เกียรตินาคิน-ภัทร แจ้งการร่วมกิจการสำเร็จ หลังจาก 13 ก.ย.55 เป็นต้นไป เรียกรวมเป็น “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร” มุ่งประสานประโยชน์ และใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเพิ่มศักยภาพกลุ่มธุรกิจฯ พัฒนาประสิทธิภาพทุกด้านเพื่อประโยชน์สูงสุด
นายสุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายหลังการร่วมกิจการเกียรตินาคิน-ภัทร จะดำเนินธุรกิจหลักสองด้าน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจตลาดทุน ทั้งนี้ จากเดิมที่ธนาคารทำธุรกิจลูกค้าบุคคลเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจของภัทรจะเน้นที่ธุรกิจสถาบัน ลูกค้าบุคคลรายใหญ่ วาณิชธนกิจ และการลงทุน
โดยภายหลังการร่วมกิจการ กลุ่มธุรกิจฯ จะมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นภายใต้การนำของนายบรรยง พงษ์พานิช ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการธนาคารให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล (ประธานธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่) ในขณะที่ธุรกิจตลาดทุน จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ (ประธานธุรกิจตลาดทุน และกรรมการผู้จัดการใหญ่) โดยทั้งนายธวัชไชย และนายอภินันท์ จะรายงานตรงต่อนายบรรยง และร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิด
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในเรื่องการบริหารวัฒนธรรมองค์กร เป็นเรื่องธรรมดาที่ทั้งสององค์กรถึงแม้จะประกอบธุรกิจในตลาดการเงินเช่นเดียวกัน แต่ย่อมมีความแตกต่างทั้งด้านหลักการดำเนินธุรกิจ (BusinessPrinciples) รูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) วิธีการดำเนินธุรกิจ (Business Practices) รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ซึ่งแต่ละองค์กรต่างก็สร้างสรรค์สะสมมาตลอดระยะเวลาการประกอบธุรกิจที่ผ่านมาหลายสิบปี
“ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ผม และผู้บริหารของ “กลุ่มธุรกิจฯ” ตระหนักดีว่าภารกิจสำคัญเริ่มแรกคือ การประสาน หล่อหลอม และปรับตัวเข้าหากันในทุกด้านเพื่อกำหนด “หลักการ-รูปแบบ-วิธีการ-วัฒนธรรม” ร่วมกันของ “เกียรตินาคิน-ภัทร” ให้เป็นหลักเริ่มต้นของการพัฒนาองค์กรสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวได้ดี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมและการแข่งขันในอนาคต”
ทั้งนี้ ภายหลังการร่วมกิจการ กลุ่มธุรกิจฯ จะมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อการกระจายรายได้ที่ดี เพิ่มความมีเสถียรภาพของผลประกอบการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจฯ โดยในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ภายใต้การดูแลของนายธวัชไชย จะมีการปรับปรุงจุดยืน และทิศทางการดำเนินธุรกิจ มีการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ตลอดจนพิจารณาเพิ่มสายธุรกิจใหม่ที่เห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจที่ดี เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ด้านกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่าย และการระดมเงินฝากของธนาคารก็จะต้องสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของธุรกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรในภาพรวม อีกทั้งจะบริหารจัดการต้นทุนการปฏิบัติงาน และต้นทุนทางการเงินขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอย่างสมดุล
สำหรับด้านธุรกิจตลาดทุนภายใต้ความรับผิดชอบของนายอภินันท์ จะครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นลูกค้าสถาบัน และลูกค้าบุคคล โดยมุ่งเน้นที่จะขยายขอบเขต และขนาดการดำเนินธุรกิจ โดยใช้ทรัพยากรของกลุ่มธุรกิจฯ ที่เกิดจากการร่วมกิจการ อันได้แก่ จำนวนลูกค้าร่วม เงินกองทุน องค์ความรู้ และฐานข้อมูล ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ เครือข่ายสาขา ซึ่งจะส่งผลให้มีการเพิ่มขอบเขตการประกอบธุรกิจตามใบอนุญาตที่มีอยู่ให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการให้บริการ
ทั้งนี้ เกียรตินาคิน-ภัทร แจ้งการร่วมกิจการของธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (ธนาคาร) และบริษัท ทุนภัทรจำกัด (มหาชน) (ภัทร) แล้วเสร็จมีผลตามกฎหมายในวันที่ 13 กันยายน 2555 ส่งผลให้ธนาคารถือหุ้น ภัทร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 99.928 และธนาคารจะดำเนินการโอนหุ้นทั้งหมดที่ธนาคารถืออยู่ใน บล.เกียรตินาคิน และ บลจ.เกียรตินาคิน ให้แก่ภัทร ตามแผนการร่วมกิจการ ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการประมาณ ต้นปี 2556 และจากนี้ไป ธนาคารและภัทร ซึ่งรวมเรียกว่า “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร” (กลุ่มธุรกิจฯ หรือเกียรตินาคิน-ภัทร)
นายสุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายหลังการร่วมกิจการเกียรตินาคิน-ภัทร จะดำเนินธุรกิจหลักสองด้าน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจตลาดทุน ทั้งนี้ จากเดิมที่ธนาคารทำธุรกิจลูกค้าบุคคลเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจของภัทรจะเน้นที่ธุรกิจสถาบัน ลูกค้าบุคคลรายใหญ่ วาณิชธนกิจ และการลงทุน
โดยภายหลังการร่วมกิจการ กลุ่มธุรกิจฯ จะมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นภายใต้การนำของนายบรรยง พงษ์พานิช ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการธนาคารให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล (ประธานธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่) ในขณะที่ธุรกิจตลาดทุน จะอยู่ภายใต้การดำเนินการของ นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ (ประธานธุรกิจตลาดทุน และกรรมการผู้จัดการใหญ่) โดยทั้งนายธวัชไชย และนายอภินันท์ จะรายงานตรงต่อนายบรรยง และร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิด
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในเรื่องการบริหารวัฒนธรรมองค์กร เป็นเรื่องธรรมดาที่ทั้งสององค์กรถึงแม้จะประกอบธุรกิจในตลาดการเงินเช่นเดียวกัน แต่ย่อมมีความแตกต่างทั้งด้านหลักการดำเนินธุรกิจ (BusinessPrinciples) รูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) วิธีการดำเนินธุรกิจ (Business Practices) รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ซึ่งแต่ละองค์กรต่างก็สร้างสรรค์สะสมมาตลอดระยะเวลาการประกอบธุรกิจที่ผ่านมาหลายสิบปี
“ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ผม และผู้บริหารของ “กลุ่มธุรกิจฯ” ตระหนักดีว่าภารกิจสำคัญเริ่มแรกคือ การประสาน หล่อหลอม และปรับตัวเข้าหากันในทุกด้านเพื่อกำหนด “หลักการ-รูปแบบ-วิธีการ-วัฒนธรรม” ร่วมกันของ “เกียรตินาคิน-ภัทร” ให้เป็นหลักเริ่มต้นของการพัฒนาองค์กรสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวได้ดี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมและการแข่งขันในอนาคต”
ทั้งนี้ ภายหลังการร่วมกิจการ กลุ่มธุรกิจฯ จะมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อการกระจายรายได้ที่ดี เพิ่มความมีเสถียรภาพของผลประกอบการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจฯ โดยในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ภายใต้การดูแลของนายธวัชไชย จะมีการปรับปรุงจุดยืน และทิศทางการดำเนินธุรกิจ มีการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ตลอดจนพิจารณาเพิ่มสายธุรกิจใหม่ที่เห็นว่ามีโอกาสทางธุรกิจที่ดี เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ด้านกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่าย และการระดมเงินฝากของธนาคารก็จะต้องสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของธุรกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรในภาพรวม อีกทั้งจะบริหารจัดการต้นทุนการปฏิบัติงาน และต้นทุนทางการเงินขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจอย่างสมดุล
สำหรับด้านธุรกิจตลาดทุนภายใต้ความรับผิดชอบของนายอภินันท์ จะครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นลูกค้าสถาบัน และลูกค้าบุคคล โดยมุ่งเน้นที่จะขยายขอบเขต และขนาดการดำเนินธุรกิจ โดยใช้ทรัพยากรของกลุ่มธุรกิจฯ ที่เกิดจากการร่วมกิจการ อันได้แก่ จำนวนลูกค้าร่วม เงินกองทุน องค์ความรู้ และฐานข้อมูล ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ เครือข่ายสาขา ซึ่งจะส่งผลให้มีการเพิ่มขอบเขตการประกอบธุรกิจตามใบอนุญาตที่มีอยู่ให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการให้บริการ
ทั้งนี้ เกียรตินาคิน-ภัทร แจ้งการร่วมกิจการของธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (ธนาคาร) และบริษัท ทุนภัทรจำกัด (มหาชน) (ภัทร) แล้วเสร็จมีผลตามกฎหมายในวันที่ 13 กันยายน 2555 ส่งผลให้ธนาคารถือหุ้น ภัทร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 99.928 และธนาคารจะดำเนินการโอนหุ้นทั้งหมดที่ธนาคารถืออยู่ใน บล.เกียรตินาคิน และ บลจ.เกียรตินาคิน ให้แก่ภัทร ตามแผนการร่วมกิจการ ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการประมาณ ต้นปี 2556 และจากนี้ไป ธนาคารและภัทร ซึ่งรวมเรียกว่า “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน-ภัทร” (กลุ่มธุรกิจฯ หรือเกียรตินาคิน-ภัทร)