ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงมาที่ 1.8% จากเดิม 3% ระบุจากการเมืองส่อแววยืดเยื้อ-การใช้จ่ายที่ยังอ่อนแอ และหากส่งออกเติบโตไม่ได้ตามคาด 5% อาจกดดันจีดีพีเติบโตแค่ 1.3%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยลดกรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2557 ลงมาที่ร้อยละ 1.3-2.4 จากกรอบคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.2-3.7 หรือค่ากลางที่ร้อยละ 1.8 กรณีพื้นฐาน จากเดิมที่มีค่ากลางที่ร้อยละ 3 ภายในสมมติฐานว่าจะสามารถมีรัฐบาลภายในกลางปี โดยคาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองอาจยังคงยืดเยื้อ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2558 คงมีผลบังคับใช้ไม่ทันภายในปีนี้ เป็นผลให้เม็ดเงินงบประมาณของรัฐหายไปในช่วงไตรมาสที่ 4/2557 โดยภาครัฐอาจสามารถใช้จ่ายได้เฉพาะงบประมาณรายจ่ายประจำ และไม่เกินวงเงินของปีงบประมาณก่อนหน้าเท่านั้น
นอกจากนี้ จากทิศทางการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีโอกาสอ่อนแอกว่าที่คาด ส่งผลให้การส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้ กลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักเพียงด้านเดียวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งอาจจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ไม่มากนัก
ทั้งนี้ กรอบประมาณการเศรษฐกิจในปี 2557 นั้น ในกรณีดีที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วภายในเดือนกรกฎาคม 2557 แม้มองว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย แต่ถ้าทำได้ก็อาจสนับสนุนให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐ และกิจกรรมการลงทุนเดินหน้าได้คล่องตัว และรวดเร็วขึ้น โดยหากการใช้จ่ายของภาคเอกชนกลับมาฟื้นตัวชดเชยกับผลจากความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2558 ได้ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 2.4 แต่สำหรับกรณีเลวร้าย หากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อจนมีผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในระดับที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งหากการส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดมาขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ก็อาจขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยลดกรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2557 ลงมาที่ร้อยละ 1.3-2.4 จากกรอบคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.2-3.7 หรือค่ากลางที่ร้อยละ 1.8 กรณีพื้นฐาน จากเดิมที่มีค่ากลางที่ร้อยละ 3 ภายในสมมติฐานว่าจะสามารถมีรัฐบาลภายในกลางปี โดยคาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองอาจยังคงยืดเยื้อ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2558 คงมีผลบังคับใช้ไม่ทันภายในปีนี้ เป็นผลให้เม็ดเงินงบประมาณของรัฐหายไปในช่วงไตรมาสที่ 4/2557 โดยภาครัฐอาจสามารถใช้จ่ายได้เฉพาะงบประมาณรายจ่ายประจำ และไม่เกินวงเงินของปีงบประมาณก่อนหน้าเท่านั้น
นอกจากนี้ จากทิศทางการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีโอกาสอ่อนแอกว่าที่คาด ส่งผลให้การส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้ กลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักเพียงด้านเดียวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งอาจจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ไม่มากนัก
ทั้งนี้ กรอบประมาณการเศรษฐกิจในปี 2557 นั้น ในกรณีดีที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วภายในเดือนกรกฎาคม 2557 แม้มองว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย แต่ถ้าทำได้ก็อาจสนับสนุนให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐ และกิจกรรมการลงทุนเดินหน้าได้คล่องตัว และรวดเร็วขึ้น โดยหากการใช้จ่ายของภาคเอกชนกลับมาฟื้นตัวชดเชยกับผลจากความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2558 ได้ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 2.4 แต่สำหรับกรณีเลวร้าย หากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อจนมีผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในระดับที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งหากการส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดมาขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 เศรษฐกิจไทยในปี 2557 ก็อาจขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น