“ประสาร” สรุปมาตรการธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือลูกหนี้น้ำท่วม “พักหนี้ 6-12 เดือน ลดวงเงินผ่อนรายเดือน 1-2 ปี และให้สินเชื่อใหม่กอบกู้” เผย แบงก์ชาติผ่อนผันเกณฑ์ไม่ให้นับหนี้เสีย (NPL) แก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม “ธีระชัย” ฉุน ธปท.ถกแบงก์อืดอาด
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลต้องการให้ธนาคารพาณิชย์เอกชน ขยายมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น การขยายเวลาการพักหนี้ไปเป็น 6 เดือน ธปท.ได้มีการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ในระบบ ซึ่งตั้งแต่น้ำท่วมเป็นต้นมาจะประชุมกันทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เพื่อติดตามสถานการณ์ และได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าว และเท่าที่ทราบธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้มีมาตรการในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว
โดยเท่าที่มีการสรุป มาตรการที่ธนาคารพาณิชย์ที่ออกมาช่วยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ จะทำในลักษณะเดียวใน 3 ข้อหลัก คือ 1.ในช่วงแรกจะให้ลูกหนี้เลื่อนชำระหนี้ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย 6-12 เดือน ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาจากคุณภาพของลูกหนี้แต่ละรายเป็นสำคัญ 2.หลังน้ำลดจะมีการลดเงินค่างวดหรือการผ่อนชำระลงมาให้ 1-2 ปี และ 3.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู และเยียวยาการประกอบธุรกิจหลังน้ำลด
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการประเมินประเมินความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่มีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งรวมนิคมอุตสาหกรรมนวนครด้วยแล้วในเบื้องต้น พบว่า ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 6.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมองว่ามีปริมาณไม่มากนักเทียบกับสินเชื่อทั้งระบบ และเชื่อว่า ยอดสินเชื่อดังกล่าวจะไม่กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งหมด
“สิ่งที่ห่วงมากในขณะนี้ คือ ในระยะยาว ทำให้ฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สร้างมาเป็นเวลากว่า 40 ปีจะต้องชะงักไปไหม แต่เท่าที่สำรวจตัวเลขล่าสุดเมื่อวานนี้ (18 ต.ค.) พบว่า ระบบการผลิตอุตสาหกรรมไม่น่าจะหยุดชะงักไป เพราะอุตสาหกรรมการผลิตของอยุธยาทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน 17% ของอุตสาหกรรมการผลิตทั้งประเทศ ทำให้สัดส่วนอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 83% ซึ่งอยู่นอกจ.อยุธยาและยังมีฐานการผลิตสำคัญกระจายในพื้นที่อื่นๆ ด้วย อีกทั้งจังหวัดอยุธยามีภาคผลิตอุตสาหกรรมในสัดส่วนแค่ 6%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เท่านั้น ถือว่าไม่มากนัก”
ช่วยลูกหนี้น้ำท่วมไม่ให้เป็น NPL
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีผลต่อการดำเนินของภาคธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมบางประเภทสะดุดไปบ้าง แต่เชื่อว่าเป็นแค่ปัจจัยชั่วคราว ธปท.จึงประสานไปยังธนาคารพาณิชย์ให้ช่วยผ่อนผันในการประเมินลูกหนี้ที่ประสบปัญหา จากเกณฑ์ปัจจุบันที่เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่ชำระหนี้หรือค้างชำระ 1 เดือนให้ธนาคารพาณิชย์จับตาเป็นพิเศษ หรือค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปจะเข้าข่ายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แล้ว
อย่างไรก็ตาม มองว่า สินเชื่อที่ให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่มีปัญหาน้ำท่วมจะไม่เสียหายถึงขั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด และเชื่อว่าจะไม่เป็นการสร้างปัญหาให้แก่ธนาคารที่ปล่อยกู้เช่นกัน เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในระบบต่างมีเงินกองทุนและสภาพคล่องค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ คาดว่า แนวโน้มสินเชื่อช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะเร่งตัวขึ้น เพราะธปท.เชื่อว่าหลังจากน้ำลดจะเป็นช่วงของการกอบกู้ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้โรงงานหรือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ จะมีการขอสินเชื่อใหม่เพื่อการฟื้นฟูมากขึ้น
“ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาน้ำท่วมของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้มีทั้งการพักชำระหนี้ การยืดหนี้และการให้กู้ยืมเงินเพื่อกอบกู้ธุรกิจแล้ว ในบางธนาคารยังช่วยในการลดอัตราดอกเบี้ยให้ด้วย ซึ่งอัตราการลดของแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันออกไป” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
รมว.คลังฉุน ธปท.ถกแบงก์ไม่คืบ
วันเดียวกัน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยเบื้องต้นสถาบันการเงินของรับพร้อมจะพักหนี้หรือคิดดอกเบี้ย 0% นาน 3-4 เดือน และพร้อมจะปล่อยกู้ใหม่ แต่ที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าการแบงก์ชาติล่าสุดค่อนข้างผิดหวังที่แบงก์พาณิชย์ยังไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลลูกค้าเท่าที่ควร โดยช่วงนี้แม้จะผ่อนผันไม่ต้องชำระหนี้แต่ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินต่อไปทำให้ยอดหนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือไม่ตรงจุด โดยมีเพียงแบงก์กรุงไทยที่พร้อมดูแลลูกค้าทางนายกฯจึงขอให้ตนไปหารอกับสมาคมธนาคารไทยอีกครั้งซึ่งจะเรียกหารือในเร็วๆ นี้
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลต้องการให้ธนาคารพาณิชย์เอกชน ขยายมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น การขยายเวลาการพักหนี้ไปเป็น 6 เดือน ธปท.ได้มีการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ในระบบ ซึ่งตั้งแต่น้ำท่วมเป็นต้นมาจะประชุมกันทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เพื่อติดตามสถานการณ์ และได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าว และเท่าที่ทราบธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้มีมาตรการในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว
โดยเท่าที่มีการสรุป มาตรการที่ธนาคารพาณิชย์ที่ออกมาช่วยเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ จะทำในลักษณะเดียวใน 3 ข้อหลัก คือ 1.ในช่วงแรกจะให้ลูกหนี้เลื่อนชำระหนี้ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย 6-12 เดือน ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาจากคุณภาพของลูกหนี้แต่ละรายเป็นสำคัญ 2.หลังน้ำลดจะมีการลดเงินค่างวดหรือการผ่อนชำระลงมาให้ 1-2 ปี และ 3.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู และเยียวยาการประกอบธุรกิจหลังน้ำลด
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการประเมินประเมินความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่มีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งรวมนิคมอุตสาหกรรมนวนครด้วยแล้วในเบื้องต้น พบว่า ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 6.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมองว่ามีปริมาณไม่มากนักเทียบกับสินเชื่อทั้งระบบ และเชื่อว่า ยอดสินเชื่อดังกล่าวจะไม่กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งหมด
“สิ่งที่ห่วงมากในขณะนี้ คือ ในระยะยาว ทำให้ฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สร้างมาเป็นเวลากว่า 40 ปีจะต้องชะงักไปไหม แต่เท่าที่สำรวจตัวเลขล่าสุดเมื่อวานนี้ (18 ต.ค.) พบว่า ระบบการผลิตอุตสาหกรรมไม่น่าจะหยุดชะงักไป เพราะอุตสาหกรรมการผลิตของอยุธยาทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน 17% ของอุตสาหกรรมการผลิตทั้งประเทศ ทำให้สัดส่วนอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 83% ซึ่งอยู่นอกจ.อยุธยาและยังมีฐานการผลิตสำคัญกระจายในพื้นที่อื่นๆ ด้วย อีกทั้งจังหวัดอยุธยามีภาคผลิตอุตสาหกรรมในสัดส่วนแค่ 6%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เท่านั้น ถือว่าไม่มากนัก”
ช่วยลูกหนี้น้ำท่วมไม่ให้เป็น NPL
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีผลต่อการดำเนินของภาคธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมบางประเภทสะดุดไปบ้าง แต่เชื่อว่าเป็นแค่ปัจจัยชั่วคราว ธปท.จึงประสานไปยังธนาคารพาณิชย์ให้ช่วยผ่อนผันในการประเมินลูกหนี้ที่ประสบปัญหา จากเกณฑ์ปัจจุบันที่เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่ชำระหนี้หรือค้างชำระ 1 เดือนให้ธนาคารพาณิชย์จับตาเป็นพิเศษ หรือค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปจะเข้าข่ายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แล้ว
อย่างไรก็ตาม มองว่า สินเชื่อที่ให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่มีปัญหาน้ำท่วมจะไม่เสียหายถึงขั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด และเชื่อว่าจะไม่เป็นการสร้างปัญหาให้แก่ธนาคารที่ปล่อยกู้เช่นกัน เพราะปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในระบบต่างมีเงินกองทุนและสภาพคล่องค่อนข้างสูง
นอกจากนี้ คาดว่า แนวโน้มสินเชื่อช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะเร่งตัวขึ้น เพราะธปท.เชื่อว่าหลังจากน้ำลดจะเป็นช่วงของการกอบกู้ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้โรงงานหรือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ จะมีการขอสินเชื่อใหม่เพื่อการฟื้นฟูมากขึ้น
“ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาน้ำท่วมของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้มีทั้งการพักชำระหนี้ การยืดหนี้และการให้กู้ยืมเงินเพื่อกอบกู้ธุรกิจแล้ว ในบางธนาคารยังช่วยในการลดอัตราดอกเบี้ยให้ด้วย ซึ่งอัตราการลดของแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันออกไป” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
รมว.คลังฉุน ธปท.ถกแบงก์ไม่คืบ
วันเดียวกัน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยเบื้องต้นสถาบันการเงินของรับพร้อมจะพักหนี้หรือคิดดอกเบี้ย 0% นาน 3-4 เดือน และพร้อมจะปล่อยกู้ใหม่ แต่ที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าการแบงก์ชาติล่าสุดค่อนข้างผิดหวังที่แบงก์พาณิชย์ยังไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลลูกค้าเท่าที่ควร โดยช่วงนี้แม้จะผ่อนผันไม่ต้องชำระหนี้แต่ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินต่อไปทำให้ยอดหนี้ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือไม่ตรงจุด โดยมีเพียงแบงก์กรุงไทยที่พร้อมดูแลลูกค้าทางนายกฯจึงขอให้ตนไปหารอกับสมาคมธนาคารไทยอีกครั้งซึ่งจะเรียกหารือในเร็วๆ นี้