แบงก์ไทยเครดิตยุติดีลซื้อหุ้น SICCO จากไทยพาณิชย์ ระบุเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด แม้จะยืดเวลาจาก 31 ธ.ค.เป็น 28 ก.พ.แล้ว ยันในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน แต่ยังเปิดกว้างพร้อมเจรจาอีกรอบหากเงื่อนไขที่ตรงกัน ด้านไทยพาณิชย์รอพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการลดสัดส่วนหุ้น SICCO ต่อไป
จากกรณีที่ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)(TRCB) ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)(SICCO) กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 และต่อมาได้มีการกำหนดราคาหุ้นๆ ละ 4 บาท หักด้วยเงินปันผลในกรณีที่ SICCO มีมติให้จ่ายเงินปันผลไม่ว่ารูปแบบใด ๆ โดยมีการขึ้นเครื่องหมาย XD ก่อนหรือในวันที่ธนาคารไทยเครดิต รับโอนหุ้น ในสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติเพื่อให้เงื่อนไขบังคับก่อนสำเร็จภายในเวลาที่ตกลงกัน
แต่ด้วยเหตุที่เงื่อนไขบังคับก่อนไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อันไม่ได้เกิดจากธนาคารไทยเครดิต ในฐานะผู้ซื้อ แม้ว่าธนาคารไทยเครดิต ได้ใช้สิทธิตามสัญญาขยายระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 แล้ว
นายมงคล ลีลาธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยเครดิต กล่าวว่า ธนาคารไทยเครดิตได้ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการปฏิบัติตามสัญญาจนสำเร็จลุล่วงมาเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการขอมติคณะกรรมการธนาคาร ผู้ถือหุ้นธนาคาร รวมไปถึงขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารไทยเครดิตเข้าลงทุนและเห็นชอบในหลักการ "โครงการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนระหว่าง ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กับบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)"เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ เงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่สำเร็จดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นบางประการซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารไทยเครดิตในฐานะผู้ซื้อต้องปฏิบัติ จึงได้แถลงปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น SICCO และเรื่องดังกล่าวไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
นายมงคล กล่าวอีกว่า สัญญาซื้อขาย SICCO ระหว่างธนาคารไทยเครดิตกับธนาคารไทยพาณิชย์นั้น มีหลักการสำคัญก็คือธนาคารจะต้องซื้อหุ้นทั้งจากธนาคารไทยพาณิชย์และผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ได้ไม่ต่ำกว่า 75% เพื่อจะดำเนินการควบรวมกับธนาคารต่อไป และนอกจากนี้ก็จะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะต้องทำให้สำเร็จภายเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่สามารถทำได้ทัน ซึ่งธนาคารถือว่าได้ปฏิบัติอย่างดีที่สุดแล้วในฐานะผู้ซื้อ และสาเหตุที่ดีลนี้ไม่สำเร็จ ก็เพราะไม่สามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขได้ทันเวลา ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ที่ผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติ
"คงจะเรียกว่าดีลล่มไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) ทางผู้ถือหุ้น SICCO ก็ยังไม่ได้อนุมัติหรืออะไร ก็เรียกว่าเป็นการปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น คือต่อไปธนาคารไม่มีหน้าที่คำเสนอซื้อหุ้นของ SICCO แต่ธนาคารก็ยังเปิดกว้างที่จะเจรจากับธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคตในเรื่องนี้อยู่ หากมีเงื่อนไขที่ตรงกัน"นายมงคลกล่าว
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น SICCO ดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารยังไม่ได้รวม SICCO ไว้ในแผนการดำเนินธุรกิจ และธนาคารยังไมีมีแผนที่จะเจรจาซื้อหุ้นกับของกิจการในลักษณะใกล้เคียงกันในเร็วๆนี้
ด้าน ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เนื่องด้วยกำหนดระยะเวลาตามสัญญาซื้อขายหุ้นที่ได้ขยายระยะเวลาออกไป ได้ครบกำหนดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 แต่ยังคงมีเงื่อนไขบังคับก่อนบางประการที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างธนาคารและธ.ไทยเครดิตเป็นอันสิ้นสุดลงโดยธนาคารจะพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการลดสัดส่วนหุ้น SICCO ที่ถือโดยธนาคารต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสถาบันการเงินหนึ่งรูปแบบภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้น SICCO กับธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยโดยขายหุ้นสามัญจำนวน 230,883,188 หุ้น คิดเป็นอัตราร้อยละ 38.65 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ราคาหุ้นละ 4 บาท มูลค่ารวม 923,532,752 บาท
ทั้งนี้ ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว ผู้ซื้อจะกำหนดเงื่อนไขว่า ธ.ไทยเครดิตสามารถยกเลิกการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทได้ หากเมื่อสิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อไม่สามารถซื้อหุ้นของบริษัทได้ ตั้งแต่ร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทขึ้นไป
จากกรณีที่ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)(TRCB) ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)(SICCO) กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 และต่อมาได้มีการกำหนดราคาหุ้นๆ ละ 4 บาท หักด้วยเงินปันผลในกรณีที่ SICCO มีมติให้จ่ายเงินปันผลไม่ว่ารูปแบบใด ๆ โดยมีการขึ้นเครื่องหมาย XD ก่อนหรือในวันที่ธนาคารไทยเครดิต รับโอนหุ้น ในสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติเพื่อให้เงื่อนไขบังคับก่อนสำเร็จภายในเวลาที่ตกลงกัน
แต่ด้วยเหตุที่เงื่อนไขบังคับก่อนไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อันไม่ได้เกิดจากธนาคารไทยเครดิต ในฐานะผู้ซื้อ แม้ว่าธนาคารไทยเครดิต ได้ใช้สิทธิตามสัญญาขยายระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 แล้ว
นายมงคล ลีลาธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยเครดิต กล่าวว่า ธนาคารไทยเครดิตได้ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการปฏิบัติตามสัญญาจนสำเร็จลุล่วงมาเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการขอมติคณะกรรมการธนาคาร ผู้ถือหุ้นธนาคาร รวมไปถึงขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งธปท.ได้อนุญาตให้ธนาคารไทยเครดิตเข้าลงทุนและเห็นชอบในหลักการ "โครงการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนระหว่าง ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กับบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)"เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ เงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่สำเร็จดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นบางประการซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารไทยเครดิตในฐานะผู้ซื้อต้องปฏิบัติ จึงได้แถลงปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น SICCO และเรื่องดังกล่าวไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
นายมงคล กล่าวอีกว่า สัญญาซื้อขาย SICCO ระหว่างธนาคารไทยเครดิตกับธนาคารไทยพาณิชย์นั้น มีหลักการสำคัญก็คือธนาคารจะต้องซื้อหุ้นทั้งจากธนาคารไทยพาณิชย์และผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ได้ไม่ต่ำกว่า 75% เพื่อจะดำเนินการควบรวมกับธนาคารต่อไป และนอกจากนี้ก็จะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะต้องทำให้สำเร็จภายเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่สามารถทำได้ทัน ซึ่งธนาคารถือว่าได้ปฏิบัติอย่างดีที่สุดแล้วในฐานะผู้ซื้อ และสาเหตุที่ดีลนี้ไม่สำเร็จ ก็เพราะไม่สามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขได้ทันเวลา ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ที่ผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติ
"คงจะเรียกว่าดีลล่มไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) ทางผู้ถือหุ้น SICCO ก็ยังไม่ได้อนุมัติหรืออะไร ก็เรียกว่าเป็นการปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น คือต่อไปธนาคารไม่มีหน้าที่คำเสนอซื้อหุ้นของ SICCO แต่ธนาคารก็ยังเปิดกว้างที่จะเจรจากับธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคตในเรื่องนี้อยู่ หากมีเงื่อนไขที่ตรงกัน"นายมงคลกล่าว
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหุ้น SICCO ดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารยังไม่ได้รวม SICCO ไว้ในแผนการดำเนินธุรกิจ และธนาคารยังไมีมีแผนที่จะเจรจาซื้อหุ้นกับของกิจการในลักษณะใกล้เคียงกันในเร็วๆนี้
ด้าน ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เนื่องด้วยกำหนดระยะเวลาตามสัญญาซื้อขายหุ้นที่ได้ขยายระยะเวลาออกไป ได้ครบกำหนดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 แต่ยังคงมีเงื่อนไขบังคับก่อนบางประการที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างธนาคารและธ.ไทยเครดิตเป็นอันสิ้นสุดลงโดยธนาคารจะพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการลดสัดส่วนหุ้น SICCO ที่ถือโดยธนาคารต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสถาบันการเงินหนึ่งรูปแบบภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้น SICCO กับธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยโดยขายหุ้นสามัญจำนวน 230,883,188 หุ้น คิดเป็นอัตราร้อยละ 38.65 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ราคาหุ้นละ 4 บาท มูลค่ารวม 923,532,752 บาท
ทั้งนี้ ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว ผู้ซื้อจะกำหนดเงื่อนไขว่า ธ.ไทยเครดิตสามารถยกเลิกการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทได้ หากเมื่อสิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ซื้อไม่สามารถซื้อหุ้นของบริษัทได้ ตั้งแต่ร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทขึ้นไป