ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อแบงก์ชาติ ระบุ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประชาชนร้องเรียน “ติดตามทวงถามหนี้โหด-คิดค่าทวงหนี้เกินจริง” พุ่งอันดับ 1 แซงหน้าการถูกหลอกลวงเงินจากมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ ธปท.สั่งให้สถาบันการเงินที่โดนร้องเรียนบ่อย ส่งเรื่องชี้แจง และปรับปรุงแก้ไข เผยอยู่ระหว่างการตั้งศูนย์ประสานงาน เป็นหน่วยงานถาวร หลังผลงานโดนใจประชาชน
นายกำธร ประเสริฐสม หัวหน้าศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากการเปิดให้ประชาชนรับร้องเรียนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการขอสินเชื่อ และการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ตั้งแต่ต้นปี 2554 ที่ผ่านมา เรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือ เรื่องการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่สุภาพ ทำเกินกว่าเหตุ และการติดตามทวงหนี้โหด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดตามทวงหนี้ที่จ้างบริษัทภายนอกสถาบันการเงิน (Outsource) มาดำเนินการให้
ลำดับต่อมา การเข้าไม่ถึงสินเชื่อ หรือการขอสินเชื่อไม่ได้ ส่วนการร้องเรียนในเรื่องการถูกหลอกลวงให้โอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม หรือการถูกหลอกลวงจากคอลเซ็นเตอร์นั้น ในขณะนี้มีน้อยลง เพราะในช่วงที่ผ่านมา ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีการประชุมร่วมกับ ธปท. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้ตั้งศูนย์ร่วมกันเพื่อป้องปรามมิจฉาชีพเหล่านี้ ทำให้อาจจะหายๆ ไประยะหนึ่ง แต่ไม่สามารถวางใจได้ เพราะมิจฉาชีพอาจจะรอเวลาและฉวยจังหวะที่ประชาชนไม่ทันตั้งตัว
“ช่วงนี้ มีการร้องทุกข์ในเรื่องการให้บริการของสถาบันการเงินและสินเชื่อต่อวัน 100-200 ราย ถือว่าไม่มาก เพราะบางช่วงมีร้องเรียนเข้ามามากถึงวันละ 700-800 ราย โดยเรื่องการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพ หรือมีปัญหาเรื่องการคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ควรคิด ยังเป็นเรื่องเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามากสุด”
นายกำธร กล่าวและย้ำว่า ธปท.ได้ประสานงานและแจ้งเตือนไปยังสถาบันการเงินที่ได้รับร้องเรียนให้ชี้แจงกรณีที่ได้รับร้องเรียนมาให้ ธปท.ทราบ และปรับปรุงการบริการเพื่อความเหมาะสม
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับการร้องเรียนในเรื่องติดตามทวงหนี้ไม่เหมาะสม ซ้ำซาก หรือ ได้รับร้องเรียนการให้บริการทางการเงินประเภทใดประเภทหนึ่งบ่อยๆ ซึ่ง ธปท.ได้มีการตักเตือนไปแล้ว แต่ยังมีการกระทำดังกล่าวอีก ธปท.ได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมธนาคารไทย ให้รับทราบพฤติกรรมดังกล่าวของธนาคารที่เป็นสมาชิกรายนั้น และขอให้สมาคมธนาคารช่วยกวดขัน และตักเตือนสถาบันการเงินดังกล่าวเพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง
ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อของ ธปท.มีการต่ออายุการทำงานของศูนย์มาแล้ว 4 ครั้งแต่เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2542 โดยล่าสุด จะครบกำหนดอายุการทำงานในเดือน มิ.ย.2554 สายกำกับสถาบันการเงินมีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างการทำงาน โดยตั้งขึ้นเป็นศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อ เพื่อรับเรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อเป็นศูนย์ถาวร เนื่องจากเห็นประโยชน์ในการเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน และการให้บริการทางการเงิน รวมทั้งยังมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องใช้เวลาพิจารณา เพราะการปรับโครงสร้างการทำงานต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
“เราค่อนข้างพอใจ การทำงานของศูนย์ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ช่วงหลังเมื่อมีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ทุกหน่วยงานได้ส่งเรื่องต่อให้ให้ศูนย์ เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นต้น ธปท.จึงอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อตั้งศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อเป็น หน่วยงานถาวรใน ธปท.ต่อไป” นายกำธร กล่าว
นายกำธร ประเสริฐสม หัวหน้าศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ (ศปส.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากการเปิดให้ประชาชนรับร้องเรียนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการขอสินเชื่อ และการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ตั้งแต่ต้นปี 2554 ที่ผ่านมา เรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือ เรื่องการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่สุภาพ ทำเกินกว่าเหตุ และการติดตามทวงหนี้โหด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดตามทวงหนี้ที่จ้างบริษัทภายนอกสถาบันการเงิน (Outsource) มาดำเนินการให้
ลำดับต่อมา การเข้าไม่ถึงสินเชื่อ หรือการขอสินเชื่อไม่ได้ ส่วนการร้องเรียนในเรื่องการถูกหลอกลวงให้โอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม หรือการถูกหลอกลวงจากคอลเซ็นเตอร์นั้น ในขณะนี้มีน้อยลง เพราะในช่วงที่ผ่านมา ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีการประชุมร่วมกับ ธปท. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้ตั้งศูนย์ร่วมกันเพื่อป้องปรามมิจฉาชีพเหล่านี้ ทำให้อาจจะหายๆ ไประยะหนึ่ง แต่ไม่สามารถวางใจได้ เพราะมิจฉาชีพอาจจะรอเวลาและฉวยจังหวะที่ประชาชนไม่ทันตั้งตัว
“ช่วงนี้ มีการร้องทุกข์ในเรื่องการให้บริการของสถาบันการเงินและสินเชื่อต่อวัน 100-200 ราย ถือว่าไม่มาก เพราะบางช่วงมีร้องเรียนเข้ามามากถึงวันละ 700-800 ราย โดยเรื่องการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพ หรือมีปัญหาเรื่องการคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ควรคิด ยังเป็นเรื่องเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามากสุด”
นายกำธร กล่าวและย้ำว่า ธปท.ได้ประสานงานและแจ้งเตือนไปยังสถาบันการเงินที่ได้รับร้องเรียนให้ชี้แจงกรณีที่ได้รับร้องเรียนมาให้ ธปท.ทราบ และปรับปรุงการบริการเพื่อความเหมาะสม
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับการร้องเรียนในเรื่องติดตามทวงหนี้ไม่เหมาะสม ซ้ำซาก หรือ ได้รับร้องเรียนการให้บริการทางการเงินประเภทใดประเภทหนึ่งบ่อยๆ ซึ่ง ธปท.ได้มีการตักเตือนไปแล้ว แต่ยังมีการกระทำดังกล่าวอีก ธปท.ได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมธนาคารไทย ให้รับทราบพฤติกรรมดังกล่าวของธนาคารที่เป็นสมาชิกรายนั้น และขอให้สมาคมธนาคารช่วยกวดขัน และตักเตือนสถาบันการเงินดังกล่าวเพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง
ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อของ ธปท.มีการต่ออายุการทำงานของศูนย์มาแล้ว 4 ครั้งแต่เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2542 โดยล่าสุด จะครบกำหนดอายุการทำงานในเดือน มิ.ย.2554 สายกำกับสถาบันการเงินมีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างการทำงาน โดยตั้งขึ้นเป็นศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อ เพื่อรับเรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อเป็นศูนย์ถาวร เนื่องจากเห็นประโยชน์ในการเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน และการให้บริการทางการเงิน รวมทั้งยังมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องใช้เวลาพิจารณา เพราะการปรับโครงสร้างการทำงานต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
“เราค่อนข้างพอใจ การทำงานของศูนย์ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ช่วงหลังเมื่อมีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ทุกหน่วยงานได้ส่งเรื่องต่อให้ให้ศูนย์ เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นต้น ธปท.จึงอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อตั้งศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อเป็น หน่วยงานถาวรใน ธปท.ต่อไป” นายกำธร กล่าว