ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ปริมาณการซื้อขาย-วอลุ่มเทรดปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีก่อน ทำให้พบหุ้นที่มีการซื้อขายหุ้นผิดปกติมากขึ้นเช่นกัน พร้อมแจง Trading Alert ใช้ได้ผล ทำให้ปริมาณการซื้อขายปรับตัวลดลงหลังตลาดเปิดเผยข้อมูล
นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการปริมาณการซื้อขาย และมูลค่าการซื้อขายหุ้นปีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมานั้น ทำให้พบหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติในปีนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยความผิดส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของการสร้างราคา และการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหุ้น (อินไซด์ เทรดดิ้ง) ซึ่งความผิดปกติที่พบมักจะเกิดจากหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็ก
ทั้งนี้ การทำหน้าที่ในการตรวจสอบหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ ตลาดหลักทรัพย์ฯพยายามดำเนินการให้เร็วขึ้น และเมื่อพบความผิดปกติก็ได้มีการส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีระดับราคา และปริมาณการซื้อขายที่มีแนวโน้มผิดปกติเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า หรือ Trading alert ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 23 มกราคมปีนี้ เพื่อเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนในหุ้นที่มีการซื้อขายกระจุกตัวนั้น ถือว่าการขึ้น Trading Alert ได้ผลในระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าเมื่อมีการขึ้น Trading Alert เครื่องหมายแล้ว หลังจากนั้น ปริมาณการซื้อขายในหุ้นนั้นได้มีการชะลอตัวลง โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเข้าไป
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการขึ้น Trading Alert จำนวน 26 ครั้ง จากจำนวนหลักทรัพย์ทั้งหมด 23 ตัว แบ่งเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 17 ตัว และในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 6 ตัว โดยมีหุ้น 3 ตัวที่ถูกขึ้นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 คือ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TH และบริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) หรือ TSF
นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการปริมาณการซื้อขาย และมูลค่าการซื้อขายหุ้นปีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมานั้น ทำให้พบหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติในปีนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยความผิดส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของการสร้างราคา และการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหุ้น (อินไซด์ เทรดดิ้ง) ซึ่งความผิดปกติที่พบมักจะเกิดจากหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็ก
ทั้งนี้ การทำหน้าที่ในการตรวจสอบหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ ตลาดหลักทรัพย์ฯพยายามดำเนินการให้เร็วขึ้น และเมื่อพบความผิดปกติก็ได้มีการส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีระดับราคา และปริมาณการซื้อขายที่มีแนวโน้มผิดปกติเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า หรือ Trading alert ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 23 มกราคมปีนี้ เพื่อเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนในหุ้นที่มีการซื้อขายกระจุกตัวนั้น ถือว่าการขึ้น Trading Alert ได้ผลในระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าเมื่อมีการขึ้น Trading Alert เครื่องหมายแล้ว หลังจากนั้น ปริมาณการซื้อขายในหุ้นนั้นได้มีการชะลอตัวลง โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเข้าไป
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการขึ้น Trading Alert จำนวน 26 ครั้ง จากจำนวนหลักทรัพย์ทั้งหมด 23 ตัว แบ่งเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 17 ตัว และในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 6 ตัว โดยมีหุ้น 3 ตัวที่ถูกขึ้นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 คือ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TH และบริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) หรือ TSF