ASTVผู้จัดการรายวัน - หวังต่างชาติเชื่อมั่นอีกครั้ง ปลัดคลังเผยกองทุนประกันภัยไม่รับซื้อเบี้ยประกันภัยเอง เน้นรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยเท่านั้น มั่นใจ 5 หมื่นล้านบาทเพียงพอรับความเสี่ยง
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การดำเนินการของกองทุนประกันภัยวงเงิน 5 หมื่นล้านบาทที่จัดตั้งตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 นั้น กองทุนจะไม่ดำเนินธุรกิจการรับประกันภัยโดยตรงกับผู้ประกอบการ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่และความเชี่ยวชาญพอ แต่จะเป็นการปรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยที่เป็นสมาชิก 60 รายอีกชั้นหนึ่ง และเชื่อว่าเงินทุนประเดิมในการจัดตั้งกองทุน 5 หมื่นล้านบาทนั้นจะเพียงพอต่อการรับประกันภัยพิบัติในประเทศได้ เพราะกองทุนจะมีการบริหารความเสี่ยงบางส่วนด้วยการไปรับทำประกันภัยต่ออีกชั้นหนึ่งด้วย
โดยในขณะนี้มีธุรกิจที่ลงทุนในไทยมีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านบาท มีการประกันภัยในระบบทั้งสิ้น 8 แสนล้านบาท คิดเป็นเบี้ยประกันภัยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท โดยที่เป็นเบี้ยประกันภัยพิบัติประมาณ 10% หรือประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตรงส่วนนี้เองที่เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัวหลังจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นกองทุนประกันภัยดังกล่าวจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดุแลให้เกิดการรับประกันภัย โดยที่เบี้ยประกันภัยไม่สูงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ทั่วโลกดำเนินการหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น
“เมื่อกองทุนเข้าไปรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยชั้นหนึ่ง ก็จะทำให้เบี้ยประกันภัยลดลง ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยลดลงได้ครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อกองทุนมีรายได้จากเบี้ยประกันมา ก็จะบริหารจัดการ เพื่อลดความเสี่ยงลง ด้วยการจัดสรรบางส่วนออกไปซื้อประกันภัยต่อกับบริษัทต่างชาติอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกองทุนจะบริหารจัดการภายใต้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท โดยยังไม่มีนโยบายที่จะขยายขนาดกองทุนถึง 1 แสนล้านบาทตามที่นายวีระพงษ์ รามางกูร ประธาน คณะกรรมการยุทธศสาตร์และบริหารจัดการน้ำ (กยน.) เพราะในอนาคตจะมีเบี้ยประกัน ขนาดกองทุนก็จะเพิ่มขึ้นเอง” นายอารีพงศ์กล่าว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังกล่าวว่า ยืนยันว่า ขนาดกองทุน 5 หมื่นล้านบาทนั้นมีมูลค่าเพียงพอจะสามารถรองรับความเสียหายจากภัยพิบัติได้ในอนาคต หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ ความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้น หรือมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งกองทุนจะช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่หลักประกันหรือประกันภัยเดิม ให้สามารถเข้ามาใช้บริการกองทุนได้ เพราะส่วนใหญ่กองทุนจะไปซื้อประกันภัยต่อเพื่อรองรับความเสี่ยง
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การดำเนินการของกองทุนประกันภัยวงเงิน 5 หมื่นล้านบาทที่จัดตั้งตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555 นั้น กองทุนจะไม่ดำเนินธุรกิจการรับประกันภัยโดยตรงกับผู้ประกอบการ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่และความเชี่ยวชาญพอ แต่จะเป็นการปรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยที่เป็นสมาชิก 60 รายอีกชั้นหนึ่ง และเชื่อว่าเงินทุนประเดิมในการจัดตั้งกองทุน 5 หมื่นล้านบาทนั้นจะเพียงพอต่อการรับประกันภัยพิบัติในประเทศได้ เพราะกองทุนจะมีการบริหารความเสี่ยงบางส่วนด้วยการไปรับทำประกันภัยต่ออีกชั้นหนึ่งด้วย
โดยในขณะนี้มีธุรกิจที่ลงทุนในไทยมีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านบาท มีการประกันภัยในระบบทั้งสิ้น 8 แสนล้านบาท คิดเป็นเบี้ยประกันภัยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท โดยที่เป็นเบี้ยประกันภัยพิบัติประมาณ 10% หรือประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตรงส่วนนี้เองที่เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัวหลังจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นกองทุนประกันภัยดังกล่าวจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดุแลให้เกิดการรับประกันภัย โดยที่เบี้ยประกันภัยไม่สูงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ทั่วโลกดำเนินการหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น
“เมื่อกองทุนเข้าไปรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยชั้นหนึ่ง ก็จะทำให้เบี้ยประกันภัยลดลง ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยลดลงได้ครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อกองทุนมีรายได้จากเบี้ยประกันมา ก็จะบริหารจัดการ เพื่อลดความเสี่ยงลง ด้วยการจัดสรรบางส่วนออกไปซื้อประกันภัยต่อกับบริษัทต่างชาติอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกองทุนจะบริหารจัดการภายใต้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท โดยยังไม่มีนโยบายที่จะขยายขนาดกองทุนถึง 1 แสนล้านบาทตามที่นายวีระพงษ์ รามางกูร ประธาน คณะกรรมการยุทธศสาตร์และบริหารจัดการน้ำ (กยน.) เพราะในอนาคตจะมีเบี้ยประกัน ขนาดกองทุนก็จะเพิ่มขึ้นเอง” นายอารีพงศ์กล่าว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังกล่าวว่า ยืนยันว่า ขนาดกองทุน 5 หมื่นล้านบาทนั้นมีมูลค่าเพียงพอจะสามารถรองรับความเสียหายจากภัยพิบัติได้ในอนาคต หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ ความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้น หรือมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งกองทุนจะช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่หลักประกันหรือประกันภัยเดิม ให้สามารถเข้ามาใช้บริการกองทุนได้ เพราะส่วนใหญ่กองทุนจะไปซื้อประกันภัยต่อเพื่อรองรับความเสี่ยง