ฟิทช์ เรทติ้งส์ชี้แนวโน้มแบงก์พาณิชย์ไทยยังมีเสถียรภาพ รับแรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงเงินกองทุนยังแข็งแกร่ง เอ็นพีแอลอยู่ในระดับที่ไม่น่าห่วง มีทิศทางลดลง แต่ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยเสี่ยง
ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวถึงแนวโน้มของธนาคารพาณิชย์ไทยว่า ยังคงมีแนวโน้มมีเสถียรภาพในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า โดยคาดว่าสภาวะเศรษฐกิจจะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนผลการดำเนินงานโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ปัจจัยเสี่ยงหลักอาจจะรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเติบโตในระดับสูงของสินเชื่อสำหรับธุรกิจรายใหญ่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมและสินเชื่อรายย่อย ต้นทุนทางการเงินที่อาจปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจเพิ่มขึ้น จากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตามระดับของรายได้และเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวลงอย่างฉับพลันของเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ฟิทช์คาดว่าความต้องการสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง รายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น และการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในระดับไม่สูงมากนัก จะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลประกอบการโดยรวม ฟิทช์เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่จะสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก เนื่องจากมีฐานลูกค้าเงินฝากที่ใหญ่กว่า
ด้านคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ สิ้นปี 2553 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 4.4% ในระยะยาวคาดว่ากระบวนการอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุมมากขึ้น รวมทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่รวดเร็วขึ้นน่าจะช่วยให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนและสภาพคล่องน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเฉลี่ยที่ 97% (สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 อันดับแรก ซึ่งมีสินทรัพย์รวมประมาณ 80% ของระบบ) ซึ่งโดยทั่วไปยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้เนื่องจากธนาคารมีการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องในระดับที่พอเพียงและมีฐานลูกค้าเงินฝากที่มั่นคง
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินกองทุนของธนาคารมีความเสี่ยงที่จะลดลง เช่น การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลในระดับสูงเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ หรือ สินเชื่อที่มีการเติบโตในระดับที่สูงมากกว่าปกติ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต ขณะเดียวกันการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ที่สูงขึ้นและอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ต่ำลง น่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวม
ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวถึงแนวโน้มของธนาคารพาณิชย์ไทยว่า ยังคงมีแนวโน้มมีเสถียรภาพในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า โดยคาดว่าสภาวะเศรษฐกิจจะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนผลการดำเนินงานโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ปัจจัยเสี่ยงหลักอาจจะรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเติบโตในระดับสูงของสินเชื่อสำหรับธุรกิจรายใหญ่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมและสินเชื่อรายย่อย ต้นทุนทางการเงินที่อาจปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจเพิ่มขึ้น จากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตามระดับของรายได้และเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวลงอย่างฉับพลันของเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ฟิทช์คาดว่าความต้องการสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง รายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น และการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในระดับไม่สูงมากนัก จะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลประกอบการโดยรวม ฟิทช์เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่จะสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก เนื่องจากมีฐานลูกค้าเงินฝากที่ใหญ่กว่า
ด้านคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ สิ้นปี 2553 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 4.4% ในระยะยาวคาดว่ากระบวนการอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุมมากขึ้น รวมทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่รวดเร็วขึ้นน่าจะช่วยให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนและสภาพคล่องน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเฉลี่ยที่ 97% (สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 อันดับแรก ซึ่งมีสินทรัพย์รวมประมาณ 80% ของระบบ) ซึ่งโดยทั่วไปยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้เนื่องจากธนาคารมีการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องในระดับที่พอเพียงและมีฐานลูกค้าเงินฝากที่มั่นคง
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินกองทุนของธนาคารมีความเสี่ยงที่จะลดลง เช่น การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลในระดับสูงเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ หรือ สินเชื่อที่มีการเติบโตในระดับที่สูงมากกว่าปกติ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต ขณะเดียวกันการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ที่สูงขึ้นและอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ต่ำลง น่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวม