แรงขายหุ้นแบงก์ รับเหมาก่อสร้าง กดดันดัชนีหุ้นไทยร่วงกว่า 10 จุด สวนทางตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และผู้ผลิตรถ เนื่องจากนักลงทุนรอดูท่าทีของเฟด ที่จะประชุมกันคืนวันที่ 29 ก.ค. นักวิเคราห์ระบุ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมามาก จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นยังไม่มีความชัดเจน ทั้งการพิจารณาโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ คสช. หรือแผนการผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวทั้งระยะสั้น และระยะยาว
หุ้นไทยปิดตลาดวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ที่ 1,520.55 จุด ลดลง 17.58 จุด เปลี่ยนแปลง -1.14% มูลค่าการซื้อขาย 54,004.95 ล้านบาท โดยระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1,546.72 จุด และต่ำสุดที่ 1,518.75 จุด โดยสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,934.79 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 439.92 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,784.13 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,158.84 ล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย สรุปภาวะตลาดหุ้นไทยวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ช่วงเช้าดัชนีปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,545 จุด แต่ไม่สามารถยืนได้ จึงอ่อนตัวลงมาด้วยแรงขายหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Bank, ICT และ Property ขณะที่กลุ่มหนุนตลาด คือ Commerce และ Energy โดย Energy ปรับตัวขึ้นจากข่าวการเลื่อนปรับโครงสร้างพลังงาน เพื่อทำประชาพิจารณ์ในเดือนสิงหาคม ก่อนส่งคืนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เพื่อทบทวนอีกรอบ
ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และผู้ผลิตรถ เนื่องจากนักลงทุนรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ในการประชุมที่เริ่มขึ้นวันนี้ ประกอบกับหุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกงปรับฐานเดินหน้าขึ้น ท่ามกลางมุมมองที่เป็นบวกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว
นายกวี คาดการณ์แนวโน้มดัชนีวันนี้ เนื่องจากดัชนีหลุดแนวรับที่ 1,525 จุด คาดว่าจะยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะไหลลงไปทดสอบแนวรับที่ 1,510 จุด แต่หากผลการประชุมเฟดไม่ผิดไปจากที่คาดการณ์ ดัชนีน่าจะมีการรีบาวนด์กลับขึ้นมาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,525-1,535 จุดได้บ้าง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบานการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC จะลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลงเป็นครั้งที่ 6 ระหว่างการประชุมระยะเวลา 2 วัน และพิจารณาเรื่องช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับคาดการณ์ว่า การลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรของเฟดจะไม่ส่งผลมากนักต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ อีกทั้งการขยายตัวในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน
ด้านนายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด มองว่าน่าจะมาจากปัจจัยระยะสั้นนี้ที่อัปไซด์ตลาดมีน้อยลงหลังจากปรับขึ้นไปมากแล้ว ทำให้นักลงทุนเทขายทำกำไรออกมา ขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าค่อนข้างเร็วในช่วงที่ผ่านมา จึงมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนต่างชาติน่าจะขายทำกำไรออกมา ส่วนการพิจารณาโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มองว่าน่าจะเป็นปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยลบ ประกอบกับการปรับตัวลงของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาด เนื่องจากมีการปรับตัวลงทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในช่วงบ่ายวันนี้
ขณะที่ นายกอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.หลักทรัพย์ เออีซี หรือ AECS กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เออีซี ได้ประเมิน SET INDEX มีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ระดับ 1,760 จุด ซึ่งเป้าหมายดัชนีเทียบเท่าระดับ Forward PER และ PBV ที่ 17 เท่า และ 2.5 เท่าตามลำดับ เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ในปี 2557 จะขยายตัว 2.9% และในปี 2558 กลับมาขยายตัวที่ 3.5-4% ซึ่งเป็นระดับการเติบโตระยะกลางของเศรษฐกิจไทย
หุ้นไทยปิดตลาดวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ที่ 1,520.55 จุด ลดลง 17.58 จุด เปลี่ยนแปลง -1.14% มูลค่าการซื้อขาย 54,004.95 ล้านบาท โดยระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1,546.72 จุด และต่ำสุดที่ 1,518.75 จุด โดยสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,934.79 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 439.92 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,784.13 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,158.84 ล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย สรุปภาวะตลาดหุ้นไทยวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ช่วงเช้าดัชนีปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,545 จุด แต่ไม่สามารถยืนได้ จึงอ่อนตัวลงมาด้วยแรงขายหุ้นใหญ่ในกลุ่ม Bank, ICT และ Property ขณะที่กลุ่มหนุนตลาด คือ Commerce และ Energy โดย Energy ปรับตัวขึ้นจากข่าวการเลื่อนปรับโครงสร้างพลังงาน เพื่อทำประชาพิจารณ์ในเดือนสิงหาคม ก่อนส่งคืนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เพื่อทบทวนอีกรอบ
ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และผู้ผลิตรถ เนื่องจากนักลงทุนรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ในการประชุมที่เริ่มขึ้นวันนี้ ประกอบกับหุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกงปรับฐานเดินหน้าขึ้น ท่ามกลางมุมมองที่เป็นบวกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว
นายกวี คาดการณ์แนวโน้มดัชนีวันนี้ เนื่องจากดัชนีหลุดแนวรับที่ 1,525 จุด คาดว่าจะยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะไหลลงไปทดสอบแนวรับที่ 1,510 จุด แต่หากผลการประชุมเฟดไม่ผิดไปจากที่คาดการณ์ ดัชนีน่าจะมีการรีบาวนด์กลับขึ้นมาเคลื่อนไหวในกรอบ 1,525-1,535 จุดได้บ้าง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบานการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC จะลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลงเป็นครั้งที่ 6 ระหว่างการประชุมระยะเวลา 2 วัน และพิจารณาเรื่องช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับคาดการณ์ว่า การลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรของเฟดจะไม่ส่งผลมากนักต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ อีกทั้งการขยายตัวในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน
ด้านนายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด มองว่าน่าจะมาจากปัจจัยระยะสั้นนี้ที่อัปไซด์ตลาดมีน้อยลงหลังจากปรับขึ้นไปมากแล้ว ทำให้นักลงทุนเทขายทำกำไรออกมา ขณะเดียวกัน ค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าค่อนข้างเร็วในช่วงที่ผ่านมา จึงมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนต่างชาติน่าจะขายทำกำไรออกมา ส่วนการพิจารณาโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มองว่าน่าจะเป็นปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยลบ ประกอบกับการปรับตัวลงของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาด เนื่องจากมีการปรับตัวลงทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในช่วงบ่ายวันนี้
ขณะที่ นายกอบเกียรติ บุญธีรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.หลักทรัพย์ เออีซี หรือ AECS กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เออีซี ได้ประเมิน SET INDEX มีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ระดับ 1,760 จุด ซึ่งเป้าหมายดัชนีเทียบเท่าระดับ Forward PER และ PBV ที่ 17 เท่า และ 2.5 เท่าตามลำดับ เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ในปี 2557 จะขยายตัว 2.9% และในปี 2558 กลับมาขยายตัวที่ 3.5-4% ซึ่งเป็นระดับการเติบโตระยะกลางของเศรษฐกิจไทย