xs
xsm
sm
md
lg

ADVANC ไตรมาสแรกกำไร 9.9 พันล.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แอดวานซ์ อินโฟร์ฯ ไตรมาสแรกปีนี้กำไร 9,923 ล้านบาท ขยับเพิ่มจากปีก่อน 8,926 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 997 ล้านบาท คิดเป็น 12% เนื่องจากผู้ใช้บริการเพิ่้มขึ้น
 
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC ภายใต้การให้บริการเครือข่าย AIS แจ้งผลงานไตรมาสแรกมีกำไรสุทธิ 9,923 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 8,926 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 997 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นเกือบ 12% เนื่องจากผู้ใช้บริการเพิ่้มขึ้น

โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/2556 ADVANC มีจำนวนผู้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 37.1 ล้านเลขหมาย หรือมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านเลขหมาย โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงิน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ADVANC ได้มีมาตรการชั่วคราวเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในเรื่องการกำหนดวันหมดอายุของลูกค้าระบบเติมเงิน
 
จึงส่งผลให้อัตราการ Churn ของกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงินลดลง และมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มสูงขึ้น โดยที่อัตราการ Churn ของลูกค้าระบบเติมเงินลดลงมาที่ระดับ 3.2% จากเดิมที่ระดับ 4.3% ในไตรมาส 4/2555 ส่งผลให้จำนวนลูกค้าระบบเติมเงินที่สน ส่วนอัตราการ Churn ของลูกค้าระบบเหมาจ่ายรายเดือนยังคงทรงตัว ต่อมาในเดือนมีนาคมADVANC ได้เริ่มกระบวนการใหม่ซึ่งได้รับการเห็นชอบจาก กสทช.

กล่าวคือ ทุกครั้งที่ลูกค้าทำการเติมเงินจะได้รับจำนวนวันใช้งานเพิ่ม 30 วัน โดยคาดว่ากระบวนการใหม่นี้จะส่งผลให้อัตราการ Churn ของลูกค้าระบบเติมเงินลดลงกว่าระดับ Churn ในปี 2555

ทั้งนี้ ฐานลูกค้าระบบเติมเงินที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวส่งผลให้รายได้ต่อเลขหมาย (ARPU) ของลูกค้าระบบเติมเงินอยู่ระดับ 202 บาทต่อเดือน หรือลดลง 2.4% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว และลดลง 2.9% จากไตรมาสที่ผ่านมา รวมทั้งทำให้จำนวนนาทีโทร.ออก (MOU) ของลูกค้าระบบเติมเงินอยู่ที่ 329 นาทีต่อเดือน ลดลง 1.5% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว แต่ทรงตัวเมื่อกับไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากไม่รวมผลกระทบจากมาตรการชั่วคราวข้างต้น ทั้ง ARPU และ MOU ในระบบเติมเงินจะยังคงทรงตัวจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่าการที่ ARPU ของลูกค้าระบบเติมเงินลดลงมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ลูกค้าเปลี่ยนจากบริการในระบบเติมเงินเป็นระบบเหมาจ่ายรายเดือนเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่วน ARPU ในระบบเหมาจ่ายรายเดือนเพิ่มขึ้น และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากมีลูกค้าต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนพร้อมแพกเกจมากขึ้น ขณะที่ MOU ในระบบเหมาจ่ายรายเดือนเท่ากับ 531 นาทีต่อเดือน ลดลง 6.8% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว และลดลง 1.3% จากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้าหันมาใช้บริการข้อมูลมากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น