“แพรนด้า จิวเวลรี่” กำไรงวดสิ้นปี 56 หายไปกว่า 286 ล้านบาท หรือลดลง 95% เหตุกำไรขั้นต้นตก ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่ม และยอดขายต่ำ ผลจากภาวะตลาดเครื่องประดับในยุโรป และอินเดียหดตัวจากปีก่อน ทำให้ต้องเร่งส่งเสริมการขาย
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ PRANDA แจ้งผลงานงวดสิ้นปีของบริษัท และบริษัทย่อย ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 164.60 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 450 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 286 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 94.70% เนื่องจากยอดขาย และอัตรากำไรขั้นต้นลดลง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin) ลดลง
โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้น 1,036.6 ซึ่งลดลง 379.6 ล้านบาท หรือลดลง 26.8% จากปีก่อน เนื่องจากสภาวะตลาดเครื่องประดับในยุโรป และอินเดียหดตัวจากปีก่อน จึงทำให้กลุ่มบริษัทได้ดำเนินการส่งเสริมการขายด้านราคา (Price Promotion) อีกทั้งมีการจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับทองมากขึ้น โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าเครื่องประดับเงินเทียบกับปีก่อน รวมทั้งยอดขายที่ลดลงทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการประหยัดขนาดการผลิต (Economy of Scale) จึงส่งผลให้มีอัตรากำไรขัน้ ต้น ( Gross Profit Margin) ลดลงจาก 33.9% เป็น 28.4%
สำหรับยอดขายปี 56 กลุ่มบริษัทมีรายได้จากการขาย 3,648.84 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 527.9 ล้านบาท หรือลดลง 12.6% เพราะมาจากรายได้จากการผลิตที่ลดลงจากยอดขายในประเทศ และต่างประเทศลดลง รวมทั้งราคาทองคำ ราคาเนื้อเงินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการลดลงของรายได้จากการจัดจำหน่าย 47 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากยอดขายในยุโรป และอินเดีย สำหรับรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้น จากยอดขายในอินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วนรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 137.5 จากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะมีต้นทุนขายลดลงตามรายได้จากการขายที่ลดลง และราคาวัตถุดิบที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ PRANDA แจ้งผลงานงวดสิ้นปีของบริษัท และบริษัทย่อย ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 164.60 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 450 ล้านบาท หรือลดลงกว่า 286 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 94.70% เนื่องจากยอดขาย และอัตรากำไรขั้นต้นลดลง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin) ลดลง
โดยกลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้น 1,036.6 ซึ่งลดลง 379.6 ล้านบาท หรือลดลง 26.8% จากปีก่อน เนื่องจากสภาวะตลาดเครื่องประดับในยุโรป และอินเดียหดตัวจากปีก่อน จึงทำให้กลุ่มบริษัทได้ดำเนินการส่งเสริมการขายด้านราคา (Price Promotion) อีกทั้งมีการจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับทองมากขึ้น โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าเครื่องประดับเงินเทียบกับปีก่อน รวมทั้งยอดขายที่ลดลงทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการประหยัดขนาดการผลิต (Economy of Scale) จึงส่งผลให้มีอัตรากำไรขัน้ ต้น ( Gross Profit Margin) ลดลงจาก 33.9% เป็น 28.4%
สำหรับยอดขายปี 56 กลุ่มบริษัทมีรายได้จากการขาย 3,648.84 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 527.9 ล้านบาท หรือลดลง 12.6% เพราะมาจากรายได้จากการผลิตที่ลดลงจากยอดขายในประเทศ และต่างประเทศลดลง รวมทั้งราคาทองคำ ราคาเนื้อเงินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการลดลงของรายได้จากการจัดจำหน่าย 47 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากยอดขายในยุโรป และอินเดีย สำหรับรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้น จากยอดขายในอินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วนรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 137.5 จากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะมีต้นทุนขายลดลงตามรายได้จากการขายที่ลดลง และราคาวัตถุดิบที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย