ผวาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นระเบิด นักลงทุนเทขายหุ้นหวังลดความเสี่ยง ฉุดดัชนีหลักทรัพย์ไทยรูด 19 จุด ส่วนวันนี้ (16 มี.ค.) โบรกฯมองมีโอกาสรีบาวนด์ ด้านประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ชี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย 2 ปีนี้ (54-55) เติบโตตามกำไร บจ.จากมีปัจจัยลบรุมเร้า แต่ในปี 56 คาดดัชนีทำนิวไฮด์เกิน 1,750 จุด จากปัจจัยหนุน “อาร์โออี” สูงเกิน 20% จูงใจต่างชาติ แต่ปีนี้อาจมีการปรับลดกำไร บจ.ลง จากเดิมคาดโต 15-20% เหตุราคาน้ำมันสูงขึ้น
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวอยู่ในแดนลบตลอดวัน โดยปิดที่ระดับ 1,003.10 จุด ลดลง 19.79 จุด หรือ -1.93% มูลค่าการซื้อขาย 37,651.67 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 975.58 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ขายสุทธิ 683.36 ล้านบาท โดยมีสถาบันซื้อสุทธิ 269.14 ล้านบาทท ที่เหลือเป็นการซื้อสุทธิ ของนักลงทุนทั่วไป 1,389.80 ล้านบาท ระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 1,010.55 จุด และต่ำสุดที่ 996.44 จุด
ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นระเบิด รวมถึงการแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสี ส่งผลให้นักลงทุนเลือกขายกำจัดความเสี่ยงไปก่อนขณะเดียวกันเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้
นายไพบูลย์ นลินทรางกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ความท้าทายใหม่ของการลงทุนปี 2011” ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีนี้ (2554-2555) จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่โตปีละ 15-20% เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่ในปี 2556 ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากทำสถิตสูงสุดใหม่ (นิวไฮด์) จากจุดสูงสุดเดิมที่ 1,750 จุด
ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาเพิ่ม คือ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทจดทะเบียน จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ 16-17% ผลจากการที่ บจ.ต่างๆ ได้มีการลงทุนในปีนี้ โดยจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต่างประทเศหันมาให้ความสนใจลงทุนโดยพิจารณาเรื่อง ROE มากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยและกำไรของบจ.มีกำไรเติบโตที่ดี
“การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก คาดว่า จะอยู่ที่ 1,180 จุด เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก และราคาหุ้นไทยขณะนี้ถือว่าสูงแล้ว ซึ่งมีค่า P/E อยู่ที่ 12.5 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคนี้แล้วที่มี ค่า P/E 12 เท่า และเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศนั้นมีความสนใจลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่น้อยลง ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้มีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อนำเงินกลับไปลงทุนในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ มีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ทุกประเทศในเอเซียมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย”
ดังนั้น จึงทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงจากนี้ถึงกลางปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดก่อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และจากที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีการหยุดขึ้นแล้ว และจากที่มีการเลือกตั้ง ทำให้ความเสี่ยงทางการเมืองลดลงไป ซึ่งจากการที่ราคาน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อตุ้นทุนการดำเนินงานของบริษัททำให้นักวิเคราะห์อาจมีการปรับลดกำไรสุทธิของ บจ.ปีนี้ลดลง จากเดิมที่คาดว่าปีนี้จะโต 15-20%
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในปี 2555 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจาก คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะหยุดการอัดฉีดเม็ดเงิน อัตราการว่างงานของสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น โดยส่วนตัวมองว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยปีนี้จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% และคาดว่า ปี 2555 อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกอยู่ที่ 4% โดยมองว่าดัชนีตลาดหุ้นปี 2555 จะเพิ่มขึ้น 20% อยู่ที่ 1,400 จุด เพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของกำไรของ บจ.
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีนี้ จะไม่ค่อยไปไหน จะแกว่งตัวประมาณ 100 จุด แต่ในปี 56 นั้นมีปัจจัยใหม่เข้ามาหนุนจากที่ROE ของบจ.ปรับตัวสูงเกิน 20% ซึ่งจะเป็นตัวดันดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวสูงกว่าไฮด์เดิมที่ 1,750 จุด” นายไพบูลย์ กล่าว
สำหรับการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (15 มี.ค.) ปรับตัวลดลง ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาค จากความกังวลในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ที่ยังมีความไม่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้จะมีความผันผวน นักลงทุนจึงจะต้องติดตามข่าวสาร และทิศทางการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากที่ผ่านมาได้มีการไหลเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นจำนวนมากนั้น จะมีทิศทางไหลออกไปลงทุนประเทศใด หลังจากเกิดปัญหา
ด้าน นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สำนักวิจัย บล.ทิสโก้ กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(16 มี.ค.) ดัชนีมีโอกาสที่จะรีบาวน์ได้ แต่คงจะไปได้ไม่ไกล เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอยู่ และตลาดญี่ปุ่น 2 วันมานี้ก็ปรับตัวลงไปถึง 16% แล้ว ดังนั้น เชื่อว่าตลาดต่างประเทศเองก็น่าจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ด้วยเช่นกัน พร้อมให้แนวรับ 1,000 จุด แนวต้าน 1,020 จุด
ตลาดหุ้นไทย วานนี้ (15 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวอยู่ในแดนลบตลอดวัน โดยปิดที่ระดับ 1,003.10 จุด ลดลง 19.79 จุด หรือ -1.93% มูลค่าการซื้อขาย 37,651.67 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 975.58 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ขายสุทธิ 683.36 ล้านบาท โดยมีสถาบันซื้อสุทธิ 269.14 ล้านบาทท ที่เหลือเป็นการซื้อสุทธิ ของนักลงทุนทั่วไป 1,389.80 ล้านบาท ระหว่างวันดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 1,010.55 จุด และต่ำสุดที่ 996.44 จุด
ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นระเบิด รวมถึงการแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสี ส่งผลให้นักลงทุนเลือกขายกำจัดความเสี่ยงไปก่อนขณะเดียวกันเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้
นายไพบูลย์ นลินทรางกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ความท้าทายใหม่ของการลงทุนปี 2011” ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีนี้ (2554-2555) จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่โตปีละ 15-20% เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่ในปี 2556 ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากทำสถิตสูงสุดใหม่ (นิวไฮด์) จากจุดสูงสุดเดิมที่ 1,750 จุด
ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาเพิ่ม คือ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทจดทะเบียน จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ 16-17% ผลจากการที่ บจ.ต่างๆ ได้มีการลงทุนในปีนี้ โดยจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนต่างประทเศหันมาให้ความสนใจลงทุนโดยพิจารณาเรื่อง ROE มากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยและกำไรของบจ.มีกำไรเติบโตที่ดี
“การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก คาดว่า จะอยู่ที่ 1,180 จุด เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก และราคาหุ้นไทยขณะนี้ถือว่าสูงแล้ว ซึ่งมีค่า P/E อยู่ที่ 12.5 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคนี้แล้วที่มี ค่า P/E 12 เท่า และเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศนั้นมีความสนใจลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่น้อยลง ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้มีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อนำเงินกลับไปลงทุนในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ มีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ทุกประเทศในเอเซียมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย”
ดังนั้น จึงทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงจากนี้ถึงกลางปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดก่อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และจากที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีการหยุดขึ้นแล้ว และจากที่มีการเลือกตั้ง ทำให้ความเสี่ยงทางการเมืองลดลงไป ซึ่งจากการที่ราคาน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อตุ้นทุนการดำเนินงานของบริษัททำให้นักวิเคราะห์อาจมีการปรับลดกำไรสุทธิของ บจ.ปีนี้ลดลง จากเดิมที่คาดว่าปีนี้จะโต 15-20%
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในปี 2555 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจาก คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะหยุดการอัดฉีดเม็ดเงิน อัตราการว่างงานของสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น โดยส่วนตัวมองว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยปีนี้จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% และคาดว่า ปี 2555 อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกอยู่ที่ 4% โดยมองว่าดัชนีตลาดหุ้นปี 2555 จะเพิ่มขึ้น 20% อยู่ที่ 1,400 จุด เพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของกำไรของ บจ.
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปีนี้ จะไม่ค่อยไปไหน จะแกว่งตัวประมาณ 100 จุด แต่ในปี 56 นั้นมีปัจจัยใหม่เข้ามาหนุนจากที่ROE ของบจ.ปรับตัวสูงเกิน 20% ซึ่งจะเป็นตัวดันดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวสูงกว่าไฮด์เดิมที่ 1,750 จุด” นายไพบูลย์ กล่าว
สำหรับการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (15 มี.ค.) ปรับตัวลดลง ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาค จากความกังวลในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ที่ยังมีความไม่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้จะมีความผันผวน นักลงทุนจึงจะต้องติดตามข่าวสาร และทิศทางการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากที่ผ่านมาได้มีการไหลเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นจำนวนมากนั้น จะมีทิศทางไหลออกไปลงทุนประเทศใด หลังจากเกิดปัญหา
ด้าน นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สำนักวิจัย บล.ทิสโก้ กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(16 มี.ค.) ดัชนีมีโอกาสที่จะรีบาวน์ได้ แต่คงจะไปได้ไม่ไกล เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอยู่ และตลาดญี่ปุ่น 2 วันมานี้ก็ปรับตัวลงไปถึง 16% แล้ว ดังนั้น เชื่อว่าตลาดต่างประเทศเองก็น่าจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ด้วยเช่นกัน พร้อมให้แนวรับ 1,000 จุด แนวต้าน 1,020 จุด