“บลิส-เทล” ตั้ง บริษัทย่อย “บลิส สปอร์ต” หวังบริหารรสิทธิประโยชน์ของสนามมวยเวทีลุมพินีแห่งใหม่รามอินทรา กับทางนายสนามมวยลุมพินี กรมสวัสดิการทหารบก กองทัพบก โดยมีอายุสัญญา 5 ปี และคงสิทธิในการต่อสัญญาอีก 5 ปี เน้นเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ หลังโทรทัศน์ระบบดิจิตอลบูม หวังสร้างรายได้ และกำไรที่เป็นรายการประจำต่อเนื่องในระยะยาว ลดความเสี่้ยงรายได้ที่ได้จากเฉพาะงานโครงการ
นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) หรือ BLISS แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 1/2557 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ว่าบอร์ดบริษัทได้มีมติอนุมัติให้บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อบริษัท บลิส สปอร์ต จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท และเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียน
โดยบริษัทตั้งใหม่นี้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด และมีกรรมการคือ นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ นายปุณณรัตน์ พุฒิคฤโฆษ และนายอลงกรณ์ ไชยร่มโพธิ์
สำหรับเงินที่ใช้ลงทุนเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท และการจัดตั้งบริษัทย่อยดังกล่าวเพื่อเป็นบริษัทที่เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการบริหารสิทธิประโยชน์ของสนามมวยเวทีลุมพินีแห่งใหม่รามอินทรา กับทางนายสนามมวยลุมพินี กรมสวัสดิการทหารบก กองทัพบก โดยมีอายุสัญญา 5 ปี และคงสิทธิในการต่อสัญญาอีก 5 ปี เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป ซึ่้งลักษณะของสนามมวยลุมพินีแห่งใหม่ ตั้งอยู่ริมถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 2 ในพื้นที่ของสนามกอล์ฟ กองทัพบก บนเนื้อที่ขนาด 8 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 4 อาคาร
ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าว BLISS คาดว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหารายได้จากการให้บริการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายใน และภายนอกสนามมวย และจัดหารายได้จากการให้สิทธิให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นผู้สนับสนุนหลักของสนามมวย จัดรายการแข่งขันมวยเพื่อจัดกิจกรรมพิเศษรูปแบบต่างๆ หรือให้บุคคลเช่าช่วงเพื่อใช้กิจกรรม การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันมวยไทยเพื่อแพร่ภาพออกอากาศทางโทรทัศน์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ตลอดจนการหาผลประโยชน์จากเทปบันทึกภาพการแข่งขันมวยไทยในการที่จะแปลงเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายธุรกิจของบริษัทออกไปในแนวกว้าง และลึกที่หลากหลายมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในแนวธุรกิจเดิม คือ เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ โดยปรับตัวเพิ่มจากการเป็นผู้ให้บริการจำหน่ายและติดตั้งเพียงอุปกรณ์ มาเป็นผู้บริหารจัดการในส่วนที่เป็นตัวเนื้อหาสาระ (Content) มากขึ้น ทำให้บริษัทมีสินค้าที่สามารถจะป้อนตลาดการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในปีนี้ อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้ และกำไรที่เป็นรายการประจำต่อเนื่องในระยะยาวให้แก่บริษัทลดความเสี่ยงในส่วนที่เป็นรายได้ที่เกิดจากลักษณะธุรกิจที่เป็นโครงการลงจากการลงทุนในการจัดตั้งบริษัทใหม่ในครั้งนี้ จะคำนวณขนาดของรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ตามเกณฑ์มูลค่ารวมสิ่งตอบแทนได้ เท่ากับร้อยละ 3.36 ของมูลค่าสินทรัพย์รวมของบริษัท และบริษัทย่อย (พิจารณาจากงบการเงินรวมของบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 30กันยายน 2556) ซึ่งรายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกั และขนาดของรายการไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) หรือ BLISS แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 1/2557 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ว่าบอร์ดบริษัทได้มีมติอนุมัติให้บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อบริษัท บลิส สปอร์ต จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท และเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียน
โดยบริษัทตั้งใหม่นี้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด และมีกรรมการคือ นายจักรกฤษณ์ ธนวิรุฬห์ นายปุณณรัตน์ พุฒิคฤโฆษ และนายอลงกรณ์ ไชยร่มโพธิ์
สำหรับเงินที่ใช้ลงทุนเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท และการจัดตั้งบริษัทย่อยดังกล่าวเพื่อเป็นบริษัทที่เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการบริหารสิทธิประโยชน์ของสนามมวยเวทีลุมพินีแห่งใหม่รามอินทรา กับทางนายสนามมวยลุมพินี กรมสวัสดิการทหารบก กองทัพบก โดยมีอายุสัญญา 5 ปี และคงสิทธิในการต่อสัญญาอีก 5 ปี เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป ซึ่้งลักษณะของสนามมวยลุมพินีแห่งใหม่ ตั้งอยู่ริมถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 2 ในพื้นที่ของสนามกอล์ฟ กองทัพบก บนเนื้อที่ขนาด 8 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 4 อาคาร
ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าว BLISS คาดว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหารายได้จากการให้บริการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายใน และภายนอกสนามมวย และจัดหารายได้จากการให้สิทธิให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นผู้สนับสนุนหลักของสนามมวย จัดรายการแข่งขันมวยเพื่อจัดกิจกรรมพิเศษรูปแบบต่างๆ หรือให้บุคคลเช่าช่วงเพื่อใช้กิจกรรม การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันมวยไทยเพื่อแพร่ภาพออกอากาศทางโทรทัศน์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ตลอดจนการหาผลประโยชน์จากเทปบันทึกภาพการแข่งขันมวยไทยในการที่จะแปลงเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายธุรกิจของบริษัทออกไปในแนวกว้าง และลึกที่หลากหลายมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในแนวธุรกิจเดิม คือ เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ โดยปรับตัวเพิ่มจากการเป็นผู้ให้บริการจำหน่ายและติดตั้งเพียงอุปกรณ์ มาเป็นผู้บริหารจัดการในส่วนที่เป็นตัวเนื้อหาสาระ (Content) มากขึ้น ทำให้บริษัทมีสินค้าที่สามารถจะป้อนตลาดการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในปีนี้ อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้ และกำไรที่เป็นรายการประจำต่อเนื่องในระยะยาวให้แก่บริษัทลดความเสี่ยงในส่วนที่เป็นรายได้ที่เกิดจากลักษณะธุรกิจที่เป็นโครงการลงจากการลงทุนในการจัดตั้งบริษัทใหม่ในครั้งนี้ จะคำนวณขนาดของรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ตามเกณฑ์มูลค่ารวมสิ่งตอบแทนได้ เท่ากับร้อยละ 3.36 ของมูลค่าสินทรัพย์รวมของบริษัท และบริษัทย่อย (พิจารณาจากงบการเงินรวมของบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 30กันยายน 2556) ซึ่งรายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกั และขนาดของรายการไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน