผ่านช่องทางของสินเชื่อ โดยคาดว่าความต้องการสินเชื่อจะทยอยเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งจากการประเมินทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศจะส่งผลให้ในช่วงที่เหลือของปี (ส.ค.-ธ.ค.2557) อาจมีความต้องการสินเชื่ออีกไม่ต่ำกว่า 3.8 แสนล้านบาท
ขณะที่การออกหุ้นกู้ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ภาคเอกชนจะใช้เพื่อระดมทุน โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 26 ส.ค.2557 ที่ผ่านมา มีการออกหุ้นกู้รวมแล้ว 3.9 แสนล้านบาท และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี จะยังคงมีการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้อีกไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นได้
ทั้งนี้ โครงการลงทุนของภาครัฐในปีงบประมาณ 2557 เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลให้สภาพคล่องในระบบมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น แม้โครงการลงทุนขนาดใหญ่จะยังไม่ได้เกิดขึ้นในทันที และการระดมทุนดังกล่าวอาจจะยังไม่ได้กระทบต่อสภาพคล่องในระบบมากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่โมเมนตัมการลงทุนที่น่าจะทยอยเพิ่มขึ้น คงจะเป็นประเด็นสำคัญที่กระทบต่อทิศทางสภาพคล่องในปีหน้า โดยต้องติดตามรูปแบบในการระดมทุน ซึ่งเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล เช่น การระดมทุนผ่านพันธบัตรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือผ่านทางเลือกอื่นๆ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน การออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลในการระบายสภาพคล่องจากระบบเช่นกัน
และการเคลื่อนย้ายกระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ จากการยุติมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม เนื่องจากหากการเคลื่อนย้ายกระแสเงินทุนเกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง และทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินได้
ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะที่สภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นจากความต้องการเงินทุนจากหลายภาคส่วนที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับในช่วงปลายปีก็เป็นฤดูกาลที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์จากธุรกิจประกัน หรือผลิตภัณฑ์จากธุรกิจกองทุน เป็นต้น ก็คงจะทำให้ในช่วงที่เหลือของปี 2557 นี้ น่าจะทยอยเห็นภาพของการแข่งขันกันในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินในความถี่ที่มากขึ้น รวมถึงคงมีการแข่งขันกันในมุมของการนำเสนออัตราผลตอบแทนที่จูงใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันด้านดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ หรือดอกเบี้ยหุ้นกู้ของผู้ประกอบการเอกชน ขณะที่ผู้ออมก็เป็นโอกาสที่จะศึกษาผลิตภัณฑ์ที่จะทยอยออกมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เหมาะสมต่อความต้องการของตนเองได้มากขึ้น ทั้งในมุมของความเสี่ยง ผลตอบแทน และระยะเวลาในการออม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มสภาพคล่องในช่วงที่เหลือของปี 2557 นั้น มีความเป็นไปได้ที่สภาพคล่องของระบบจะตึงตัวขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 6-7 เดือนแรกของปี จากหลายปัจจัยทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้ ความชัดเจนของแรงส่งของเศรษฐกิจไทยที่น่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมายังความต้องการเงินทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะผ่านช่องทางของสินเชื่อ โดยคาดว่าความต้องการสินเชื่อจะทยอยเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งจากการประเมินทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศจะส่งผลให้ในช่วงที่เหลือของปี (ส.ค.-ธ.ค.2557) อาจมีความต้องการสินเชื่ออีกไม่ต่ำกว่า 3.8 แสนล้านบาท
ขณะที่การออกหุ้นกู้ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ภาคเอกชนจะใช้เพื่อระดมทุน โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 26 ส.ค.2557 ที่ผ่านมา มีการออกหุ้นกู้รวมแล้ว 3.9 แสนล้านบาท และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี จะยังคงมีการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้อีกไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทำให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นได้
ทั้งนี้ โครงการลงทุนของภาครัฐในปีงบประมาณ 2557 เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลให้สภาพคล่องในระบบมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น แม้โครงการลงทุนขนาดใหญ่จะยังไม่ได้เกิดขึ้นในทันที และการระดมทุนดังกล่าวอาจจะยังไม่ได้กระทบต่อสภาพคล่องในระบบมากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่โมเมนตัมการลงทุนที่น่าจะทยอยเพิ่มขึ้น คงจะเป็นประเด็นสำคัญที่กระทบต่อทิศทางสภาพคล่องในปีหน้า โดยต้องติดตามรูปแบบในการระดมทุน ซึ่งเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล เช่น การระดมทุนผ่านพันธบัตรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือผ่านทางเลือกอื่นๆ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน การออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลในการระบายสภาพคล่องจากระบบเช่นกัน
และการเคลื่อนย้ายกระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ จากการยุติมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม เนื่องจากหากการเคลื่อนย้ายกระแสเงินทุนเกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง และทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินได้
ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะที่สภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้นจากความต้องการเงินทุนจากหลายภาคส่วนที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับในช่วงปลายปีก็เป็นฤดูกาลที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์จากธุรกิจประกัน หรือผลิตภัณฑ์จากธุรกิจกองทุน เป็นต้น ก็คงจะทำให้ในช่วงที่เหลือของปี 2557 นี้ น่าจะทยอยเห็นภาพของการแข่งขันกันในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินในความถี่ที่มากขึ้น รวมถึงคงมีการแข่งขันกันในมุมของการนำเสนออัตราผลตอบแทนที่จูงใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันด้านดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ หรือดอกเบี้ยหุ้นกู้ของผู้ประกอบการเอกชน ขณะที่ผู้ออมก็เป็นโอกาสที่จะศึกษาผลิตภัณฑ์ที่จะทยอยออกมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เหมาะสมต่อความต้องการของตนเองได้มากขึ้น ทั้งในมุมของความเสี่ยง ผลตอบแทน และระยะเวลาในการออม