ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังบี้แบงก์ชาติเร่งเจรจาแบงก์พาณิชย์เพิ่มค่งต๋งช่วยชำระหนี้กองทุนฟื้นฟู หลังไม่เห็นความคืบหน้า แนะเลิกอุ้มสภาพคล่องแบงก์ เลิกแทรกแซงบาทเพื่อลดต้นทุน สศค.ทำหนังสือแจ้งต่ออายุกองทุนฟื้นฟูออกไปแบบไม่มีกำหนด สบน.เตรียมออกพันธบัตรยืดหนี้ครบกำหนดหลังยังไม่ชัดเจนเรื่องรายได้ ธปท.
หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ....โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลนั้น แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงแนวทางในการหารายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท.ต้องเจรจาให้ธนาคารพาณิชย์ยอมเข้ามาช่วยชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูในรูปแบบค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น อาจจะมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์หรือสร้างแรงจูงใจด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบทางการเงิน รวมทั้งมีต่อรองเช่นให้ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น
การลดภาระการดูแลค่าเงินบาท ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลตลาด เพื่อลดภาระการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะเดียวกันต้องหาทางสร้างรายได้เข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หาก ธปท.กับธนาคารพาณิชย์หาข้อสรุปไม่ได้ ธปท.ก็ต้องลดต้นทุนการดำเนินงานของตนเองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสถาบันการเงิน เช่น ไม่ต้องแบกรับภาระสภาพคล่องส่วนเกินของสถาบันการเงินหรือโดยให้ธนาคารไปบริหารสภาพคล่องกันเอง
"แบงก์ชาติน่าจะลดภาระต้นทุนในการการดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินที่มีการออกพันธบัตรไปแล้วกว่า 4.5 ล้านล้านบาท การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินของระบบสถาบันการเงินประมาณ 7-8 แสนล้านบาท โดยการจ่ายดอกเบี้ย 3% ถือเป็นต้นโดยใช่เหตุ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ธปท.อาจจะต้องขายสินทรัพย์หรือขายหุ้นในสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆ ออกไปด้วย
***ต่ออายุกองทุนฟื้นฟูตลอดชีพ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ธปท.แล้วให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูออกไปจากเดิมที่จะต้องสิ้นสุดบทบาทลงปี 2556 ตามกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ การคงกองทุนฟื้นฟูไว้ต่อไปนั้นอย่างน้อยจนกว่าจะรับผิดชอบหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทหมด ซึ่งอาจจะเป็น 25 ปีตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ หรืออาจจะคงบทบาทหน้าที่ตลอดไป เนื่องจากหากยุบกองทุนฟื้นฟูไปจะไม่มีองค์กรที่เข้าไปดูแลช่วยเหลือสถาบันการเงินหากเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพราะสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ตั้งขึ้นนั้นดูแลเฉพาะผู้ฝากเงินเท่านั้น
"ขณะนี้แนวคิดของทางการก็ยังมองว่าสถาบันการเงินไทยล้มไม่ได้ เพราะอาจจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ จึงให้กองทุนฟื้นฟูทำหน้าที่ดูแลสถาบันการเงินต่อไป เพราะถือเป็นเครื่องมือเดียวของ ธปท.ในขณะนี้ ส่วนบัญชีสะสมเพื่อการชำระหนี้เอฟ 3 ที่กระทรวงการคลังดูแลก็จะต้อยุบทิ้งไปกลังจากมี พ.ร.ก.และโอนภาระการชำระหนี้ไปให้กองทุนฟื้นฟูและธปท.ดูแลแล้ว" นายจักรกฤศฏิ์กล่าวและว่า ต่อไปจะเหลือเพียงบัญชีกองทุนเพื่อการชำระหนี้เอฟ 1 ที่อยู่ในความดูแลของ ธปท.อยู่แล้ว เพื่อให้มีบัญชีเดียวต่อไปหากมีผลประโยชน์หรือรายได้เข้ามาก็จะมาเข้าบัญชีนี้ เพื่อเตรียมไว้จ่ายดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นที่จะทยอยครบกำหนด ซึ่งคงจะเริ่มต้นจากศูนย์
***สบน.เตรียมออกพันธบัตรยืดหนี้
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนในการหารายได้เข้ามาชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งใน พ.ร.ก.กำหนดให้ธปท.เป็นผู้รับปิดชอบในทันทีนั้น ในระหว่างที่หนี้เงินต้นจะครบกำหนดไถ่ถอน เช่นงวดวันที่ 18 ม.ค.นี้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทกระทรวงการคลังก็ต้องออกพันธบัตรมายืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อน รวมถึงพันธบัตรก้อนใหญ่ที่จะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2555 นี้ประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาทด้วย
"กระทรวงการคลังอาจจะต้องออกพันธบัตรมายืดหนี้ออกไปก่อนตามระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับที่ ธปท.จะหารายได้เข้ามาทยอยจ่ายหนี้คืนได้ โดยหากมีเงินจ่ายคืนเงินต้นบางส่วนก็อาจไม่จำเป็นต้องยืดหนี้ออกไปทั้งจำนวน ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของ ธปท.จะเจรจาตกลงกับแบงก์พาณิชย์เพื่อหาเงินเข้ามาได้มากน้อยและเร็วเพียงใด" ผอ.สบน.ระบุ
หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ....โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลนั้น แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงแนวทางในการหารายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท.ต้องเจรจาให้ธนาคารพาณิชย์ยอมเข้ามาช่วยชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูในรูปแบบค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น อาจจะมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์หรือสร้างแรงจูงใจด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบทางการเงิน รวมทั้งมีต่อรองเช่นให้ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น
การลดภาระการดูแลค่าเงินบาท ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลตลาด เพื่อลดภาระการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะเดียวกันต้องหาทางสร้างรายได้เข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หาก ธปท.กับธนาคารพาณิชย์หาข้อสรุปไม่ได้ ธปท.ก็ต้องลดต้นทุนการดำเนินงานของตนเองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสถาบันการเงิน เช่น ไม่ต้องแบกรับภาระสภาพคล่องส่วนเกินของสถาบันการเงินหรือโดยให้ธนาคารไปบริหารสภาพคล่องกันเอง
"แบงก์ชาติน่าจะลดภาระต้นทุนในการการดูดซับสภาพคล่องในระบบการเงินที่มีการออกพันธบัตรไปแล้วกว่า 4.5 ล้านล้านบาท การดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินของระบบสถาบันการเงินประมาณ 7-8 แสนล้านบาท โดยการจ่ายดอกเบี้ย 3% ถือเป็นต้นโดยใช่เหตุ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ธปท.อาจจะต้องขายสินทรัพย์หรือขายหุ้นในสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆ ออกไปด้วย
***ต่ออายุกองทุนฟื้นฟูตลอดชีพ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ธปท.แล้วให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูออกไปจากเดิมที่จะต้องสิ้นสุดบทบาทลงปี 2556 ตามกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ การคงกองทุนฟื้นฟูไว้ต่อไปนั้นอย่างน้อยจนกว่าจะรับผิดชอบหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทหมด ซึ่งอาจจะเป็น 25 ปีตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ หรืออาจจะคงบทบาทหน้าที่ตลอดไป เนื่องจากหากยุบกองทุนฟื้นฟูไปจะไม่มีองค์กรที่เข้าไปดูแลช่วยเหลือสถาบันการเงินหากเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพราะสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ตั้งขึ้นนั้นดูแลเฉพาะผู้ฝากเงินเท่านั้น
"ขณะนี้แนวคิดของทางการก็ยังมองว่าสถาบันการเงินไทยล้มไม่ได้ เพราะอาจจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ จึงให้กองทุนฟื้นฟูทำหน้าที่ดูแลสถาบันการเงินต่อไป เพราะถือเป็นเครื่องมือเดียวของ ธปท.ในขณะนี้ ส่วนบัญชีสะสมเพื่อการชำระหนี้เอฟ 3 ที่กระทรวงการคลังดูแลก็จะต้อยุบทิ้งไปกลังจากมี พ.ร.ก.และโอนภาระการชำระหนี้ไปให้กองทุนฟื้นฟูและธปท.ดูแลแล้ว" นายจักรกฤศฏิ์กล่าวและว่า ต่อไปจะเหลือเพียงบัญชีกองทุนเพื่อการชำระหนี้เอฟ 1 ที่อยู่ในความดูแลของ ธปท.อยู่แล้ว เพื่อให้มีบัญชีเดียวต่อไปหากมีผลประโยชน์หรือรายได้เข้ามาก็จะมาเข้าบัญชีนี้ เพื่อเตรียมไว้จ่ายดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นที่จะทยอยครบกำหนด ซึ่งคงจะเริ่มต้นจากศูนย์
***สบน.เตรียมออกพันธบัตรยืดหนี้
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนในการหารายได้เข้ามาชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งใน พ.ร.ก.กำหนดให้ธปท.เป็นผู้รับปิดชอบในทันทีนั้น ในระหว่างที่หนี้เงินต้นจะครบกำหนดไถ่ถอน เช่นงวดวันที่ 18 ม.ค.นี้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทกระทรวงการคลังก็ต้องออกพันธบัตรมายืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อน รวมถึงพันธบัตรก้อนใหญ่ที่จะครบกำหนดในปีงบประมาณ 2555 นี้ประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาทด้วย
"กระทรวงการคลังอาจจะต้องออกพันธบัตรมายืดหนี้ออกไปก่อนตามระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับที่ ธปท.จะหารายได้เข้ามาทยอยจ่ายหนี้คืนได้ โดยหากมีเงินจ่ายคืนเงินต้นบางส่วนก็อาจไม่จำเป็นต้องยืดหนี้ออกไปทั้งจำนวน ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของ ธปท.จะเจรจาตกลงกับแบงก์พาณิชย์เพื่อหาเงินเข้ามาได้มากน้อยและเร็วเพียงใด" ผอ.สบน.ระบุ