ประธาน ก.ล.ต.คนใหม่ เตรียมเดินหน้าพัฒนาตลาดทุนไทย เล็ง เพิ่มสภาพคล่องตราสารหนี้ -ให้ความรู้ทางการเงิน-การบริหารเงินออมผู้สูงอายุ ส่วนภาพลักษณ์ ขอให้ดูการกระทำเป็นสำคัญ
นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.เปิดเผยว่า จากการที่เข้ามารับตำแหน่งประธาน ก.ล.ต.ซึ่งหน้าที่หลักที่จะต้องดำเนินงาน คือ เรื่องนโยบายการกำกับดูแลตลาดทุน และการดูแลภายใน ก.ล.ต.ซึ่งมี 3 เรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการในเรื่องการพัฒนาตลาดทุน คือ
1.การเพิ่มสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ไทยให้สูงเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สภาพคล่องยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อให้ตราสารหนี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่ภาครัฐเอกชนเข้ามาการระดมทุน เพราะปัจจุบันยังมีสภาพคล่องน้อย โดยจะต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง
ประเด็น 2.เรื่องการบริหารเงินออมให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญถึงการออมเงินเพื่อการเกษียณเท่านั้น แต่ไม่ได้พูดถึงการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณ ดังนั้น จึงต้องการให้ผู้สูงวัยสามารถจัดการเงินส่วนนี้เพื่อดูแลตัวเองในระยะข้างหน้าด้วย
และ 3.การให้ความรู้ด้านการเงิน (financial educate) ซึ่งจะกว้างกว่าการให้ความรู้ด้านการลงทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต.ก็จะพยายามดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อให้นักลงทุนสนใจในลงทุนตราสารทางการเงินต่างๆ
สำหรับการประชุมบอร์ดคณะกรรมการ ก.ล.ต.ครั้งแรกของตนในเดือนนี้นั้น ก็จะมีการนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับคระกรรมการต่อไป
“เรื่องภาพพจน์ที่เสียไปก่อนหน้านี้นั้น ถ้าเราทำดีมันก็ดี เพราะมันอยู่ที่คน เรื่องของธรรมมาภิบาล ก็พูดกันไปเถอะ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องวัดที่การกระทำ เราจะมาพูดเองไม่ได้หรอก ต้องให้คนอื่นพูดถึงเรา” นางสาวนวพร กล่าว
นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.เปิดเผยว่า จากการที่เข้ามารับตำแหน่งประธาน ก.ล.ต.ซึ่งหน้าที่หลักที่จะต้องดำเนินงาน คือ เรื่องนโยบายการกำกับดูแลตลาดทุน และการดูแลภายใน ก.ล.ต.ซึ่งมี 3 เรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการในเรื่องการพัฒนาตลาดทุน คือ
1.การเพิ่มสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ไทยให้สูงเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สภาพคล่องยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อให้ตราสารหนี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่ภาครัฐเอกชนเข้ามาการระดมทุน เพราะปัจจุบันยังมีสภาพคล่องน้อย โดยจะต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง
ประเด็น 2.เรื่องการบริหารเงินออมให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญถึงการออมเงินเพื่อการเกษียณเท่านั้น แต่ไม่ได้พูดถึงการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณ ดังนั้น จึงต้องการให้ผู้สูงวัยสามารถจัดการเงินส่วนนี้เพื่อดูแลตัวเองในระยะข้างหน้าด้วย
และ 3.การให้ความรู้ด้านการเงิน (financial educate) ซึ่งจะกว้างกว่าการให้ความรู้ด้านการลงทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต.ก็จะพยายามดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อให้นักลงทุนสนใจในลงทุนตราสารทางการเงินต่างๆ
สำหรับการประชุมบอร์ดคณะกรรมการ ก.ล.ต.ครั้งแรกของตนในเดือนนี้นั้น ก็จะมีการนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับคระกรรมการต่อไป
“เรื่องภาพพจน์ที่เสียไปก่อนหน้านี้นั้น ถ้าเราทำดีมันก็ดี เพราะมันอยู่ที่คน เรื่องของธรรมมาภิบาล ก็พูดกันไปเถอะ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องวัดที่การกระทำ เราจะมาพูดเองไม่ได้หรอก ต้องให้คนอื่นพูดถึงเรา” นางสาวนวพร กล่าว