ครึ่งปีหลังหุ้นไทยยังผันผวนหนัก อย่าประมาทแรงขายต่างชาติ แม้เพิ่งกลับมาซื้อ 1 หมื่นล้านใน 2 วัน กูรูเตือนแค่จบรอบแรก รอบสองกำลังมา หลังโกยไปแล้วร่วม 1 แสนล้านบาทจากเงินต้นทุน-กำไรส่วนต่าง และกำไรค่าเงิน ชี้เมื่อเฟดปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตร จะเป็นสัญญาณให้ต่างชาติเทขายเพื่อขนเงินกลับออกไปอีก โดยรวม 12 เดือนจากนี้การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจะฉุดสภาพคล่องวูบ แนะจับตาทิศทางค่าเงินบาท กับดัชนีหุ้นชอบวิ่งสวนทาง ล่าสุด กลับมาระดับ 31 บาท/เหรียญ จุดเริ่มต้นเงินนอกทะลักเข้าหุ้นไทยปีก่อน
ดัชนีหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-28 มิ.ย.) เริ่มฟื้นตัวในแดนบวก แต่ยังมีความผันผวนที่รุนแรงไม่เลิก แม้จะรับรู้ต่อกรณีการเตรียมลดวงเงินซื้อพันธบัตร และเตรียมถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE3) ของธนาคารสหรัฐฯ (เฟด) มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยการปรับตัวขึ้นของดัชนีในแต่ละวันแกว่งตัวทั้งขึ้นและลงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30-40 จุด อีกทั้งพบว่าแทบทั้งหมดยังเป็นการเข้าซื้อของนักลงทุนประเทศทุกกลุ่ม ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มเห็นแรงซื้อกลับคืนมาบ้างเล็กน้อย จากก่อนหน้าที่เทขายไม่หยุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด เมื่อวันที่ 18-19 มิ.ย.2556 พบว่ามีช่วงเวลาที่ชัดเจนของการถอยออกจากมาตรการ QE แล้ว โดยคาดว่าสามารถยุติได้ประมาณในช่วงกลางปี 2557 ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดต่ำลงจนเข้าใกล้ร้อยละ 7.0 จากร้อยละ 7.6 ในปัจจุบัน แต่การคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds จะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะปรับตัวลงไปที่ร้อยละ 6.5 หรือต่ำกว่า ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 2.5
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตลาดจะต้องรอความชัดเจน และประเมินต่อไปก็คือ ระดับของการลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรต่อเดือน ซึ่งยังคงขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ซึ่งจะทำให้การปรับตัวของตลาดเงิน-ตลาดทุนทั่วโลก ยังอาจต้องเผชิญกับความผันผวนตามกระแสความคาดหวังของตลาดที่ต้องการรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นจากเฟด โดยประเมินว่า เฟดน่าจะเดินหน้าชะลอมาตรการ QE ตามกรอบเวลาที่วางไว้ แต่หากสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอ เฟดคงต้องปรับแผนการถอยมาตรการ QE ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
สำหรับหลายๆ ประเทศในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โจทย์ที่ต้องเตรียมรับมือในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าก็คือ ทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระบวนการถอย QE ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะจะมีผลเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน และระดับสภาพคล่อง รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ส่วนภาคเอกชน ผู้ที่ต้องการระดมทุนใหม่ หรือต้องการ Rollover หนี้ก้อนเดิมก็คงต้องเตรียมวางแผนการระดมทุนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดมากขึ้น
นายสุรศักดิ์ ธรรมโม คณะกรรมการการลงทุน บลจ.ฟินันซ่า จำกัด ได้จัดทำรายงานประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนของโลกและไทย ว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า อันเป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขยายตัวที่ 7% ต่อปี จากนี้เป็นต้นไป ขณะที่การฟื้นตัวของสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่วิกฤตที่ยังดำเนินต่อไปในยุโรป อีกทั้งต้องจับตาดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นว่าจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ เพราะในเอเชียนั้นการขยายตัวเศรษฐกิจเริ่มอ่อนตัวลง
ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาคือ การเริ่มกระบวนการยุติการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด ซึ่งประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะอยู่ที่ระดับ 0% ไปจนถึงปี พ.ศ.2558 และเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนั้น แต่นักลงทุนจะปรับพอร์ตโฟลิโอก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งได้เริ่มเห็นแล้วตั้ง 21 พ.ค.56 ที่ผ่านมา ที่ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าจะลดขนาดวงเงินผลคือ ดัชนีหุ้นทั่วโลกได้ทยอยปรับลดลงมาก
“จากนี้ไปจะเกิดความผันผวนของการลงทุนในระดับสูง สามารถสังเกตจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความผันผวนนี้จากทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐซึ่งจะเริ่มปรับค่าแข็งค่าขึ้นก่อน ซึ่งมีสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก”
ส่วนกระบวนการยุติ QE สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1.ลดขนาดวงเงิน QE หรือลดการสร้างสภาพคล่อง จากปัจจุบันเดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญ และอาจจะลดเหลือ 6.5 หมื่นล้านเหรียญ ในช่วงกันยายนปีนี้ 2.การยุติวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเด็ดขาด หรือยุติการสร้างสภาพคล่อง จะเกิดขึ้นได้เมื่ออัตราการว่างงานจะต้องลดลงมาอยู่ต่ำกว่า 7% หรือใกล้เคียง 7% ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงกลางปีหน้า และ 3.เฟดเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ซึ่งนำไปสู่การดึงสภาพคล่องที่ เฟดสร้างขึ้นกลับมาสู่เฟดผ่านการเพิ่มต้นทุนทางการเงิน ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี2558
“ตลาดหุ้น และราคาสินทรัพย์เสี่ยงตลอด 4-5 ปีหลังปี 2551 เป็นต้นมา ปรับขึ้นมากจากผลของนโยบาย QE ที่เฟดสร้างสภาพคล่อง และเติมเข้าสู่ระบบการเงินทุกๆ เดือน นำไปสู่การเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในทุกสินทรัพย์ เมื่อสหรัฐฯ กำลังส่งสัญญาณลด และยุติการสร้างสภาพคล่องจึงเป็นที่มาของการที่ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวนตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค. ส่วนญี่ปุ่น แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นปีจะเริ่มมาตรการ QE แต่วงเงินกระตุ้นดังกล่าวต่ำกว่าการสร้างสภาพคล่องของสหรัฐฯ อีกทั้งเงินเยนมีสัดส่วนในการซื้อขายในธุรกรรมระหว่างประเทศไม่ถึง 20% จึงไม่ส่งผลกว้างขวางไปทั่วโลก แต่จะส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ”
โดยสรุปแล้ว คาดว่าจะเห็นความผันผวนตั้งแต่หลังวันที่ 19 มิ.ย.56 เป็นต้นไป โดยเงินเหรียญสหรัฐจะเริ่มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และกดดันให้เงินทุนสหรัฐฯ ที่ไปลงทุนต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหุ้นประเทศเกิดใหม่ พันธบัตรประเทศเกิดใหม่ จะถูกปรับลดการลงทุนและนำเงินกลับมา ก่อนที่เงินจะแข็งค่าขึ้นในระดับที่สูง และส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศขาดทุนในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน ประเมินว่าความผันผวนของการลงทุนอาจจะสูงกว่าปัจจุบัน โดยราคาหลักทรัพย์และราคาสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศต่างๆ จะผันผวนจากภาวะเงินทุนไหลออก และจะได้แรงกดดันจากการเทขายของนักลงทุนต่างประเทศต่อเนื่อง จนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ กับเงินเหรียญสหรัฐจะมีแนวโน้มคงที่ เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะผันผวนมากขึ้น
รอบทำกำไรใหม่กำลังเริ่ม
นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ดัชนีที่เพิ่มขึ้น 87.81 จุด ในช่วงการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 25-28 มิ.ย.นั้น มีเพียง 27.52 จุด หรือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์เท่านั้นที่นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิรวมกัน 10,797.34 ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติจะกลับมาหลังดัชนี และราคาหุ้นไทยปรับตัวลงไปมากตั้งแต่ 21 พ.ค. ซึ่งหมายถึงรอบการเทขายทำกำไร 2 ต่อจากส่วนต่างราคาหุ้น และการอ่อนค่าของเงินบาทได้จบลงแล้ว
โดยมีการประเมินว่า เมื่อรวมต้นทุนที่ลงทุนในหุ้นกับกำไรจากส่วนต่าง และกำไรจากเงินบาทอ่อนค่า เม็ดเงินที่นักลงทุนต่างชาติขนกลับไปจากตลาดหุ้นไทยเพียงระยะเวลา 1 เดือนนั้นน่าจะสูงถึง 1 แสนล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติกำลังจะเริ่มนำต้นทุนเดิมที่นำออกไปทยอยเข้ามาเก็บหุ้นไทยในราคาถูกอีกครั้ง เพื่อรอขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับค่าเงินบาทที่จะถูกกดดันจากเม็ดเงินทุนภายนอกที่จะทยอยไหลกลับเข้ามากดดันให้แข็งค่าอีกรอบ เพื่อรอเวลาโดนเทขายทำกำไร 2 ต่ออีกรอบ
“โดยรวมตั้งแต่ 21 พ.ค. ต่างชาติขายออกมาแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท สถาบันเข้าไปรับกว่า 7 หมื่นล้าน รายย่อยรับไปอีก 1.3 หมื่นล้านบาท สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นขึ้นมาเยอะ รายย่อยมีการเทขายปรับพอร์ตหลังจากเข้าช้อนซื้อไว้เยอะช่วงก่อนหน้านี้ จนบางรายแทบไม่เหลือเงินลงทุน แต่ยังไว้ใจไม่ได้ รอบความผันผวนของ Fund Flow ยังไม่จบ เมื่อการทยอยลดวงเงินซื้อพันธบัตรใน QE เกิดขึ้น จะเป็นเหมือนสัญญาณให้นักลงทุนต่างชาติขายเพื่อทำกำไร และขนทั้งเงินต้น-กำไรกลับสหรัฐฯ อีกรอบ และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าสภาพคล่องจะถูกดูดออกไปหมด นั่นคือ เมื่อเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 เฟดจะยุติ QE กลางปีหน้าจริง แต่ไม่ได้หมายถึงเงินในสภาพคล่องออกไปด้วย ยอดซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ปี 2535 มีมากถึง 3.6 แสนล้านบาท ช่วงปี 51 เคยขายออกไปถึง 1.6 แสนล้านบาท ก่อนทยอยซื้อกลับเข้ามา 1.37 แสนล้านบาท แล้วทำไมในรอบนี้จะไม่มีโอกาสเทขายลงถึงระดับนั้นได้อีก และอย่าลืมทริกเกอร์ ฟันด์ ซึ่งเมื่อถึงเป้าหมายก็จะทำการขายออกมาด้วยเช่นกัน”
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย กับค่าเงินบาท/เหรียญสหรัฐ พบว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2555 นักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี (28 ธ.ค.) ค่าเงินอยู่ที่ 30.620 บาท/เหรียญ ขณะที่ดัชนีอยู่ที่ 1,391.93 จุด ต่อมาเมื่อเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นจนถึงระดับ 28.580 บาท/เหรียญ ส่วนดัชนีอยู่ที่ 1,545.45จุด เมื่อวันที่ 19 มี.ค.56 และเริ่มอ่อนตัวมาที่ระดับ 29.830 บาท/เหรียญ ขณะที่ดัชนีอยู่ที่ 1,643.40จุด ในวันที่ 20 พ.ค. ก่อนที่ประธานเฟดจะส่งสัญญาณยุติ QE เมื่อวันที่ 21 พ.ค. จนทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงหนัก ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ เริ่มจาก 30.740 บาท/เหรียญ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. และ 31.080 บาท/เหรียญ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. และอยู่ในระดับ 31.00 บาท/เหรียญ จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับเมื่อครั้งที่เม็ดเงินต่างชาติเริ่มเข้าซื้อหุ้นไทยเมื่อปีที่แล้ว
ดัชนีหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-28 มิ.ย.) เริ่มฟื้นตัวในแดนบวก แต่ยังมีความผันผวนที่รุนแรงไม่เลิก แม้จะรับรู้ต่อกรณีการเตรียมลดวงเงินซื้อพันธบัตร และเตรียมถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE3) ของธนาคารสหรัฐฯ (เฟด) มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยการปรับตัวขึ้นของดัชนีในแต่ละวันแกว่งตัวทั้งขึ้นและลงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30-40 จุด อีกทั้งพบว่าแทบทั้งหมดยังเป็นการเข้าซื้อของนักลงทุนประเทศทุกกลุ่ม ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มเห็นแรงซื้อกลับคืนมาบ้างเล็กน้อย จากก่อนหน้าที่เทขายไม่หยุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด เมื่อวันที่ 18-19 มิ.ย.2556 พบว่ามีช่วงเวลาที่ชัดเจนของการถอยออกจากมาตรการ QE แล้ว โดยคาดว่าสามารถยุติได้ประมาณในช่วงกลางปี 2557 ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดต่ำลงจนเข้าใกล้ร้อยละ 7.0 จากร้อยละ 7.6 ในปัจจุบัน แต่การคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds จะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะปรับตัวลงไปที่ร้อยละ 6.5 หรือต่ำกว่า ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 2.5
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตลาดจะต้องรอความชัดเจน และประเมินต่อไปก็คือ ระดับของการลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรต่อเดือน ซึ่งยังคงขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ซึ่งจะทำให้การปรับตัวของตลาดเงิน-ตลาดทุนทั่วโลก ยังอาจต้องเผชิญกับความผันผวนตามกระแสความคาดหวังของตลาดที่ต้องการรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นจากเฟด โดยประเมินว่า เฟดน่าจะเดินหน้าชะลอมาตรการ QE ตามกรอบเวลาที่วางไว้ แต่หากสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอ เฟดคงต้องปรับแผนการถอยมาตรการ QE ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
สำหรับหลายๆ ประเทศในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โจทย์ที่ต้องเตรียมรับมือในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าก็คือ ทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระบวนการถอย QE ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะจะมีผลเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน และระดับสภาพคล่อง รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ส่วนภาคเอกชน ผู้ที่ต้องการระดมทุนใหม่ หรือต้องการ Rollover หนี้ก้อนเดิมก็คงต้องเตรียมวางแผนการระดมทุนให้สอดคล้องกับสภาพตลาดมากขึ้น
นายสุรศักดิ์ ธรรมโม คณะกรรมการการลงทุน บลจ.ฟินันซ่า จำกัด ได้จัดทำรายงานประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนของโลกและไทย ว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า อันเป็นผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขยายตัวที่ 7% ต่อปี จากนี้เป็นต้นไป ขณะที่การฟื้นตัวของสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่วิกฤตที่ยังดำเนินต่อไปในยุโรป อีกทั้งต้องจับตาดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นว่าจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ เพราะในเอเชียนั้นการขยายตัวเศรษฐกิจเริ่มอ่อนตัวลง
ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาคือ การเริ่มกระบวนการยุติการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด ซึ่งประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะอยู่ที่ระดับ 0% ไปจนถึงปี พ.ศ.2558 และเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนั้น แต่นักลงทุนจะปรับพอร์ตโฟลิโอก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง ซึ่งได้เริ่มเห็นแล้วตั้ง 21 พ.ค.56 ที่ผ่านมา ที่ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าจะลดขนาดวงเงินผลคือ ดัชนีหุ้นทั่วโลกได้ทยอยปรับลดลงมาก
“จากนี้ไปจะเกิดความผันผวนของการลงทุนในระดับสูง สามารถสังเกตจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความผันผวนนี้จากทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐซึ่งจะเริ่มปรับค่าแข็งค่าขึ้นก่อน ซึ่งมีสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก”
ส่วนกระบวนการยุติ QE สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1.ลดขนาดวงเงิน QE หรือลดการสร้างสภาพคล่อง จากปัจจุบันเดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญ และอาจจะลดเหลือ 6.5 หมื่นล้านเหรียญ ในช่วงกันยายนปีนี้ 2.การยุติวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเด็ดขาด หรือยุติการสร้างสภาพคล่อง จะเกิดขึ้นได้เมื่ออัตราการว่างงานจะต้องลดลงมาอยู่ต่ำกว่า 7% หรือใกล้เคียง 7% ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงกลางปีหน้า และ 3.เฟดเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate) ซึ่งนำไปสู่การดึงสภาพคล่องที่ เฟดสร้างขึ้นกลับมาสู่เฟดผ่านการเพิ่มต้นทุนทางการเงิน ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี2558
“ตลาดหุ้น และราคาสินทรัพย์เสี่ยงตลอด 4-5 ปีหลังปี 2551 เป็นต้นมา ปรับขึ้นมากจากผลของนโยบาย QE ที่เฟดสร้างสภาพคล่อง และเติมเข้าสู่ระบบการเงินทุกๆ เดือน นำไปสู่การเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในทุกสินทรัพย์ เมื่อสหรัฐฯ กำลังส่งสัญญาณลด และยุติการสร้างสภาพคล่องจึงเป็นที่มาของการที่ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวนตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค. ส่วนญี่ปุ่น แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นปีจะเริ่มมาตรการ QE แต่วงเงินกระตุ้นดังกล่าวต่ำกว่าการสร้างสภาพคล่องของสหรัฐฯ อีกทั้งเงินเยนมีสัดส่วนในการซื้อขายในธุรกรรมระหว่างประเทศไม่ถึง 20% จึงไม่ส่งผลกว้างขวางไปทั่วโลก แต่จะส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ”
โดยสรุปแล้ว คาดว่าจะเห็นความผันผวนตั้งแต่หลังวันที่ 19 มิ.ย.56 เป็นต้นไป โดยเงินเหรียญสหรัฐจะเริ่มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และกดดันให้เงินทุนสหรัฐฯ ที่ไปลงทุนต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหุ้นประเทศเกิดใหม่ พันธบัตรประเทศเกิดใหม่ จะถูกปรับลดการลงทุนและนำเงินกลับมา ก่อนที่เงินจะแข็งค่าขึ้นในระดับที่สูง และส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศขาดทุนในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกัน ประเมินว่าความผันผวนของการลงทุนอาจจะสูงกว่าปัจจุบัน โดยราคาหลักทรัพย์และราคาสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศต่างๆ จะผันผวนจากภาวะเงินทุนไหลออก และจะได้แรงกดดันจากการเทขายของนักลงทุนต่างประเทศต่อเนื่อง จนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ กับเงินเหรียญสหรัฐจะมีแนวโน้มคงที่ เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะผันผวนมากขึ้น
รอบทำกำไรใหม่กำลังเริ่ม
นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ดัชนีที่เพิ่มขึ้น 87.81 จุด ในช่วงการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 25-28 มิ.ย.นั้น มีเพียง 27.52 จุด หรือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์เท่านั้นที่นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิรวมกัน 10,797.34 ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติจะกลับมาหลังดัชนี และราคาหุ้นไทยปรับตัวลงไปมากตั้งแต่ 21 พ.ค. ซึ่งหมายถึงรอบการเทขายทำกำไร 2 ต่อจากส่วนต่างราคาหุ้น และการอ่อนค่าของเงินบาทได้จบลงแล้ว
โดยมีการประเมินว่า เมื่อรวมต้นทุนที่ลงทุนในหุ้นกับกำไรจากส่วนต่าง และกำไรจากเงินบาทอ่อนค่า เม็ดเงินที่นักลงทุนต่างชาติขนกลับไปจากตลาดหุ้นไทยเพียงระยะเวลา 1 เดือนนั้นน่าจะสูงถึง 1 แสนล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติกำลังจะเริ่มนำต้นทุนเดิมที่นำออกไปทยอยเข้ามาเก็บหุ้นไทยในราคาถูกอีกครั้ง เพื่อรอขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับค่าเงินบาทที่จะถูกกดดันจากเม็ดเงินทุนภายนอกที่จะทยอยไหลกลับเข้ามากดดันให้แข็งค่าอีกรอบ เพื่อรอเวลาโดนเทขายทำกำไร 2 ต่ออีกรอบ
“โดยรวมตั้งแต่ 21 พ.ค. ต่างชาติขายออกมาแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท สถาบันเข้าไปรับกว่า 7 หมื่นล้าน รายย่อยรับไปอีก 1.3 หมื่นล้านบาท สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นขึ้นมาเยอะ รายย่อยมีการเทขายปรับพอร์ตหลังจากเข้าช้อนซื้อไว้เยอะช่วงก่อนหน้านี้ จนบางรายแทบไม่เหลือเงินลงทุน แต่ยังไว้ใจไม่ได้ รอบความผันผวนของ Fund Flow ยังไม่จบ เมื่อการทยอยลดวงเงินซื้อพันธบัตรใน QE เกิดขึ้น จะเป็นเหมือนสัญญาณให้นักลงทุนต่างชาติขายเพื่อทำกำไร และขนทั้งเงินต้น-กำไรกลับสหรัฐฯ อีกรอบ และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าสภาพคล่องจะถูกดูดออกไปหมด นั่นคือ เมื่อเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 เฟดจะยุติ QE กลางปีหน้าจริง แต่ไม่ได้หมายถึงเงินในสภาพคล่องออกไปด้วย ยอดซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ปี 2535 มีมากถึง 3.6 แสนล้านบาท ช่วงปี 51 เคยขายออกไปถึง 1.6 แสนล้านบาท ก่อนทยอยซื้อกลับเข้ามา 1.37 แสนล้านบาท แล้วทำไมในรอบนี้จะไม่มีโอกาสเทขายลงถึงระดับนั้นได้อีก และอย่าลืมทริกเกอร์ ฟันด์ ซึ่งเมื่อถึงเป้าหมายก็จะทำการขายออกมาด้วยเช่นกัน”
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย กับค่าเงินบาท/เหรียญสหรัฐ พบว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2555 นักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี (28 ธ.ค.) ค่าเงินอยู่ที่ 30.620 บาท/เหรียญ ขณะที่ดัชนีอยู่ที่ 1,391.93 จุด ต่อมาเมื่อเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นจนถึงระดับ 28.580 บาท/เหรียญ ส่วนดัชนีอยู่ที่ 1,545.45จุด เมื่อวันที่ 19 มี.ค.56 และเริ่มอ่อนตัวมาที่ระดับ 29.830 บาท/เหรียญ ขณะที่ดัชนีอยู่ที่ 1,643.40จุด ในวันที่ 20 พ.ค. ก่อนที่ประธานเฟดจะส่งสัญญาณยุติ QE เมื่อวันที่ 21 พ.ค. จนทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงหนัก ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ เริ่มจาก 30.740 บาท/เหรียญ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. และ 31.080 บาท/เหรียญ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. และอยู่ในระดับ 31.00 บาท/เหรียญ จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับเมื่อครั้งที่เม็ดเงินต่างชาติเริ่มเข้าซื้อหุ้นไทยเมื่อปีที่แล้ว