ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้เศรษฐกิจ 2 เดือนแรกไตรมาส 2 ดีขึ้น ตอกย้ำทิศทางฟื้นตัวชัดเจนขึ้น จากหลายภาคส่วนทั้งการบริโภค-ลงทุนเอกชน และการเบิกจ่ายของภายในรัฐ แต่ส่งออกยังฟื้นตัวช้า คาดครึ่งปีหลังขยายตัวได้ 3.3% - 4.7%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 2 สะท้อนให้เห็นว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยได้วกกลับขึ้นจากจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาสนี้ โดยบรรยากาศการใช้จ่ายภาคเอกชน และการเร่งเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณของภาครัฐที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเอื้อให้โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทยอยมีภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่คาด ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่ปรับฤดูกาล กลับมาหดตัวลงอีกครั้งที่ร้อยละ 1.6 (MoM, s.a.) ในเดือน พ.ค. จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 (MoM, s.a.) ในเดือน เม.ย. โดยถูกฉุดรั้งจากสัญญาณซบเซายาวนานของการส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าประมง และสินค้าอุตสาหกรรม ที่หดตัวร้อยละ 2.2 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 2.0 (MoM, s.a.) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 มีโอกาสจะขยายตัวในกรอบร้อยละ 3.3-4.7 (YoY) เนื่องจากการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน (สูงขึ้นจากที่เผชิญกับภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการขยายตัวในช่วงครึ่งปีแรก) ประกอบกับแรงขับเคลื่อนจากภายในประเทศ และภาคการส่งออก น่าจะสามารถทำงานได้สอดประสานกันมากขึ้น
นอกจากนี้ หากสถานการณ์การเมืองในช่วงระหว่างการเดินหน้าปฏิรูปประเทศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ก็อาจช่วยหนุนบรรยากาศในภาคการท่องเที่ยว และช่วยกระตุ้นการลงทุนในภาคธุรกิจให้ทยอยฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง
สำหรับภาพรวมในปี 2557 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ไว้ที่กรอบร้อยละ 1.8-2.6 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 2.3) โดยจะติดตามรายละเอียดของมาตรการเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่น่าจะเริ่มทยอยมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า
ขณะที่ คงต้องยอมรับว่า ภาคการส่งออกที่ยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างล่าช้า ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปีด้วยเช่นกัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 2 สะท้อนให้เห็นว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยได้วกกลับขึ้นจากจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาสนี้ โดยบรรยากาศการใช้จ่ายภาคเอกชน และการเร่งเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณของภาครัฐที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเอื้อให้โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทยอยมีภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้าเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่คาด ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่ปรับฤดูกาล กลับมาหดตัวลงอีกครั้งที่ร้อยละ 1.6 (MoM, s.a.) ในเดือน พ.ค. จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 (MoM, s.a.) ในเดือน เม.ย. โดยถูกฉุดรั้งจากสัญญาณซบเซายาวนานของการส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าประมง และสินค้าอุตสาหกรรม ที่หดตัวร้อยละ 2.2 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 2.0 (MoM, s.a.) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 มีโอกาสจะขยายตัวในกรอบร้อยละ 3.3-4.7 (YoY) เนื่องจากการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน (สูงขึ้นจากที่เผชิญกับภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการขยายตัวในช่วงครึ่งปีแรก) ประกอบกับแรงขับเคลื่อนจากภายในประเทศ และภาคการส่งออก น่าจะสามารถทำงานได้สอดประสานกันมากขึ้น
นอกจากนี้ หากสถานการณ์การเมืองในช่วงระหว่างการเดินหน้าปฏิรูปประเทศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ก็อาจช่วยหนุนบรรยากาศในภาคการท่องเที่ยว และช่วยกระตุ้นการลงทุนในภาคธุรกิจให้ทยอยฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง
สำหรับภาพรวมในปี 2557 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ไว้ที่กรอบร้อยละ 1.8-2.6 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 2.3) โดยจะติดตามรายละเอียดของมาตรการเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่น่าจะเริ่มทยอยมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า
ขณะที่ คงต้องยอมรับว่า ภาคการส่งออกที่ยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างล่าช้า ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปีด้วยเช่นกัน