สรรพากรพร้อมรับนโยบายประชานิยม ระบุลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% ทำได้ พร้อมชง ครม.ออกพระราชกฤษฎีกาได้ทันที ส่วน VAT ควรปรับขึ้นเพื่อหารายได้ให้สอดคล้องกับรายจ่าย ย้ำ ขึ้น VAT ไม่ได้ซ้ำเติมคนจนแต่จัดเก็บจากคนมีรายได้สูงที่บริโภคมาก เตรียมยกเครื่องระบบจัดเก็บขยายฐานผู้เสียภาษีพร้อมสร้างแรงจูงใจให้ทำถูกกฎหมายหวังกระตุ้นการจัดเก็บเพิ่มอีกปีละ 20%
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรรมสรรพากรได้ศึกษานโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหางบประมาณสำหรับดำเนินโครงการต่างๆ ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขณะนี้อยู่ระหว่ารอการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่ชัดเจนก่อนจากนั้นจึงจะเสนอแผนการดำเนินการต่างๆ ที่กรมสรรพากรศึกษาตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยให้กับรัฐมนตรีคลังคนใหม่
โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญและสอดคล้องกับการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยสามารถลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ได้ทันทีในปีนี้และ ลดเหลือ 20% ได้ในปีหน้าเพื่อส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิตรวมทั้งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนมีเพียงประเทศไทยและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่จัดเก็บภาษีนิติบุคคล 30%
“การลดภาษีลงเหลือ 23% และ 20% นั้น เมื่อคำนวณดูคร่าวๆ แล้วจะทำให้กรมสรรพากรสูญรายได้ไปประมาณ 1.5 แสนล้านบาททันที แต่จากประมาณการจัดเก็บรายได้ของปีนี้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้เกินเป้าถึง 1.8 แสนล้านบาทไม่เป็นที่น่าหนักใจแต่อย่างใด ซึ่งขั้นตอนก็สามารถทำได้ทันทีโดยเสนอครม.ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาก็มีผลบังคับใช้ได้ทันที ส่วนการปรับขึ้นภาษีต้องแก้ในกฎหมายประมวลรัษฎากร” นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวว่า ส่วนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นั้น ตามหลักการเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวก็ควรที่จะปรับขึ้นได้แล้วเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับทั่วโลกที่ลดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาแต่มาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูง โดยในปัจจุบันมีเพียงประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เท่านั้น ที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าไทยที่ 5% ส่วนที่อื่นขั้นต่ำอยู่ที่ 10% และสูงสุดถึง 30%
“การเพิ่ม VAT ก็ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลจะเอายังไง เพราะเป็นเรื่องของนโยบาย แต่ในทางหลักการนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้เป็นการซ้ำเติมหรือขูดรีดคนจนตามที่ถูกกล่าวหาเพราะคนจนซื้อสินค้าส่วนใหญ่ตั้งแต่เริ่มตั้งกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ยกเว้นสินค้าที่ส่วนใหญ่คนจนซื้ออยู่แล้ว แต่คนที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มคือคนที่มีรายได้มากและมีการบริโภคในอัตราที่สูง” นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวว่า ขณะเดียวกัน กรมสรรพากรอยู่ระหว่าเตรียมยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษีทั้งระบบเพื่อขยายฐานการจัดเก็บภาษีและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูยอดธุรกรรมที่มีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาได้แบบเรียลไทม์จะทำให้ระบบการตรวจสอบภาษีมีความโปร่งใสมากขึ้นและเพิ่มข้อมูลพื้นฐานในการจัดเก็บที่ถูกต้องมากขึ้น
“ระบบนี้จะจูงใจให้คนต้องการเสียภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและขยายฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีทุกประเภทให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งหากดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนที่กรมสรรพากรวางไว้จะทำให้อัตราการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในปัจจุบันขยายตัวได้สูงถึง 20% ต่อปี เพื่อให้สามารถรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะดำเนินการในอนาคตได้” นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรรมสรรพากรได้ศึกษานโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหางบประมาณสำหรับดำเนินโครงการต่างๆ ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขณะนี้อยู่ระหว่ารอการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่ชัดเจนก่อนจากนั้นจึงจะเสนอแผนการดำเนินการต่างๆ ที่กรมสรรพากรศึกษาตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยให้กับรัฐมนตรีคลังคนใหม่
โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญและสอดคล้องกับการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยสามารถลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ได้ทันทีในปีนี้และ ลดเหลือ 20% ได้ในปีหน้าเพื่อส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิตรวมทั้งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนมีเพียงประเทศไทยและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่จัดเก็บภาษีนิติบุคคล 30%
“การลดภาษีลงเหลือ 23% และ 20% นั้น เมื่อคำนวณดูคร่าวๆ แล้วจะทำให้กรมสรรพากรสูญรายได้ไปประมาณ 1.5 แสนล้านบาททันที แต่จากประมาณการจัดเก็บรายได้ของปีนี้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้เกินเป้าถึง 1.8 แสนล้านบาทไม่เป็นที่น่าหนักใจแต่อย่างใด ซึ่งขั้นตอนก็สามารถทำได้ทันทีโดยเสนอครม.ออกประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาก็มีผลบังคับใช้ได้ทันที ส่วนการปรับขึ้นภาษีต้องแก้ในกฎหมายประมวลรัษฎากร” นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวว่า ส่วนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นั้น ตามหลักการเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวก็ควรที่จะปรับขึ้นได้แล้วเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับทั่วโลกที่ลดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาแต่มาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูง โดยในปัจจุบันมีเพียงประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เท่านั้น ที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าไทยที่ 5% ส่วนที่อื่นขั้นต่ำอยู่ที่ 10% และสูงสุดถึง 30%
“การเพิ่ม VAT ก็ขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลจะเอายังไง เพราะเป็นเรื่องของนโยบาย แต่ในทางหลักการนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้เป็นการซ้ำเติมหรือขูดรีดคนจนตามที่ถูกกล่าวหาเพราะคนจนซื้อสินค้าส่วนใหญ่ตั้งแต่เริ่มตั้งกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ยกเว้นสินค้าที่ส่วนใหญ่คนจนซื้ออยู่แล้ว แต่คนที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มคือคนที่มีรายได้มากและมีการบริโภคในอัตราที่สูง” นายสาธิต กล่าว
นายสาธิต กล่าวว่า ขณะเดียวกัน กรมสรรพากรอยู่ระหว่าเตรียมยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษีทั้งระบบเพื่อขยายฐานการจัดเก็บภาษีและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และกระทรวงพาณิชย์เพื่อดูยอดธุรกรรมที่มีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาได้แบบเรียลไทม์จะทำให้ระบบการตรวจสอบภาษีมีความโปร่งใสมากขึ้นและเพิ่มข้อมูลพื้นฐานในการจัดเก็บที่ถูกต้องมากขึ้น
“ระบบนี้จะจูงใจให้คนต้องการเสียภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและขยายฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีทุกประเภทให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งหากดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนที่กรมสรรพากรวางไว้จะทำให้อัตราการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในปัจจุบันขยายตัวได้สูงถึง 20% ต่อปี เพื่อให้สามารถรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะดำเนินการในอนาคตได้” นายสาธิต กล่าว