ASTVผู้จัดการออนไลน์- บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ “IVL” ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับ “WIT Beteiligungs GmbH” และ “ WellmanInternational Trading” โดยได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 100 ของกิจการรีไซเคิล
นายโซวิค รอย เชาว์ดูรี่ เลขานุการ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)หรือ “IVL” กล่าวว่า “IVL” ได้มีการลงนามในสัญญาการซื้อขายหุ้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 กับ WIT Beteiligungs GmbH และ WellmanInternational Trading ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Aurelius AG (“ผู้ขาย”) โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 100 ของกิจการ รีไซเคิล และผลิตเส้นใยของ Wellman International ในทวีปยุโรป บริษัทคาดว่า การซื้อกิจการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2554 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการขออนุมัติตามกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยธุรกิจนี้ ประกอบด้วย โรงงานจำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งประกอบด้วย โรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ตั้งอยู่ที่เมือง Mullagh สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 80,000 ตัน โรงงานรีไซเคิล ที่เมือง Spijik ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 45,000 ตัน และที่เมือง Verdun ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 28,000 ตันโรงงานที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถแปรรูปเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่เหลือใช้ (waste polyester) ให้เป็นเส้นใยรีไซเคิลได้ทั้งหมด ขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว จะถูกนำมาบดให้แตกละเอียดและผสมกับของเสียชนิดอื่นๆ เพื่อผลิตเส้นใยที่ใช้ในผลิตภัณท์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาชีวอนามัย (HygieneIndustry)
นายโซวิค กล่าวต่อว่า การซื้อกิจการในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทเข้าถึงความรู้ด้านการผสมรีไซเคิลเพ็ท (rPET) กับของเสียจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีของเสียเป็นศูนย์ (zero waste) และมีค่าการปล่อยคาร์บอนที่ต่ำ อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการแบบยั่งยืนของผู้บริโภคในการนำรีไซเคิลของที่ใช้แล้วให้กลับนำมาใช้ใหม่ได้ การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ยังส่งผลดีต่อบริษัทในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีการรีไซเคิลและการถ่ายทอดไปยังธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทในทวีปเอเชียอีกด้วย
ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่าของการได้มาซึ่งกิจการดังกล่าวข้างต้น ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งขนาดของรายการมีขนาดต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียน ในการได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน พ.ศ.2547 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม)
นายโซวิค รอย เชาว์ดูรี่ เลขานุการ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)หรือ “IVL” กล่าวว่า “IVL” ได้มีการลงนามในสัญญาการซื้อขายหุ้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 กับ WIT Beteiligungs GmbH และ WellmanInternational Trading ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Aurelius AG (“ผู้ขาย”) โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 100 ของกิจการ รีไซเคิล และผลิตเส้นใยของ Wellman International ในทวีปยุโรป บริษัทคาดว่า การซื้อกิจการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2554 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการขออนุมัติตามกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยธุรกิจนี้ ประกอบด้วย โรงงานจำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งประกอบด้วย โรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ตั้งอยู่ที่เมือง Mullagh สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 80,000 ตัน โรงงานรีไซเคิล ที่เมือง Spijik ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 45,000 ตัน และที่เมือง Verdun ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 28,000 ตันโรงงานที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถแปรรูปเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่เหลือใช้ (waste polyester) ให้เป็นเส้นใยรีไซเคิลได้ทั้งหมด ขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว จะถูกนำมาบดให้แตกละเอียดและผสมกับของเสียชนิดอื่นๆ เพื่อผลิตเส้นใยที่ใช้ในผลิตภัณท์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาชีวอนามัย (HygieneIndustry)
นายโซวิค กล่าวต่อว่า การซื้อกิจการในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทเข้าถึงความรู้ด้านการผสมรีไซเคิลเพ็ท (rPET) กับของเสียจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีของเสียเป็นศูนย์ (zero waste) และมีค่าการปล่อยคาร์บอนที่ต่ำ อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการแบบยั่งยืนของผู้บริโภคในการนำรีไซเคิลของที่ใช้แล้วให้กลับนำมาใช้ใหม่ได้ การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ยังส่งผลดีต่อบริษัทในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีการรีไซเคิลและการถ่ายทอดไปยังธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทในทวีปเอเชียอีกด้วย
ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่าของการได้มาซึ่งกิจการดังกล่าวข้างต้น ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งขนาดของรายการมีขนาดต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียน ในการได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน พ.ศ.2547 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม)