ภาคอสังหาฯค้านโฉนดชุมชน ระบุผู้บุกรุกเอาความจนมาเป็นข้ออ้างปล้นที่ดินผู้อื่น แถมไม่จนจริงเผยแทบทุกหลังคามีเครื่องใช้ไฟฟ้าครบ บางรายมีรถยนต์ใช้ บางชุมชนผู้อิทธิพลเป็นเจ้าของเอาคนจนบังหน้า ด้านนักวิชาการยันคนได้โฉนดจนไม่จริง ชี้ทำลายระบบโฉนดที่ดิน - ระบอบประชาธิปไตยเพื่อกฎหมู่
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า กรณีที่มีชาวชุมชน 4 ภาคบุกยึดที่ดินของเอกชนในหลายพื้นที่ และยังมีการแจกโฉนดชุมชนให้แก่ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นคนจนนั้นไม่เห็นด้วย เพราะในความเป็นจริงประชาชนเหล่านั้นไม่ได้เป้นคนจนจริงๆ บางชุมชนมีการบุกยึดคูคลอง จับจองที่ดินปลูกสร้างบ้านเป้นชุมชน สุดท้ายกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เป็นที่ซ่องสุมยาเสพติด อบายมุขและสิ่งผิดกฏหมาย บางชุมชนมีผู้มีอิทธิพลเป็นเจ้าของโดยใช้ประชาชนบังหน้าในการบุกรุกที่ดิน และเป็นผู้เก็บรายได้ค่าเช่าเข้ากระเป๋าตนเอง
“อย่าเอาประชานิยมมาใช้พร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาภายหลัง บางคนเอาความจนมาเป็นข้ออ้างเพื่อยึดที่ดินคนอื่น เพราะถ้าไปดูจริงๆจะรู้ว่าบ้านของคนพวกนี้ทุกหลัง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้เกือบทุกอย่าง มีรถจักรยานยนต์ บางหลังมีรถยนต์ใช้ รัฐบาลไม่ควรไปสนับสนุนให้คนพวกนี้ยึดเอาที่ดินคนอื่น เพราะถ้าคนพวกนี้อยู่ในที่ดินโดยไม่มีใครขัดขวางเมื่อครบ 10 ปี ก็จะครอบครองโดยปรปัก หรือครอบครองโดยเปิดเผย ได้รับโฉนดที่ดินไปฟรีๆ” นายธำรงกล่าวและว่า
ยกตัวอย่างที่ดินของจอมพลประภาส จารุเสถียร ย่านสวนหลวง ร.9 จำนวนกว่า 7 ไร่ ถูกกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นจนจนบุกรุกเข้าปลูกกระท่อมหรือบ้านบนที่ดิน ลูกชายไปขับไล่ก็ไม่ออก สุดท้ายผ่านมาเกือบ 10 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ด้านดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด กล่าวว่า หลายคนเข้าใจผิดว่าโฉนดชุมชนเป็นแนวทางการช่วยเหลือคนจน หรือเป็นนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจที่สวยหรู แต่แท้จริงกลับตรงข้าม คนที่ได้รับความช่วยเหลือไม่ใช่คนจน แต่เป็นอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ได้โอกาสเอาสมบัติส่วนรวมของชาติไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน นอกจากนี้โฉนดชุมชนยังถือเป็นการปลูกฝังพิษร้ายอนาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างน่าอันตราย
กรณีชุมชนคลองโยง ซึ่งโครงการแรกของการแจกโฉนดชุมชน คนที่มารับประโยชน์ไม่ได้เป็นคนยากจนดังที่อ้าง เพราะจากผลวิจัยพบว่า ชาวบ้านชุมชนคลองโยง มีรายได้หัวละ 6,278 บาท โดยที่ครัวเรือนหนึ่งมีประชากรเฉลี่ย 4.5 คน ก็เท่ากับมีรายได้เดือนละประมาณ 28,000 บาท ซึ่งรายได้ขนาดนี้สามารถซื้อบ้านในตลาดเปิดได้ ณ ราคา 2 ล้านบาท (โดยสมมติให้กู้ได้ 85% ของราคาบ้าน ณ อัตราดอกเบี้ย 6% ผ่อน 20 ปี) นอกจากนี้ทุกครอบครัวยังมีรถปิกอัพ 1.5 คัน และมีรถยนต์ 1.1 คัน แม้แต่ชาวบ้านในชุมชนแออัดบุกรุก ซึ่งผู้เขียนเคยสำรวจไว้ให้กับองค์การสหประชาชาติก็พบมีรายได้ระดับกลาง ในบ้านมีสิ่งอำนวยสะดวกแทบจะครบถ้วน ไม่ใช่คนยากจนดังที่เข้าใจ
โครงการโฉนดชุมชนจึงไม่ได้พุ่งเป้าไปช่วยคนจน เช่น ชาวนายากจนที่เช่านาหรือขาดที่ทำกินจริง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป รัฐบาลควรสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยให้กับคนเร่ร่อนไร้บ้านในเมือง คนงานก่อสร้าง คนงานตัวเล็กตัวน้อย คนจนในเมืองที่ต้องเช่าที่ซุกหัวนอนถูก ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แทบไร้คนสนใจในสังคม คนเหล่านี้ต่างหากที่รัฐจำเป็นเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนโดยเฉพาะ แต่โดยที่คนเหล่านี้อาจไม่มีกระทั่งบ้านเลขที่ จึงไม่อาจเป็นกลุ่มก้อนที่ฝ่ายการเมืองจะไปหาเสียงด้วยการล่อด้วยโฉนดชุมชน
“จู่ ๆ วันหนึ่ง ชาวบ้านชุมชนคลองโยงก็เหมือนถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 กันครอบครัวละหลายใบ เพราะถือว่าได้ที่ดินไปเปล่า ๆ แม้ชาวบ้านจะไม่ได้เป็นโฉนดที่ดินเฉพาะตน แต่ก็ได้ที่ดินไปใช้สอยกันชั่วลูกชั่วหลาน”
โฉนดชุมชนถือเป็นกลอุบายที่อ้างความจนมาเอาสมบัติของชาติไป ในกรณีปกติ กว่าประชาชนทั่วไปจะมีบ้านเป็นของตนเองได้ ต่างจะต้องเก็บหอมรอมริบ ถ้าจะซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้ใจกลางเมืองก็จะซื้อได้แค่ห้องชุดขนาดเท่าแมวดิ้นตาย ถ้าจะซื้อทาวน์เฮาส์หรือบ้านเดี่ยวก็ต้องออกไปไกลถึงชานเมือง จะไปทำงาน ก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืด กว่าจะกลับถึงบ้านแสนรักที่ลงทุนทั้งชีวิตซื้อไว้ ก็มืดค่ำ รุ่งขึ้นก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืดอีก วนเวียนยากลำบากอยู่อย่างนี้
ดร.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับชุมชนแออัดที่รัฐบาลจะนำมาเข้าโครงการโฉนดชุมชนนั้น เป็นชุมชนบุกรุกผิดกฎหมายที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบรถไฟฟ้า เจ้าของบ้านในชุมชนเหล่านี้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่ามาหลายสิบปี ประหยัดเงินส่วนตัวไปได้หลายแสนบาท ราวหนึ่งในสามยังเก็บกินประโยชน์จากการให้เช่าบ้านราคาดี เดิมทีหากชุมชนเหล่านี้สามารถเช่าที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย พวกเขาก็ดีใจหายแล้ว แต่พวกเขากลับจะโชคดีดั่งถูกรางวัล จะได้สมบัติของแผ่นดินไปในนามโฉนดชุมชน
ทั้งนี้ โฉนดชุมชนนี้ยังทำลายหลักการออกโฉนดที่ดินที่ออกโดยพระพุทธเจ้าหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2444 หรือร้อยกว่าปีก่อน และเป็นระบบโฉนดที่ดินที่พัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบโฉนดที่ดินที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โฉนดที่ดินเป็นการให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์แก่ผู้ถือครองเพื่อให้ไว้เป็นทุนทรัพย์ สามารถจำนอง จำหน่ายจ่ายโอนได้ในยามจำเป็น หรือหากมีฐานะดีขึ้นก็สามารถที่จะซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นการสร้างความไร้ขื่อแปของการจัดการที่ดิน แทนที่ชาวบ้านจะสามารถซื้อที่ดินเป็นทุนของตนเองแบบโฉนดทั่วไปเช่นคนอื่น กลับได้โฉนดชุมชนกำมะลอนี้ขึ้น
โดยสรุปแล้ว โฉนดชุมชนหาใช่นวัตกรรมการบริหารรัฐกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ไม่ใช่คนจนแต่เป็นคนส่วนน้อย เช่น ชาวนาชั้นกลาง ชาวชุมชุนบุกรุกที่หลายคนมีบ้านให้เช่า หรือแม้แต่ชาวเขาที่ไม่ได้ยากจน โฉนดชุมชนยังทำลายระบบโฉนดที่ดินและทำลายระบอบประชาธิปไตยเพื่อกฎหมู่ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรดำเนินการออกโฉนดลักษณะนี้อีกต่อไป
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า กรณีที่มีชาวชุมชน 4 ภาคบุกยึดที่ดินของเอกชนในหลายพื้นที่ และยังมีการแจกโฉนดชุมชนให้แก่ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นคนจนนั้นไม่เห็นด้วย เพราะในความเป็นจริงประชาชนเหล่านั้นไม่ได้เป้นคนจนจริงๆ บางชุมชนมีการบุกยึดคูคลอง จับจองที่ดินปลูกสร้างบ้านเป้นชุมชน สุดท้ายกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เป็นที่ซ่องสุมยาเสพติด อบายมุขและสิ่งผิดกฏหมาย บางชุมชนมีผู้มีอิทธิพลเป็นเจ้าของโดยใช้ประชาชนบังหน้าในการบุกรุกที่ดิน และเป็นผู้เก็บรายได้ค่าเช่าเข้ากระเป๋าตนเอง
“อย่าเอาประชานิยมมาใช้พร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาภายหลัง บางคนเอาความจนมาเป็นข้ออ้างเพื่อยึดที่ดินคนอื่น เพราะถ้าไปดูจริงๆจะรู้ว่าบ้านของคนพวกนี้ทุกหลัง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้เกือบทุกอย่าง มีรถจักรยานยนต์ บางหลังมีรถยนต์ใช้ รัฐบาลไม่ควรไปสนับสนุนให้คนพวกนี้ยึดเอาที่ดินคนอื่น เพราะถ้าคนพวกนี้อยู่ในที่ดินโดยไม่มีใครขัดขวางเมื่อครบ 10 ปี ก็จะครอบครองโดยปรปัก หรือครอบครองโดยเปิดเผย ได้รับโฉนดที่ดินไปฟรีๆ” นายธำรงกล่าวและว่า
ยกตัวอย่างที่ดินของจอมพลประภาส จารุเสถียร ย่านสวนหลวง ร.9 จำนวนกว่า 7 ไร่ ถูกกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นจนจนบุกรุกเข้าปลูกกระท่อมหรือบ้านบนที่ดิน ลูกชายไปขับไล่ก็ไม่ออก สุดท้ายผ่านมาเกือบ 10 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ด้านดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด กล่าวว่า หลายคนเข้าใจผิดว่าโฉนดชุมชนเป็นแนวทางการช่วยเหลือคนจน หรือเป็นนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจที่สวยหรู แต่แท้จริงกลับตรงข้าม คนที่ได้รับความช่วยเหลือไม่ใช่คนจน แต่เป็นอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ได้โอกาสเอาสมบัติส่วนรวมของชาติไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน นอกจากนี้โฉนดชุมชนยังถือเป็นการปลูกฝังพิษร้ายอนาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างน่าอันตราย
กรณีชุมชนคลองโยง ซึ่งโครงการแรกของการแจกโฉนดชุมชน คนที่มารับประโยชน์ไม่ได้เป็นคนยากจนดังที่อ้าง เพราะจากผลวิจัยพบว่า ชาวบ้านชุมชนคลองโยง มีรายได้หัวละ 6,278 บาท โดยที่ครัวเรือนหนึ่งมีประชากรเฉลี่ย 4.5 คน ก็เท่ากับมีรายได้เดือนละประมาณ 28,000 บาท ซึ่งรายได้ขนาดนี้สามารถซื้อบ้านในตลาดเปิดได้ ณ ราคา 2 ล้านบาท (โดยสมมติให้กู้ได้ 85% ของราคาบ้าน ณ อัตราดอกเบี้ย 6% ผ่อน 20 ปี) นอกจากนี้ทุกครอบครัวยังมีรถปิกอัพ 1.5 คัน และมีรถยนต์ 1.1 คัน แม้แต่ชาวบ้านในชุมชนแออัดบุกรุก ซึ่งผู้เขียนเคยสำรวจไว้ให้กับองค์การสหประชาชาติก็พบมีรายได้ระดับกลาง ในบ้านมีสิ่งอำนวยสะดวกแทบจะครบถ้วน ไม่ใช่คนยากจนดังที่เข้าใจ
โครงการโฉนดชุมชนจึงไม่ได้พุ่งเป้าไปช่วยคนจน เช่น ชาวนายากจนที่เช่านาหรือขาดที่ทำกินจริง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป รัฐบาลควรสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยให้กับคนเร่ร่อนไร้บ้านในเมือง คนงานก่อสร้าง คนงานตัวเล็กตัวน้อย คนจนในเมืองที่ต้องเช่าที่ซุกหัวนอนถูก ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แทบไร้คนสนใจในสังคม คนเหล่านี้ต่างหากที่รัฐจำเป็นเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนโดยเฉพาะ แต่โดยที่คนเหล่านี้อาจไม่มีกระทั่งบ้านเลขที่ จึงไม่อาจเป็นกลุ่มก้อนที่ฝ่ายการเมืองจะไปหาเสียงด้วยการล่อด้วยโฉนดชุมชน
“จู่ ๆ วันหนึ่ง ชาวบ้านชุมชนคลองโยงก็เหมือนถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 กันครอบครัวละหลายใบ เพราะถือว่าได้ที่ดินไปเปล่า ๆ แม้ชาวบ้านจะไม่ได้เป็นโฉนดที่ดินเฉพาะตน แต่ก็ได้ที่ดินไปใช้สอยกันชั่วลูกชั่วหลาน”
โฉนดชุมชนถือเป็นกลอุบายที่อ้างความจนมาเอาสมบัติของชาติไป ในกรณีปกติ กว่าประชาชนทั่วไปจะมีบ้านเป็นของตนเองได้ ต่างจะต้องเก็บหอมรอมริบ ถ้าจะซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้ใจกลางเมืองก็จะซื้อได้แค่ห้องชุดขนาดเท่าแมวดิ้นตาย ถ้าจะซื้อทาวน์เฮาส์หรือบ้านเดี่ยวก็ต้องออกไปไกลถึงชานเมือง จะไปทำงาน ก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืด กว่าจะกลับถึงบ้านแสนรักที่ลงทุนทั้งชีวิตซื้อไว้ ก็มืดค่ำ รุ่งขึ้นก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืดอีก วนเวียนยากลำบากอยู่อย่างนี้
ดร.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับชุมชนแออัดที่รัฐบาลจะนำมาเข้าโครงการโฉนดชุมชนนั้น เป็นชุมชนบุกรุกผิดกฎหมายที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบรถไฟฟ้า เจ้าของบ้านในชุมชนเหล่านี้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่ามาหลายสิบปี ประหยัดเงินส่วนตัวไปได้หลายแสนบาท ราวหนึ่งในสามยังเก็บกินประโยชน์จากการให้เช่าบ้านราคาดี เดิมทีหากชุมชนเหล่านี้สามารถเช่าที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย พวกเขาก็ดีใจหายแล้ว แต่พวกเขากลับจะโชคดีดั่งถูกรางวัล จะได้สมบัติของแผ่นดินไปในนามโฉนดชุมชน
ทั้งนี้ โฉนดชุมชนนี้ยังทำลายหลักการออกโฉนดที่ดินที่ออกโดยพระพุทธเจ้าหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2444 หรือร้อยกว่าปีก่อน และเป็นระบบโฉนดที่ดินที่พัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบโฉนดที่ดินที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โฉนดที่ดินเป็นการให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์แก่ผู้ถือครองเพื่อให้ไว้เป็นทุนทรัพย์ สามารถจำนอง จำหน่ายจ่ายโอนได้ในยามจำเป็น หรือหากมีฐานะดีขึ้นก็สามารถที่จะซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นการสร้างความไร้ขื่อแปของการจัดการที่ดิน แทนที่ชาวบ้านจะสามารถซื้อที่ดินเป็นทุนของตนเองแบบโฉนดทั่วไปเช่นคนอื่น กลับได้โฉนดชุมชนกำมะลอนี้ขึ้น
โดยสรุปแล้ว โฉนดชุมชนหาใช่นวัตกรรมการบริหารรัฐกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ไม่ใช่คนจนแต่เป็นคนส่วนน้อย เช่น ชาวนาชั้นกลาง ชาวชุมชุนบุกรุกที่หลายคนมีบ้านให้เช่า หรือแม้แต่ชาวเขาที่ไม่ได้ยากจน โฉนดชุมชนยังทำลายระบบโฉนดที่ดินและทำลายระบอบประชาธิปไตยเพื่อกฎหมู่ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรดำเนินการออกโฉนดลักษณะนี้อีกต่อไป