xs
xsm
sm
md
lg

KIAT ลุยโรงไฟฟ้าเต็มสูบคาดเสร็จปี 58 ประเมินรายได้ปี ละ 250 ล.เล็งเข้าตลาดฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


บอส “เกียรติธนาขนส่ง” เดินหน้าลุยธุรกิจใหม่ โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกกะวัตต์ ผ่านบริษัทลูก เกียรติธนากรีน เพาเวอร์ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม และลดความเสี่ยงการพึ่งพารายได้จากการขนส่งสินค้าด้านปิโตรเคมีเพียงอย่างเดียว คาดแล้วเสร็จปลายปี 2558 รับรู้รายได้ปีละ 250 ล้านบาท พร้อมมีแผนนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังระดมทุนนำเงินไปขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่ม ชี้มีหลายบริษัทรุมจีบขอถือหุ้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาไม่ปิดกั้นพันธมิตร แต่ขอเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกุมอำนาจบริหาร

นายเกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์ กรรมการผู้ จัดการ บริษัท เกียรติธนาขน ส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT เปิด เผยว่า บริษัทฯ ได้ลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขนาด 9.9 เมกะวัตต์ โดยใช้ต้นปาล์ม ต้นยางพารา และผลิตภัณฑ์การเกษตรที่เหลือใช้ในพื้นที่ภาคใต้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ภายใต้บริษัทลูก “บริษัทเกียรติธนากรีนเพาเวอร์” ซึ่งใช้เงินลงทุนประมาณ 750 ล้านบาท ทั้งนี้ เม็ดเงินลงทุนมาจากเงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้สถาบันการเงิน ขณะนี้โครงการ ดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับ โดยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงในการจัดซื้อที่ดินขนาด 40 ไร่ ณ อำเภอพุนพิน จังหวัด สุราษฎร์ธานี รวมทั้งได้ลงนามจัดหาเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล มูลค่ารวมประมาณ 600 กว่าล้านบาท

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะแล้วเสร็จราวเดือนธันวาคม 2558 และเริ่มจำหน่ายไฟให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ในเดือนมกราคม 2559 และรับรู้รายได้ทันที ซึ่งได้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจำนวน 0.30 บาทต่อหน่วย คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 250 ล้านบาทต่อปี และผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) อยู่ที่กว่าร้อยละ 20 โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลนี้คาดว่าจะมีกำไรอยู่ที่ร้อยละ 35 อย่างไรก็ตาม โครงการได้อยู่ระหว่างการจัดทำประชาคมพิจารณ์ในเดือนเมษายน คาดว่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีจากชุมชน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่งที่ตั้งอยู่

“โครงการดังกล่าวได้ศึกษาอย่างรอบคอบได้เชื่อว่าจะเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของรายได้บริษัทฯ ที่พึ่งพาเพียงธุรกิจขนส่งปิโตรเคมีที่เป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงสูง และธุรกิจโรงไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่ำ และมีรายได้ที่แน่นอนต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน เป็นธุรกิจที่มีกำไรในระดับสูงคาดว่ากำไรจะสูงถึง 35% และโรงไฟฟ้าจะแล้วเสร็จในปลายปี 58 เริ่มรับรู้รายได้ปี 59 ฝ่ายบริหารต้องมีการปรับกลยุทธ์การบริหาร เรามีธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งปิโตรเคมีแต่มีความ เสี่ยงโดยรวมจากภาพรวมเศรษฐกิจ การเมือง เราจึงต้องกระจายความเสี่ยง และศึกษาเป็นอย่างดีในธุรกิจโรงไฟฟ้าว่ามีความ เสี่ยงต่ำ จึงก่อตั้งบริษัทฯ ลูกเพื่อเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้ใหม่ หากแล้วเสร็จจะสร้างรายได้ปีละ 250 ล้านบาท” นายเกียรติชัย กล่าว

นายเกียรติชัย กล่าวต่อว่า KIAT ได้จัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ จำกัด เมื่อปลายปี 2556 เพื่อประกอบธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 5,000,000 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท จำนวนหุ้น 1,000,000 หุ้น ทั้งนี้ มีแผนจะ เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200 ล้านบาท ในปี 2557 และอยู่ระหว่างการศึกษานำบริษัทฯ ลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการระดมทุนเพื่อนำเงินมาคืนหนี้สถาบันการเงินจากการลงทุนโรงไฟฟ้าแห่งแรก รวมทั้งประเมินโอกาสในการลงทุนเพิ่มในธุรกิจโรงไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นความชัดเจนในช่วงที่บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ การลงทุนเพิ่มในธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อเนื่องเพราะเป็นธุรกิจที่มีรายได้แน่นอน และมีการปรับเพิ่มขึ้นได้ตามค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ถือเป็นธุรกิจที่ มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ปัจจุบันโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท เกียรติธนากรีนเพาเวอร์ จำกัด ประกอบด้วย KIAT ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากบริษัทฯ ที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทน ขอร่วมเป็น พันธมิตรและร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าแห่งแรก ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการ ศึกษาข้อมูลทางการเงินระหว่างกัน แต่ KIAT ยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ และเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้า

“เกียรติธนากรีน เพาเวอร์ เป็นบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า เป็นบริษัทลูกที่มีแผนระดม ทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย หากโรงไฟฟ้าแห่งแรกเริ่มรับรู้รายได้ ช่วงปี 2557 เชื่อว่าจะมีความชัดเจนในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเราไม่ปิดกั้นพันธมิตรที่สนใจร่วมถือ หุ้นในธุรกิจโรงไฟฟ้า เพราะแห่งแรกก็มีบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาคุยแล้ว แต่เราต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้น เพื่อคงอำนาจการบริหาร เพราะเราคงไม่หยุดแค่โรงไฟฟ้าแห่งแรก ต้องมีแห่งที่ 2 ที่ 3 ตามมาแน่นอน”


กำลังโหลดความคิดเห็น