ตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกับ ธปท.-โบรกเกอร์หุ้น-อนุพันธ์-บจ.รวมกว่า 199 หน่วยงาน ซ้อมแผนบีซีพีรองรับมือเหตุการณ์รุนแรง ส่งผลพนักงานเข้าตึกทำงานไม่ได้ เพื่อมั่นใจว่าระบบการซื้อขายดำเนินการได้ตามปกติ ด้านผู้บริหารระดับสูงวงการหลักทรัพย์ เผย ก่อนหน้านี้ มีหลายบริษัทกังวลหากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะระบบชำระราคา
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) บริษัทสมาชิกตลาดอนุพันธ์ บริษัทจดทะเบียน และ สมาชิกสำนักหักบัญชีรวม 199 หน่วยงาน ร่วมซ้อมปฏิบัติการตามแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง Business Continuity Plan (BCP) ประจำปี หรือแผนการรองรับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ตลท.เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ และอื่นๆ เป็นเหตุให้พนักงานไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานในอาคารได้
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และระบบงานสำคัญ จะไม่ได้รับผลกระทบหากมีเหตุการณ์รุนแรง โดยพร้อมปฏิบัติงานและสามารถดำเนินธุรกิจ ได้ตามปกติได้เร็วที่สุด เพื่อมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการจัดการด้านความเสี่ยงที่ทัดเทียมมาตรฐานสากล และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง โดยการซักซ้อมแผนดังกล่าวเป็นการซักซ้อมประจำปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่เกี่ยวกับกรณีที่ปีที่ผ่านมามีเหตุเผาอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการซักซ้อมดังกล่าว
“ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจอะไร ซึ่งไม่เฉพาะแค่ตลาดหลักทรัพย์ฯเท่านั้น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยรวมทั้งโบรกเกอร์ต่างๆ ก็ต้องมีแผนสำรองไว้เช่นกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สุด เราต้องซักซ้อม BCP ประจำปีในวันที่ 25 มิ.ย.และวางแผนว่า หากเกิดเหตุจนทำให้พนักงานและผู้บริหารเข้าตึกไม่ได้ แล้วจะไปปฏิบัติงานที่ไหน ส่วนระบบการซื้อขายเราไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีระบบสำรองทำให้การซื้อขายเดินหน้าได้ต่อเนื่อง”นายจรัมพร กล่าว
นอกจากนี้ ได้มีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงระบบการชำระเงินและส่งมอบหลักทรัพย์ (เคลียริ่ง เซ็ทเทิลเม้นท์) ในกรณีที่มีการประกาศวันหยุดเพิ่มขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปโดยกำหนด ให้ยึดหลักระยะเวลาในการเคลียริ่ง เซ็ทเทิลเม้นท์ คือ T+3 หรือ 3 วันทำการนับจากวันที่มีการซื้อขาย โดยหากมีการประกาศวันหยุดเพิ่มก็จะขยับหรือบวกวันเพิ่มตามวันหยุด โดยจะมีการออกเป็นประกาศเพื่อถือปฎิบัติและให้เข้าใจตรงกัน
ผู้บริหารระดับสูงในวงการหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาหลายบริษัทกังวล ว่า หากเกิดเหตุวุ่นวายทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโบรกเกอร์จะร่วมกันมีแผนรับมืออย่างไร โดยเฉพาะมาตรการดูแลระบบการซื้อขายในตลาดหหุ้นและระบบชำระราคาฯ ซึ่งความกังวลดังกล่าวมาจากเหตุรุนแรงปีที่แล้ว ที่มีการวางเพลิงธนาคารและ อาคารตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้ ระบบซื้อขาย (Trading) และระบบชำระราคาฯ เกิดปัญหา แต่ระบบซื้อขายสามารถแก้ไขได้ทันที เพราะมีศูนย์สำรองอยู่แล้ว แต่ระบบชำระราคาฯ เกิดปัญหา
ทั้งนี้ จากขณะนั้นยังไม่ได้มีข้อตกลงกันว่า หากเกิดเหตุฉุกเฉินและทำให้ต้องหยุดการซื้อขายในบางช่วงของวันหรือบางวันรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดเพิ่มเติมซึ่งทำให้ระยะเวลาในการชำระราคาฯมีปัญหา เมื่อเปิดการซื้อขายปกติแล้วรายการที่ซื้อขายครบ T+3 ที่สะสมอยู่ต้องชำระราคาฯในวันที่เปิดซื้อขายรวมทุกรายการหรือไม่ หรือทยอยไล่ชำระราคาไปตามลำดับแต่ละวัน ทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจไม่ตรงกัน จนทำให้มีการชำระราคาฯล่าช้า จนต้องมีการทำงานในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้ระบบชำระราคาฯ แล้วเสร็จทุกรายการก่อนจะเปิดซื้อขายตามปกติ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาลามไปถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) บริษัทสมาชิกตลาดอนุพันธ์ บริษัทจดทะเบียน และ สมาชิกสำนักหักบัญชีรวม 199 หน่วยงาน ร่วมซ้อมปฏิบัติการตามแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง Business Continuity Plan (BCP) ประจำปี หรือแผนการรองรับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ตลท.เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ และอื่นๆ เป็นเหตุให้พนักงานไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานในอาคารได้
ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และระบบงานสำคัญ จะไม่ได้รับผลกระทบหากมีเหตุการณ์รุนแรง โดยพร้อมปฏิบัติงานและสามารถดำเนินธุรกิจ ได้ตามปกติได้เร็วที่สุด เพื่อมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการจัดการด้านความเสี่ยงที่ทัดเทียมมาตรฐานสากล และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง โดยการซักซ้อมแผนดังกล่าวเป็นการซักซ้อมประจำปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่เกี่ยวกับกรณีที่ปีที่ผ่านมามีเหตุเผาอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการซักซ้อมดังกล่าว
“ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจอะไร ซึ่งไม่เฉพาะแค่ตลาดหลักทรัพย์ฯเท่านั้น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยรวมทั้งโบรกเกอร์ต่างๆ ก็ต้องมีแผนสำรองไว้เช่นกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สุด เราต้องซักซ้อม BCP ประจำปีในวันที่ 25 มิ.ย.และวางแผนว่า หากเกิดเหตุจนทำให้พนักงานและผู้บริหารเข้าตึกไม่ได้ แล้วจะไปปฏิบัติงานที่ไหน ส่วนระบบการซื้อขายเราไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีระบบสำรองทำให้การซื้อขายเดินหน้าได้ต่อเนื่อง”นายจรัมพร กล่าว
นอกจากนี้ ได้มีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงระบบการชำระเงินและส่งมอบหลักทรัพย์ (เคลียริ่ง เซ็ทเทิลเม้นท์) ในกรณีที่มีการประกาศวันหยุดเพิ่มขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปโดยกำหนด ให้ยึดหลักระยะเวลาในการเคลียริ่ง เซ็ทเทิลเม้นท์ คือ T+3 หรือ 3 วันทำการนับจากวันที่มีการซื้อขาย โดยหากมีการประกาศวันหยุดเพิ่มก็จะขยับหรือบวกวันเพิ่มตามวันหยุด โดยจะมีการออกเป็นประกาศเพื่อถือปฎิบัติและให้เข้าใจตรงกัน
ผู้บริหารระดับสูงในวงการหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาหลายบริษัทกังวล ว่า หากเกิดเหตุวุ่นวายทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโบรกเกอร์จะร่วมกันมีแผนรับมืออย่างไร โดยเฉพาะมาตรการดูแลระบบการซื้อขายในตลาดหหุ้นและระบบชำระราคาฯ ซึ่งความกังวลดังกล่าวมาจากเหตุรุนแรงปีที่แล้ว ที่มีการวางเพลิงธนาคารและ อาคารตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้ ระบบซื้อขาย (Trading) และระบบชำระราคาฯ เกิดปัญหา แต่ระบบซื้อขายสามารถแก้ไขได้ทันที เพราะมีศูนย์สำรองอยู่แล้ว แต่ระบบชำระราคาฯ เกิดปัญหา
ทั้งนี้ จากขณะนั้นยังไม่ได้มีข้อตกลงกันว่า หากเกิดเหตุฉุกเฉินและทำให้ต้องหยุดการซื้อขายในบางช่วงของวันหรือบางวันรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดเพิ่มเติมซึ่งทำให้ระยะเวลาในการชำระราคาฯมีปัญหา เมื่อเปิดการซื้อขายปกติแล้วรายการที่ซื้อขายครบ T+3 ที่สะสมอยู่ต้องชำระราคาฯในวันที่เปิดซื้อขายรวมทุกรายการหรือไม่ หรือทยอยไล่ชำระราคาไปตามลำดับแต่ละวัน ทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจไม่ตรงกัน จนทำให้มีการชำระราคาฯล่าช้า จนต้องมีการทำงานในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้ระบบชำระราคาฯ แล้วเสร็จทุกรายการก่อนจะเปิดซื้อขายตามปกติ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาลามไปถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน