ทริส เรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร “ดุสิตธานี” ที่ระดับ “BBB+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนชื่อเสียงของบริษัท ฐานะผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทย และฐานะการเงินดี ขณะการฟื้นความเชื่อมั่นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ ส่งผลทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ทริส เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ที่ระดับ “BBB+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” ซึ่งอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงชื่อเสียงของบริษัท ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมรายใหญ่ของไทย และฐานะการเงินที่อยู่ในระดับดี นอกจากนี้ การจัดอันดับ เครดิตยังพิจารณาถึงโรงแรมในเครือของบริษัทที่กระจายตัวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ตลอดจนการขยายโรงแรมไปในต่างประเทศ ศักยภาพในการขยายธุรกิจบริหาร โรงแรม และการมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์สูงด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวลดทอนลงไปบางส่วนจากธรรมชาติของธุรกิจโรงแรมที่มีความผันผวน และการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงผลประกอบการให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นกังวลต่ออันดับเครดิตของบริษัท ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงโอกาสการ เติบโต และความหลากหลายของโรงแรมของบริษัท ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่า บริษัทจะดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวัง และเพื่อคงคุณภาพเครดิตและสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทในช่วงวงจรอุตสาหกรรมขาลง
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำของบริษัท ยังเป็นประเด็นกังวลต่ออันดับเครดิต ทั้งนี้ บริษัทต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับปรุงอัตราการทำกำไร และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เป็นที่ประจักษ์
บริษัทดุสิตธานี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมชั้นนำของไทย ซึ่งดำเนินงาน และให้บริการบริหารโรงแรม ภายใต้ชื่อดุสิตธานี ดุสิตปริ้นเซส ดุสิตดีทู ดุสิต เทวารัณย์ และดุสิตเรสซิเดนซ์ บริษัทก่อตั้งในเดือนกันยายน 2509 โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย และในปี 2513 ได้เปิดดำเนินการโรงแรม 5 ดาวในชื่อ “ดุสิตธานี” ในกรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก
การมีประวัติที่ยาวนานได้สร้างชื่อเสียงที่มั่นคง และทำให้บริษัทสามารถขยายสู่ธุรกิจการให้บริการบริหารโรงแรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) และอียิปต์
นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา และการฝึกอบรมด้วย อย่างไรก็ตาม รายได้จากธุรกิจดังกล่าวยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำในเดือนกันยายน 2555 บริษัทได้เปิดโรงแรมแห่งใหม่ในประเทศมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ คือ โรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ซึ่งประกอบด้วยวิลลา 100 หลัง และส่วนสันทนาการต่างๆ ส่งผลให้ ณ เดือนกันยายน 2555 บริษัทมีโรงแรมภายใต้การบริหารงานรวม 20 แห่ง โดยเป็นโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของ 7 แห่ง (2,186 ห้อง) โรงแรมที่บริษัทให้บริการบริหารจัดการ 8 แห่ง (1,476 ห้อง รวมโรงแรม 3 แห่งของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี) และโรงแรมที่ดำเนินการภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัท 5 แห่ง (1,080 ห้อง)
นโยบายทางธุรกิจของบริษัทค่อนข้างอนุรักษนิยม โดยบริษัทมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนโรงแรมที่บริษัทรับบริหารกิจการ ทั้งนี้ บริษัทได้ลงนามในสัญญาให้บริการบริหารกิจการโรงแรม และอยู่ระหว่าง ารเจรจากับผู้ประกอบการโรงแรมใหม่ๆ หลายรายในประเทศอินเดีย จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา และเคนยา
อย่างไรก็ตาม รายได้จากการให้บริการบริหารโรงแรมยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ โดยผลการดำเนินงานของบริษัทส่วนใหญ่มาจากโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของ 3 แห่งเป็นหลักคือ โรงแรมดุสิตธานีที่กรุงเทพฯ ที่พัทยา และที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ แม้บริษัทจะขยายการดำเนินธุรกิจไปยังต่างประเทศ แต่รายได้มากกว่า 70% ยังคงมาจากภายในประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรงแรมแห่งใหม่ในประเทศ มัลดีฟส์ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศของบริษัทให้มีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลด ลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงจากเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในประเทศ ได้บางส่วน นอกเหนือจากธรรมชาติที่ผันผวน และการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโรงแรมภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของบริษัทยังได้รับผลกระทบจากสภาพตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การฟื้นความเชื่อมั่นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ ส่งผลทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 บริษัทบันทึกรายได้ 3,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปี 2553 ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทมีรายได้ 2,999 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ในส่วนของโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของนั้นไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอยู่ที่ 65% ขณะที่อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนเพิ่มขึ้น 13% โดยอยู่ที่ 3,013 บาท เมื่อเทียบกับอัตรา 2,662 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโรงแรมที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนค่อนข้างสูง คือ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และดุสิตธานีมะนิลา อีกทั้งอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนที่สูงของโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ยังส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนของกลุ่มดุสิตธานีปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าห้องพักต่อคืนสำหรับโรงแรมของบริษัทยังมีอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาพลักษณ์ของโรงแรมที่ไม่ทันสมัย ซึ่งมีผลจำกัดความสามารถในการตั้งราคาของบริษัท บริษัทเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร ทั้งนี้ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือระดับเลขหนึ่งหลักในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรม อัตรากำไรที่ลดลงส่งผลทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลงตามไปด้วย
สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 10.6 ล้านบาท ผลขาดทุนดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากการเปิดโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ที่ล่าช้า ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อนเปิดโรงแรมสูง การที่บริษัทประกันรายได้ค่าเช่าให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าดุสิตธานี เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท
นอกจากนี้ การลงทุนจำนวนมากในโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ยังส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทอีกด้วย หนี้สินรวมของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจาก 369 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 1,867 ล้านบาทในปี 2554 และ 2,124 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2555 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเพิ่มขึ้นจาก 28.99% ในปี 2554 เป็น 32.33% ณ เดือนกันยายน 2555
อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่า ผลประกอบการของโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และส่งผลในทางบวกต่อบริษัท นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ก็คาดว่าจะเป็นผลดีต่อการดำเนินงาน และผลประกอบการของบริษัทด้วยเช่นกัน
บริษัท ทริส เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ที่ระดับ “BBB+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” ซึ่งอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงชื่อเสียงของบริษัท ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมรายใหญ่ของไทย และฐานะการเงินที่อยู่ในระดับดี นอกจากนี้ การจัดอันดับ เครดิตยังพิจารณาถึงโรงแรมในเครือของบริษัทที่กระจายตัวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ตลอดจนการขยายโรงแรมไปในต่างประเทศ ศักยภาพในการขยายธุรกิจบริหาร โรงแรม และการมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์สูงด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวลดทอนลงไปบางส่วนจากธรรมชาติของธุรกิจโรงแรมที่มีความผันผวน และการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงผลประกอบการให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นกังวลต่ออันดับเครดิตของบริษัท ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงโอกาสการ เติบโต และความหลากหลายของโรงแรมของบริษัท ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่า บริษัทจะดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวัง และเพื่อคงคุณภาพเครดิตและสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทในช่วงวงจรอุตสาหกรรมขาลง
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำของบริษัท ยังเป็นประเด็นกังวลต่ออันดับเครดิต ทั้งนี้ บริษัทต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับปรุงอัตราการทำกำไร และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เป็นที่ประจักษ์
บริษัทดุสิตธานี เป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมชั้นนำของไทย ซึ่งดำเนินงาน และให้บริการบริหารโรงแรม ภายใต้ชื่อดุสิตธานี ดุสิตปริ้นเซส ดุสิตดีทู ดุสิต เทวารัณย์ และดุสิตเรสซิเดนซ์ บริษัทก่อตั้งในเดือนกันยายน 2509 โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย และในปี 2513 ได้เปิดดำเนินการโรงแรม 5 ดาวในชื่อ “ดุสิตธานี” ในกรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก
การมีประวัติที่ยาวนานได้สร้างชื่อเสียงที่มั่นคง และทำให้บริษัทสามารถขยายสู่ธุรกิจการให้บริการบริหารโรงแรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) และอียิปต์
นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา และการฝึกอบรมด้วย อย่างไรก็ตาม รายได้จากธุรกิจดังกล่าวยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำในเดือนกันยายน 2555 บริษัทได้เปิดโรงแรมแห่งใหม่ในประเทศมัลดีฟส์อย่างเป็นทางการ คือ โรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ซึ่งประกอบด้วยวิลลา 100 หลัง และส่วนสันทนาการต่างๆ ส่งผลให้ ณ เดือนกันยายน 2555 บริษัทมีโรงแรมภายใต้การบริหารงานรวม 20 แห่ง โดยเป็นโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของ 7 แห่ง (2,186 ห้อง) โรงแรมที่บริษัทให้บริการบริหารจัดการ 8 แห่ง (1,476 ห้อง รวมโรงแรม 3 แห่งของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี) และโรงแรมที่ดำเนินการภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัท 5 แห่ง (1,080 ห้อง)
นโยบายทางธุรกิจของบริษัทค่อนข้างอนุรักษนิยม โดยบริษัทมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนโรงแรมที่บริษัทรับบริหารกิจการ ทั้งนี้ บริษัทได้ลงนามในสัญญาให้บริการบริหารกิจการโรงแรม และอยู่ระหว่าง ารเจรจากับผู้ประกอบการโรงแรมใหม่ๆ หลายรายในประเทศอินเดีย จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา และเคนยา
อย่างไรก็ตาม รายได้จากการให้บริการบริหารโรงแรมยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ โดยผลการดำเนินงานของบริษัทส่วนใหญ่มาจากโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของ 3 แห่งเป็นหลักคือ โรงแรมดุสิตธานีที่กรุงเทพฯ ที่พัทยา และที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ แม้บริษัทจะขยายการดำเนินธุรกิจไปยังต่างประเทศ แต่รายได้มากกว่า 70% ยังคงมาจากภายในประเทศเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรงแรมแห่งใหม่ในประเทศ มัลดีฟส์ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศของบริษัทให้มีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลด ลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงจากเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในประเทศ ได้บางส่วน นอกเหนือจากธรรมชาติที่ผันผวน และการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโรงแรมภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของบริษัทยังได้รับผลกระทบจากสภาพตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การฟื้นความเชื่อมั่นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ ส่งผลทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 บริษัทบันทึกรายได้ 3,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปี 2553 ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทมีรายได้ 2,999 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ในส่วนของโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของนั้นไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอยู่ที่ 65% ขณะที่อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนเพิ่มขึ้น 13% โดยอยู่ที่ 3,013 บาท เมื่อเทียบกับอัตรา 2,662 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยโรงแรมที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนค่อนข้างสูง คือ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และดุสิตธานีมะนิลา อีกทั้งอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนที่สูงของโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ยังส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนของกลุ่มดุสิตธานีปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าห้องพักต่อคืนสำหรับโรงแรมของบริษัทยังมีอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาพลักษณ์ของโรงแรมที่ไม่ทันสมัย ซึ่งมีผลจำกัดความสามารถในการตั้งราคาของบริษัท บริษัทเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร ทั้งนี้ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือระดับเลขหนึ่งหลักในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรม อัตรากำไรที่ลดลงส่งผลทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลงตามไปด้วย
สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2555 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 10.6 ล้านบาท ผลขาดทุนดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากการเปิดโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ที่ล่าช้า ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อนเปิดโรงแรมสูง การที่บริษัทประกันรายได้ค่าเช่าให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่าดุสิตธานี เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท
นอกจากนี้ การลงทุนจำนวนมากในโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์ ยังส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทอีกด้วย หนี้สินรวมของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจาก 369 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 1,867 ล้านบาทในปี 2554 และ 2,124 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2555 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเพิ่มขึ้นจาก 28.99% ในปี 2554 เป็น 32.33% ณ เดือนกันยายน 2555
อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่า ผลประกอบการของโรงแรมดุสิตธานีมัลดีฟส์จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และส่งผลในทางบวกต่อบริษัท นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ก็คาดว่าจะเป็นผลดีต่อการดำเนินงาน และผลประกอบการของบริษัทด้วยเช่นกัน