“ซีพีเอฟ ตุรกี” ปีนี้หวังรายได้โต 8.5% หรือ 610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เน้นการผลิตอาหารสัตว์
และอาหารสำเร็จรูป จะเป็นหลักในการทำเงิน หลังยอดขายพุ่งต่อเนื่อง มุ่งผลิตสินค้าเพิ่มมูลค่าด้วยการทำแพกเกจจิ้ง
แทนการขายไก่ทั้งตัว ตามแผนงานเป็นผู้นำการผลิตอาหาร และขายอาหารสัตว์ในตุรกี
นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ กรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ตุรกี บริษัทย่อยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ปีนี้ซีพีเอฟ ตุรกี จะมีรายได้รวม 610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากปี55 ที่ทำรายได้รวมไว้ที่ 562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 8.5%
“ซีพีเอฟ ตุรกี มีแผนให้บริษัทเติบโตตามเป้าหมายคือเป็นผู้นำการผลิตอาหาร และขายอาหารสัตว์ในตุรกี ด้วยการเน้นการจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดของบริษัท ถือเป็นช่วงที่ท้าทายสำหรับเรา”
โดยเฉพาะร้าน ซีพี ชอป และฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งขณะนี้การขยายร้านจำหน่ายภายใต้แบรนด์ซีพีทั้งของสด และอาหาร จะเป็นลักษณะแฟรนไชส์ เปิดแล้ว 42 สาขา และเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น จะเพิ่มเป็น 170-180 สาขาภายในสิ้นปี 56 เพื่อลดภาระต้นทุนแรงงานของบริษัท เนื่องจากมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีร้านซีพี ชอป อยู่ทั้งหมด 420 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 470-480 แห่งภายในสิ้นปีนี้ และเป้าหมาย 1 พันสาขา ภายใน 5 ปีด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานของซีพีเอฟ ตุรกี มียอดขายที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายมี 4 กลุ่มใหญ่คือ เนื้อไก่ อาหารสัตว์ ไข่ไก่ แและธุรกิจอาหารแปรรรูป ซึ่งในส่วนของการจำหน่ายอาหารสัตว์ถือว่าเป็นพระเอกจากการที่ชำนาญในการผลิตมานาน ปัจจุบันในตุรกีมีโรงงานทั้งหมด 6 โรง และกำลังการผลิตทั้งสิ้นอยู่ที่ 67% แล้ว คาดว่าภายใน 2 ปีนี้จะต้องก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
“เราอยู่ระหว่างสำรวจหาที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้าง แต่ยังพอมีเวลา และการสร้างโรงงานแต่ละครั้งเราใช้เงินประมาณ 500 ล้านบาทต่อโรง ซึ่งการขายอาหารสัตว์เรามีส่วนแบ่งตลาด 7% เป็นอันดับ 1 ในตุรกี หลังจากนี้เราจะเน้นการผลิตอาหารสัตว์ขาย ด้วยกำลังการผลิต 1.5 ล้านตันต่อปี ใช้เองและขายอย่างละ 50% เราผลิตอาหารสัตว์ในตุรกีต้นทุนต่ำเพราะมีวัตถุดิบรองรับได้มาก”
ทั้งนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ถือเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท เพราะความชำนาญที่ทำมานาน ดังนั้น ปีนี้จะเห็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจนี้เติบโตขึ้น 30% และภาพรวมสัดส่วนรายได้ของซีพีเอฟ ตุรกี แบ่งเป็นเนื้อไก่ 54% อาหารสัตว์ 33% ฟาร์ม 11% และธุรกิอาหารสำเร็จรูป 3% ขณะในอีก 5 ปี สัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนเป็น เนื้อไก่ 40% อาหารสัตว์ 36% ฟาร์ม 9% และธุรกิจอาหารสำเร็จรูป 15%
สำหรับธุรกิจเนื้อไก่ และไข่ไก่ มี 2 ฟาร์ม ผลิตไข่ไก่ได้ 2 ล้านฟองต่อวัน และโรงชำแหละไก่ 4 โรง สามารถผลิตได้ 3.5 แสนตัวต่อวัน และปีนี้ ซีพีเอฟ ตุรกี ผลิตได้ 1.4 แสนตัว ซึ่งความต้องการไก่ในตุรกีอยู่ที่ 1.8 ล้านตัวต่อปี คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 8% เป็นอันดับ 5 ในตุรกี
“เราส่งออกบ้างในซีเรีย อิรัก และอิหร่าน ซึ่งกำลังการผลิตทั้งหมดของเราขายในตุรกี 90% และอีก 10% ขายตะวันออกกลาง และสัดส่วนก็จะไม่เพิ่มจากนี้มากเพราะฐานกว้างขึ้น และการส่งออกก็มากขึ้นตาม ส่วนการส่งออกขายในอียูนั้น สินค้าจากตุรกียังโดนกีดกันตามข้อกฎหมาย จึงเป็นเรื่องลำบากในการส่งสินค้าออกไปขายในยุโรป ซึ่งรัฐบาลตุรกีเองต้องเข้มงวด และปรับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้ตรงตามมาตรฐานอียูก่อนจึงจะส่งออกไปได้คงต้องใช้เวลา”
โดยปีนี้ เป็นปีที่ ซีพีเอฟ ตุรกี จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าให้ตรงเวลา การทำงานวิจัยต่างๆ การพัฒนาบุคลากร และอื่นๆ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท ตลอดจนเพิ่มสินค้าที่เพิ่มมูลค่าอย่างการทำแพกเกจจิ้งสำหรับสินค้าที่ขายอย่างไก่ตัวก็จะตัดแยกชิ้นส่วนสะดวก และตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการใช้เนื้อไก่ในการบริโภคที่แตกต่าง ซึ่งตามแผนงาน 5 ปี ซีพีเอฟ ตุรกี ตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และอาหารสำเร็จรูป จะเป็นหลักในการทำเงิน หลังยอดขายพุ่งต่อเนื่อง มุ่งผลิตสินค้าเพิ่มมูลค่าด้วยการทำแพกเกจจิ้ง
แทนการขายไก่ทั้งตัว ตามแผนงานเป็นผู้นำการผลิตอาหาร และขายอาหารสัตว์ในตุรกี
นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ กรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ตุรกี บริษัทย่อยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ปีนี้ซีพีเอฟ ตุรกี จะมีรายได้รวม 610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากปี55 ที่ทำรายได้รวมไว้ที่ 562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 8.5%
“ซีพีเอฟ ตุรกี มีแผนให้บริษัทเติบโตตามเป้าหมายคือเป็นผู้นำการผลิตอาหาร และขายอาหารสัตว์ในตุรกี ด้วยการเน้นการจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดของบริษัท ถือเป็นช่วงที่ท้าทายสำหรับเรา”
โดยเฉพาะร้าน ซีพี ชอป และฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งขณะนี้การขยายร้านจำหน่ายภายใต้แบรนด์ซีพีทั้งของสด และอาหาร จะเป็นลักษณะแฟรนไชส์ เปิดแล้ว 42 สาขา และเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น จะเพิ่มเป็น 170-180 สาขาภายในสิ้นปี 56 เพื่อลดภาระต้นทุนแรงงานของบริษัท เนื่องจากมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีร้านซีพี ชอป อยู่ทั้งหมด 420 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 470-480 แห่งภายในสิ้นปีนี้ และเป้าหมาย 1 พันสาขา ภายใน 5 ปีด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานของซีพีเอฟ ตุรกี มียอดขายที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายมี 4 กลุ่มใหญ่คือ เนื้อไก่ อาหารสัตว์ ไข่ไก่ แและธุรกิจอาหารแปรรรูป ซึ่งในส่วนของการจำหน่ายอาหารสัตว์ถือว่าเป็นพระเอกจากการที่ชำนาญในการผลิตมานาน ปัจจุบันในตุรกีมีโรงงานทั้งหมด 6 โรง และกำลังการผลิตทั้งสิ้นอยู่ที่ 67% แล้ว คาดว่าภายใน 2 ปีนี้จะต้องก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
“เราอยู่ระหว่างสำรวจหาที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้าง แต่ยังพอมีเวลา และการสร้างโรงงานแต่ละครั้งเราใช้เงินประมาณ 500 ล้านบาทต่อโรง ซึ่งการขายอาหารสัตว์เรามีส่วนแบ่งตลาด 7% เป็นอันดับ 1 ในตุรกี หลังจากนี้เราจะเน้นการผลิตอาหารสัตว์ขาย ด้วยกำลังการผลิต 1.5 ล้านตันต่อปี ใช้เองและขายอย่างละ 50% เราผลิตอาหารสัตว์ในตุรกีต้นทุนต่ำเพราะมีวัตถุดิบรองรับได้มาก”
ทั้งนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ถือเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท เพราะความชำนาญที่ทำมานาน ดังนั้น ปีนี้จะเห็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจนี้เติบโตขึ้น 30% และภาพรวมสัดส่วนรายได้ของซีพีเอฟ ตุรกี แบ่งเป็นเนื้อไก่ 54% อาหารสัตว์ 33% ฟาร์ม 11% และธุรกิอาหารสำเร็จรูป 3% ขณะในอีก 5 ปี สัดส่วนรายได้จะเปลี่ยนเป็น เนื้อไก่ 40% อาหารสัตว์ 36% ฟาร์ม 9% และธุรกิจอาหารสำเร็จรูป 15%
สำหรับธุรกิจเนื้อไก่ และไข่ไก่ มี 2 ฟาร์ม ผลิตไข่ไก่ได้ 2 ล้านฟองต่อวัน และโรงชำแหละไก่ 4 โรง สามารถผลิตได้ 3.5 แสนตัวต่อวัน และปีนี้ ซีพีเอฟ ตุรกี ผลิตได้ 1.4 แสนตัว ซึ่งความต้องการไก่ในตุรกีอยู่ที่ 1.8 ล้านตัวต่อปี คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 8% เป็นอันดับ 5 ในตุรกี
“เราส่งออกบ้างในซีเรีย อิรัก และอิหร่าน ซึ่งกำลังการผลิตทั้งหมดของเราขายในตุรกี 90% และอีก 10% ขายตะวันออกกลาง และสัดส่วนก็จะไม่เพิ่มจากนี้มากเพราะฐานกว้างขึ้น และการส่งออกก็มากขึ้นตาม ส่วนการส่งออกขายในอียูนั้น สินค้าจากตุรกียังโดนกีดกันตามข้อกฎหมาย จึงเป็นเรื่องลำบากในการส่งสินค้าออกไปขายในยุโรป ซึ่งรัฐบาลตุรกีเองต้องเข้มงวด และปรับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้ตรงตามมาตรฐานอียูก่อนจึงจะส่งออกไปได้คงต้องใช้เวลา”
โดยปีนี้ เป็นปีที่ ซีพีเอฟ ตุรกี จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าให้ตรงเวลา การทำงานวิจัยต่างๆ การพัฒนาบุคลากร และอื่นๆ เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท ตลอดจนเพิ่มสินค้าที่เพิ่มมูลค่าอย่างการทำแพกเกจจิ้งสำหรับสินค้าที่ขายอย่างไก่ตัวก็จะตัดแยกชิ้นส่วนสะดวก และตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการใช้เนื้อไก่ในการบริโภคที่แตกต่าง ซึ่งตามแผนงาน 5 ปี ซีพีเอฟ ตุรกี ตั้งงบลงทุนไว้ประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ