xs
xsm
sm
md
lg

กสิกรฯครองแชมป์ดิจิตอลแบงกิ้งตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าอีก30%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กสิกรฯวาดแผนรุกดิจิตอลแบงกิ้ง ชูแนวคิด "New Possibility Happens Kbank Digital Banking" เน้นเพิ่มช่องทาง-ความสะดวกการทำธุรกรรมให้เข้ากับไลฟ์ สไตล์ลูกค้า ตั้งเป้าปีหน้าเพิ่มจำนวนบัญชี 30% เป็น 6.5 ล้านบัญชี เพิ่มรายได้ค่าฟี 40% เป็น 1.4 พันล้าน

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกของการให้บริการดิจิตอลแบงกิ้งในช่วงต่อไป ภายใต้แนวคิด "New Possibility Happens Kbank Digital Banking" เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำและสร้างความแตกต่างของการให้บริการ โดยจะเน้นที่ความสะดวกรวดเร็วในใช้งาน ตอบโจทย์ความต้องการด้านlife styleของลูกค้า และมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง โดยในปีหน้าธนาคารตั้งเป้าเพิ่มจำนวนลูกค้า ดิจิตอลแบงกิ้งเพิ่มขึ้นเป็น 6.5 ล้านบัญชี จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 4.6 ล้านบัญชี หรือเพิ่มขึ้น30% และเพิ่มรายได้ธุรกรรมจากออนไลน์ เป็น 1,400 ล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการใช้ระบบออนไลน์แบงก์กิ้ง

"ในการทำธุรกิจดิจิตอลแบงกิ้ง ธนาคารไม่ได้คาดหวังเรื่องรายได้ค่าธรรมเนีนยมเป็นหลัก เพราะรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนนี้ถือว่าไม่มาก เมื่อเทียบกับรายได้ค่าธรรมเนียมรวมของธนาคารที่ 17,000 ล้านบาท แต่จะเน้นให้ลูกค้ามีช่องทางและมีความสะดวกในการทำธุรกรรมมากขึ้นเป็นหลัก"

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการดิจิตอลแบงก์กิ้งจำนวน 8 ล้านบัญชี โดยธนาคารกสิกรไทยครองอันดับหนึ่งในการบริการดิจิตอลแบงกิ้ง มีฐานลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 4.6 ล้านบัญชีคิดเป็น 60% มีสัดส่วนการทำรายการประมาณ 50% ของธุกรรมออนไลน์ และมีส่วนแบ่งการตลาดของยอดซื้อขายออนไลน์กว่า 50% ส่วนการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Kbank Live ในเฟซ บุค มีจำนวนสมาชิกอันดับ 1 ของธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย ด้วยจำนวนสมาชิกกว่า 340,000 ราย

สำหรับแนวโน้มของโลกดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในปี 3 ปีต่อจากนี้ไป กระแสหลักๆที่ประเมินกันไว้ ประกอบด้วย 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ SO(Social Media) หมายถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่จะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ,LO (Localized Marketing) เป็นรูปแบบกิจกรรมการตลาดที่เจาะจงตรงกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ,MO(Mobile) โทรศัพท์เคลื่อนที่จะเข้ามาแทนที่คอมพิวเตอร์ และ co (Commerce) คือการซื้อขายออนไลน์ในรูปแบบ Everywhere Commerce ซึ่งทำได้ทุกที่ทุกเวลา

นายปกรณ์กล่าวอีกว่า การทำธุรกิจออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาก ก็ไม่ได้หมายถึงว่าการทำธุรกรรมที่เคาน์เตอร์จะหมดไป เพียงแต่มีบทบาทที่เปลี่ยนไป จะเน้นทางด้านที่ปรึกษา มากกว่าการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยปัจจุบันสัดส่วนการทำธุรกรรมทางเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม ระบบออนไลน์อยู่ในระดับ 86%
กำลังโหลดความคิดเห็น