xs
xsm
sm
md
lg

ออสสิริสเชื่อ..ปัญหาเกาหลี และ FOMC กดทองผันผวน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ฝ่ายวิจัย บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส  จำกัด (AFC Research) มองราคาทองคำสปอตด้วยภาพของราคาทองคำที่มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวผันผวนตามปัจจัยเรื่องของความกังวล โดยเฉพาะในปัจจัยเรื่องความมั่นคงในเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เราให้ความสำคัญกับเหตุการณ์สำคัญในช่วงคืนวันพุธนี้ โดยให้จับตาดูสหรัฐฯในประเด็นของรายงานFOMC ที่มีแนวโน้มจะให้ภาพในเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะการเงินและเศรษฐกิจโดยยังคงมีความน่าจะเป็นที่ยังคงมาตรการผ่อนคลายฯ แม้ว่าตัวเลขอัตราการว่างงานในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นที่ได้ประกาศ 7.6% จาก 7.7% ได้คลายความกังวลบ้าง แต่โดนคานกับภาพของตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ได้ประกาศ 8.8 หมื่นตำแหน่งจาก 2.66 แสนตำแหน่ง ซึ่งน่าจะสร้างความผันผวนต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวมได้เป็นอย่างดี

นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว จับตาดูความคืบหน้าในภาพความกังวลใจของสภาวะการขาดซึ่งเสถียรภาพของการเมืองในยุโรป โดยรวมแล้ว ถ้าภาพของเหตุการณ์โดยรวมแย่ลง น่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำได้โดยภาพรวม ในสมมติฐานที่ว่า ทองคำอาจจะเริ่มกลับสภาพเป็น Safe Haven Asset หรือสินทรัพย์การลงทุนที่มีความปลอดภัย   จากภาพความไม่แน่นอนที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ดี จากทีท่าของกองทุน SPDR ที่ได้ถือครองที่ระดับ 1,205.31 ตันล่าสุดนั้น โดยน่าจะยังคงรู้สึกไม่มั่นใจในทิศทางของการขึ้นของราคาทองคำในระยะสั้นนี้ น่าจะยังคงเป็นเป็นปัจจัยกดดันเชิงจิตวิทยาอย่างน้อยแก่นักลงทุนโดยรวม [spdrgoldshares]

โดยตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ได้เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ ได้แก่ ตัวเลขการใช้จ่ายภาคก่อสร้างรายเดือนในสหรัฐฯที่ได้ประกาศ 1.2% จาก -2.1 ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในสเปน สวิตฯ อิตาลีที่ได้ประกาศ 44.2 จาก 46.8, 48.3 จาก 50.8 และ 44.5 จาก 45.8 ตามลำดับ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิต การปล่อยกู้ภาคเอกชนรายเดือน และการอนุมัติการจำนองในอังกฤษที่ 48.3 จาก 47.9, 1.5 พันล้านจาก 8 แสนล้าน และ 5.2 หมื่นราย จาก 5.1 หมื่นราย ตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานรายเดือน และมุมมองต่อเศรษฐกิจในสหรัฐฯที่ 3% จาก -1% และ 46.2 จาก  42.2 ตามลำดับ ตัวเลขประมาณการดัชนีราคาผู้บริโภครายปีในยุโรปที่ได้ประกาศ 1.7% จาก 1.8% เป็นต้น

ตัวเลขฯที่ได้เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ ได้แก่ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในจีนที่ได้ประกาศ 50.9 จาก 50.1 ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในสหรัฐฯที่ 54.6 จาก 54.9 ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการว่างงานในสเปนที่ได้ประกาศ -5 พันตำแหน่งจาก 5.94 ตำแหน่ง ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในยุโรปที่ได้ประกาศ 46.8 จาก 46.6 ตัวเลขอัตราการว่างงานรายเดือนในอิตาลีที่ 11.6% จาก 11.7% ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตในจีนที่ได้ประกาศ 55.6 จาก 54.5 ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการก่อสร้างในอังกฤษที่ 47. จาก 46.8 ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก  ADP และตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อนอกภาคการผลิตในสหรัฐฯที่ 1.58 แสนตำแหน่งจาก 1.98 แสนตำแหน่ง และ 54.4 จาก 56 ตามลำดับ ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการบริการในสเปน อิตาลี และอังกฤษที่ได้ประกาศ 45.3 จาก 44.7, 45.5 จาก 43.6 และ 52.4 จาก 51.8 ตามลำดับ ตัวเลขคนว่างงานที่ขอสวัสดิการจากภาครัฐในสหรัฐฯที่ 3.85 แสนตำแหน่งจาก 3.57 แสนตำแหน่ง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว AFC Research มีความเห็นว่า สัปดาห์นี้ ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวผันผวนหลักๆตามปัจจัยเรื่องของความกังวลในปัจจัยเรื่องความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี และรายงาน FOMC ของสหรัฐฯ โดยที่นักลงทุนควรกำหนดจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุนให้ชัดเจนทุกครั้งเช่นเคย
กำลังโหลดความคิดเห็น