ศาลเห็นควรอนุญาตรวมคดีการฟ้องร้อง ระหว่าง “เสริมสุข” และ “เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย)” ระบุเหตุผล มีคู่ความและพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบชุดเดียวกัน อีกทั้งการรวมการพิจารณาคดีจะเป็นประโยชน์ และสะดวกแก่ทุกฝ่าย พร้อมนัดสืบพยานใหม่ 15 ส.ค.ส่วนกรณี “เอสบีเค”ให้เลื่อนการชี้สองสถานออกไป
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) (SSC) ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงความคืบหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับคดีความว่า คำร้องของ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด (ผู้ร้อง) ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งซึ่งได้ยื่นต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553 โดยบริษัทได้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลในวันที่ 17 มกราคม 2554 และศาลได้กำหนดสืบพยานระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม 2554 ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 ผู้ร้องได้ขอให้ศาลอนุญาตรวมการพิจารณาคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ต่อศาลแพ่งรวม 4 คดี กล่าวคือ คดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 คดีหมายเลขดำที่ 112/2554 และคดีหมายเลขดำที่ 862/2554 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553, ครั้งที่ 2/2553 และ ครั้งที่ 1/2554 ตามลำดับ และคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 โดยคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554
โดยศาลได้นัดไต่สวนคำร้องวันที่ 15 สิงหาคม 2554 แต่เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดบริษัทยังไม่ได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ซึ่งรายละเอียดคดีทั้ง 4 คดี โดยผู้ร้องได้แถลงต่อว่าเนื่องจากคดีทั้ง 4 คดี มีคู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเกิดจากเหตุเดียวกัน คือ เกิดจากการที่บริษัทตัดสิทธิ์ผู้ร้องไม่ให้ออกเสียงลงมติเกี่ยวกับแผนธุรกิจในอนาคตของบริษัทในการประชุมแต่ละครั้ง โดยยกเหตุว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ คดีทั้ง 4 คดี จึงมีความเกี่ยวข้องกันเพียงพอที่จะพิจารณาคดีร่วมกันได้
ทั้งนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อคดีทั้ง 4 คดี มีคู่ความและพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบชุดเดียวกัน อีกทั้งการรวมการพิจารณาคดีจะเป็นประโยชน์ และสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่าย ศาลจึงเห็นควรอนุญาตรวมการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องเข้ามาใหม่ บริษัท ยังไม่ได้ทำคำคัดค้านเข้ามา จึงเห็นควรให้โอกาสบริษัทยื่นคำคัดค้านเข้ามาก่อนแล้วจึงจะสั่งรวมการพิจารณาคดีไปในคราวเดียวกัน ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 และนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางในการสืบพยานใหม่อีกครั้งในวันที่ 15 สิงหาคม 2554
สำหรับคดีที่ บริษัท เอสบีเค เบฟเวอเรจ จำกัด (“เอสบีเค”) ยื่นฟ้องบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท และ นายศารัช โชคแจ่มใส ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 701/2554 ในฐานความผิดละเมิดจากการที่ศาลแพ่งมีสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามเอสบีเคใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 30 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้นัดชี้สองสถานในคดีดังกล่าว ซึ่งเอสบีเคได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตรวมการพิจารณาคดีเข้ากับคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ซึ่งเอสบีเคฟ้องบริษัท และกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติทั้งปวงของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท ส่วนรายละเอียดของคดี บริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยกล่าวอ้างว่า เนื่องจากคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 มีที่มาจากการกระทำละเมิดต่อเนื่องของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ บริษัท และ นายศารัช คู่ความบางฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน พยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกันและการรวมพิจารณาคดีจะเป็นการสะดวกแก่ศาลและคู่ความ
ขณะเดียวกัน บริษัทได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย เพื่อยกฟ้องของเอสบีเคในส่วนของบริษัท เนื่องจากนายทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดได้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ และอำนาจกรรมการของบริษัท แล้วซึ่งเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า บริษัทได้ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและนำผลการประชุมผู้ถือหุ้นไปดำเนินการตามกฎหมาย และดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามคำสั่งของศาล บริษัทจึงไม่มีการกระทำการใดซึ่งเป็นการละเมิดต่อเอสบีเคได้
ศาลเห็นว่า เอสบีเคไม่ได้อ้างส่งสำเนาคำฟ้องของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ให้ศาลตรวจจึงไม่อาจมีคำสั่งคำร้องขอรวมพิจารณาคดีได้จึงเห็นสมควรให้เลื่อนการชี้สองสถานออกไปเป็นวันที่ 15 สิงหาคม 2554 ซึ่งตรงกับวันนัดของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 และเห็นสมควรให้รอสั่งคำร้องขอรวมการพิจารณาคดี และคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในวันดังกล่าว โดยให้เอสบีเคส่งสำเนาคำฟ้องของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ต่อศาลภายใน 15 วัน
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) (SSC) ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงความคืบหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับคดีความว่า คำร้องของ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด (ผู้ร้อง) ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งซึ่งได้ยื่นต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553 โดยบริษัทได้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลในวันที่ 17 มกราคม 2554 และศาลได้กำหนดสืบพยานระหว่างวันที่ 5-14 กรกฎาคม 2554 ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 ผู้ร้องได้ขอให้ศาลอนุญาตรวมการพิจารณาคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ต่อศาลแพ่งรวม 4 คดี กล่าวคือ คดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 คดีหมายเลขดำที่ 112/2554 และคดีหมายเลขดำที่ 862/2554 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2553, ครั้งที่ 2/2553 และ ครั้งที่ 1/2554 ตามลำดับ และคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 โดยคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554
โดยศาลได้นัดไต่สวนคำร้องวันที่ 15 สิงหาคม 2554 แต่เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดบริษัทยังไม่ได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ซึ่งรายละเอียดคดีทั้ง 4 คดี โดยผู้ร้องได้แถลงต่อว่าเนื่องจากคดีทั้ง 4 คดี มีคู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเกิดจากเหตุเดียวกัน คือ เกิดจากการที่บริษัทตัดสิทธิ์ผู้ร้องไม่ให้ออกเสียงลงมติเกี่ยวกับแผนธุรกิจในอนาคตของบริษัทในการประชุมแต่ละครั้ง โดยยกเหตุว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ คดีทั้ง 4 คดี จึงมีความเกี่ยวข้องกันเพียงพอที่จะพิจารณาคดีร่วมกันได้
ทั้งนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อคดีทั้ง 4 คดี มีคู่ความและพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบชุดเดียวกัน อีกทั้งการรวมการพิจารณาคดีจะเป็นประโยชน์ และสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่าย ศาลจึงเห็นควรอนุญาตรวมการพิจารณาคดี แต่เนื่องจากคดีหมายเลขดำที่ 1821/2554ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องเข้ามาใหม่ บริษัท ยังไม่ได้ทำคำคัดค้านเข้ามา จึงเห็นควรให้โอกาสบริษัทยื่นคำคัดค้านเข้ามาก่อนแล้วจึงจะสั่งรวมการพิจารณาคดีไปในคราวเดียวกัน ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 4128/2553 และนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางในการสืบพยานใหม่อีกครั้งในวันที่ 15 สิงหาคม 2554
สำหรับคดีที่ บริษัท เอสบีเค เบฟเวอเรจ จำกัด (“เอสบีเค”) ยื่นฟ้องบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท และ นายศารัช โชคแจ่มใส ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 701/2554 ในฐานความผิดละเมิดจากการที่ศาลแพ่งมีสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามเอสบีเคใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 30 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้นัดชี้สองสถานในคดีดังกล่าว ซึ่งเอสบีเคได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตรวมการพิจารณาคดีเข้ากับคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ซึ่งเอสบีเคฟ้องบริษัท และกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติทั้งปวงของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2554 ของบริษัท ส่วนรายละเอียดของคดี บริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยกล่าวอ้างว่า เนื่องจากคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 มีที่มาจากการกระทำละเมิดต่อเนื่องของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ บริษัท และ นายศารัช คู่ความบางฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน พยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกันและการรวมพิจารณาคดีจะเป็นการสะดวกแก่ศาลและคู่ความ
ขณะเดียวกัน บริษัทได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย เพื่อยกฟ้องของเอสบีเคในส่วนของบริษัท เนื่องจากนายทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดได้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ และอำนาจกรรมการของบริษัท แล้วซึ่งเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า บริษัทได้ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและนำผลการประชุมผู้ถือหุ้นไปดำเนินการตามกฎหมาย และดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามคำสั่งของศาล บริษัทจึงไม่มีการกระทำการใดซึ่งเป็นการละเมิดต่อเอสบีเคได้
ศาลเห็นว่า เอสบีเคไม่ได้อ้างส่งสำเนาคำฟ้องของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ให้ศาลตรวจจึงไม่อาจมีคำสั่งคำร้องขอรวมพิจารณาคดีได้จึงเห็นสมควรให้เลื่อนการชี้สองสถานออกไปเป็นวันที่ 15 สิงหาคม 2554 ซึ่งตรงกับวันนัดของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 และเห็นสมควรให้รอสั่งคำร้องขอรวมการพิจารณาคดี และคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในวันดังกล่าว โดยให้เอสบีเคส่งสำเนาคำฟ้องของคดีหมายเลขดำที่ 917/2554 ต่อศาลภายใน 15 วัน