พันธบัตรภาครัฐบาลกระฉูด ยอดคงค้างทะลุ 6 ล้านล้าน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นำโดยพันธบัตรแบงก์ชาติส่วนรัฐวิสากิจแผ่วลง “ประสาร” บอกไม่ต้องห่วง ธปท.ดูดเงินมากไป หากรัฐบาลต้องการหาเงินลงทุนโครงการขนาดใหญ่ สภาพคล่องที่มีอยู่มีพอให้กู้เหลือๆ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขการออกพันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ ล่าสุด สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า ยอดคงค้างตราสารหนี้ภาครัฐ 6,048,448.76 ล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มียอดพันธบัตรในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หรือช่วงปลายปีก่อน เพิ่มขึ้น 409,398.37 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 7.2%
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มี.ค.2555 พันธบัตรภาครัฐที่มีปริมาณการออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พันธบัตรของ ธปท.ที่มียอดคงค้างพันธบัตร ทั้งสิ้น 2,913,387.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 271,665.12 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.28% ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรที่ ธปท.ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท
ขณะที่พันธบัตรของรัฐบาลนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการลงทุนเตรียมไว้ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าสู่ขั้นตอนของการระดมทุน มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ต้องการระดมทุนเพิ่ม การออกพันธบัตรส่วนใหญ่จึงเป็นการออกทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนดชำระคืน โดย ณ สิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พันธบัตรรัฐบาลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 2,737,341.35 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 110,713.24 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.21% อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ รัฐบาลได้มีการออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมอีก 40,000 ล้านบาท สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) ล่าสุด สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ มียอดคงค้างที่เป็นภาระของกองทุนฟื้นฟูเหลืออยู่ทั้งสิ้น 48,000 ล้านบาท
“เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจแทบไม่มีการระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรเลย โดยยอดคงค้างพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจมีทั้งสิ้น 309,720.40 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา 12,980 ล้านบาท หรือลดลงจากไตรมาสก่อน 4.02%”
ก่อนหน้านี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การออกพันธบัตรของ ธปท.เพื่อดูดซับสภาพคล่องของระบบที่ผ่านมา แม้จะอยู่ในระดับที่สูง และเป็นภาระดอกเบี้ยกับ ธปท.บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งสภาพคล่องในระบบขณะนี้ถือว่า อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และระบบการเงินมีเงินเพียงพอที่จะรองรับการระดมทุนของรัฐบาล ทั้งโครงการลงทุนสาธารณูปโภค และโครงการขนาดใหญ่
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขการออกพันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ ล่าสุด สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า ยอดคงค้างตราสารหนี้ภาครัฐ 6,048,448.76 ล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มียอดพันธบัตรในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หรือช่วงปลายปีก่อน เพิ่มขึ้น 409,398.37 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 7.2%
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน มี.ค.2555 พันธบัตรภาครัฐที่มีปริมาณการออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ พันธบัตรของ ธปท.ที่มียอดคงค้างพันธบัตร ทั้งสิ้น 2,913,387.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 271,665.12 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.28% ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรที่ ธปท.ออกมาเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท
ขณะที่พันธบัตรของรัฐบาลนั้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการลงทุนเตรียมไว้ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าสู่ขั้นตอนของการระดมทุน มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ต้องการระดมทุนเพิ่ม การออกพันธบัตรส่วนใหญ่จึงเป็นการออกทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนดชำระคืน โดย ณ สิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พันธบัตรรัฐบาลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 2,737,341.35 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 110,713.24 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.21% อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ รัฐบาลได้มีการออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมอีก 40,000 ล้านบาท สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) ล่าสุด สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ มียอดคงค้างที่เป็นภาระของกองทุนฟื้นฟูเหลืออยู่ทั้งสิ้น 48,000 ล้านบาท
“เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจแทบไม่มีการระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรเลย โดยยอดคงค้างพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจมีทั้งสิ้น 309,720.40 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา 12,980 ล้านบาท หรือลดลงจากไตรมาสก่อน 4.02%”
ก่อนหน้านี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การออกพันธบัตรของ ธปท.เพื่อดูดซับสภาพคล่องของระบบที่ผ่านมา แม้จะอยู่ในระดับที่สูง และเป็นภาระดอกเบี้ยกับ ธปท.บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งสภาพคล่องในระบบขณะนี้ถือว่า อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และระบบการเงินมีเงินเพียงพอที่จะรองรับการระดมทุนของรัฐบาล ทั้งโครงการลงทุนสาธารณูปโภค และโครงการขนาดใหญ่