ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.ไฟเขียวปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราใหม่ ออกเป็น พ.ร.ก.บังคับใช้ปี 56 กับ 57 เอาใจมนุษย์เงินเดือน ได้ผลประโยชน์มากสุด เสียภาษีลดลงกว่า 50% งานนี้รัฐยอมสูญปีละ 27,000 ล้านบาท
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุด 37% เหลือ 35% โดยมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 56 และปี 57 ซึ่งจะทำให้ผู้เสียภาษีเสียภาษีลดลง 5-50% แม้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้จากเดิม 27,000 ล้านบาทก็ตาม แต่ถือว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีเป็นจำนวนมาก
“การปรับโครงสร้างอัตราภาษีครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ให้ประโยชน์แก่คนรวย โดยคนที่มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หรือปีละ 3.6 แสนบาท จะเสียภาษีลดลง 50% คือ จากเดิมที่เคยเสียภาษี 12,000 บาท อัตราใหม่จะเสียภาษีเพียง 6,000 บาทเท่านั้น ซึ่งมีผู้เสียภาษีในระดับนี้ 1.4 ล้านคน ขณะที่คนที่มีรายได้เกินกว่าปีละ 4 ล้านบาท จะเสียภาษีลดลงเฉลี่ย 5% เท่านั้น คือ จากเดิมต้องเสียภาษี 1.075 ล้านบาท อัตราใหม่จะเสียภาษี 1.003 ล้านบาท โดยคนกลุ่มนี้มี 20,000 ราย”
อย่างไรก็ตาม การที่ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากร่างกฎหมายยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภาซึ่งอาจเกิดความล่าช้า และไม่ทันต่อการเสียภาษีในปี 56 ที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบ และเสียภาษีให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.57 จึงได้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้เป็นเวลา 2 ปีก่อน
สำหรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้แบบเดิมนั้นผู้ที่มีรายได้ 100,001-500,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 10% ของรายได้สุทธิ ขณะที่แบบใหม่จะขยายฐานเป็นผู้มีรายได้ 300,001-500,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 10% ของรายได้สุทธิ และ 500,001-750,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 15% ของรายได้สุทธิ ส่วนผู้มีรายได้ 500,001-1,000,000 บาทต่อปี ปัจจุบันเสียภาษี 20% ของรายได้สุทธิ ขณะที่แบบใหม่จะขยายฐาน เป็นผู้มีรายได้ 750,001-1,000,000 บาทต่อปีจะเสียภาษี 20% ของรายได้สุทธิ และ 1,000,001-2,000,000 จะเสียภาษี 25% ของรายได้สุทธิ ส่วนผู้มีรายได้ 4,000,000 บาทต่อปี ขึ้นไป ปัจจุบันเสียภาษี 37% ของรายได้สุทธิ อัตราใหม่จะลดเหลือเพียง 35% ของรายได้สุทธิเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาบับนี้จะบังคับใช้เฉพาะเรื่องของการปรับปรุงอัตราโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และคณะบุคคลเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องของการขยายวงเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวจาก 60,000 บาท เป็น 1.2 แสนบาท
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุด 37% เหลือ 35% โดยมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 56 และปี 57 ซึ่งจะทำให้ผู้เสียภาษีเสียภาษีลดลง 5-50% แม้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้จากเดิม 27,000 ล้านบาทก็ตาม แต่ถือว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีเป็นจำนวนมาก
“การปรับโครงสร้างอัตราภาษีครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ให้ประโยชน์แก่คนรวย โดยคนที่มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หรือปีละ 3.6 แสนบาท จะเสียภาษีลดลง 50% คือ จากเดิมที่เคยเสียภาษี 12,000 บาท อัตราใหม่จะเสียภาษีเพียง 6,000 บาทเท่านั้น ซึ่งมีผู้เสียภาษีในระดับนี้ 1.4 ล้านคน ขณะที่คนที่มีรายได้เกินกว่าปีละ 4 ล้านบาท จะเสียภาษีลดลงเฉลี่ย 5% เท่านั้น คือ จากเดิมต้องเสียภาษี 1.075 ล้านบาท อัตราใหม่จะเสียภาษี 1.003 ล้านบาท โดยคนกลุ่มนี้มี 20,000 ราย”
อย่างไรก็ตาม การที่ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากร่างกฎหมายยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภาซึ่งอาจเกิดความล่าช้า และไม่ทันต่อการเสียภาษีในปี 56 ที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบ และเสียภาษีให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.57 จึงได้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้เป็นเวลา 2 ปีก่อน
สำหรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้แบบเดิมนั้นผู้ที่มีรายได้ 100,001-500,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 10% ของรายได้สุทธิ ขณะที่แบบใหม่จะขยายฐานเป็นผู้มีรายได้ 300,001-500,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 10% ของรายได้สุทธิ และ 500,001-750,000 บาทต่อปี จะเสียภาษี 15% ของรายได้สุทธิ ส่วนผู้มีรายได้ 500,001-1,000,000 บาทต่อปี ปัจจุบันเสียภาษี 20% ของรายได้สุทธิ ขณะที่แบบใหม่จะขยายฐาน เป็นผู้มีรายได้ 750,001-1,000,000 บาทต่อปีจะเสียภาษี 20% ของรายได้สุทธิ และ 1,000,001-2,000,000 จะเสียภาษี 25% ของรายได้สุทธิ ส่วนผู้มีรายได้ 4,000,000 บาทต่อปี ขึ้นไป ปัจจุบันเสียภาษี 37% ของรายได้สุทธิ อัตราใหม่จะลดเหลือเพียง 35% ของรายได้สุทธิเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกาบับนี้จะบังคับใช้เฉพาะเรื่องของการปรับปรุงอัตราโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และคณะบุคคลเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องของการขยายวงเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวจาก 60,000 บาท เป็น 1.2 แสนบาท