xs
xsm
sm
md
lg

PSอุ้มลูกค้าถูกปฏิเสธสินเชื่อ เร่งเจรจาแบงก์เพิ่มวงเงินกู้-ออกแพ็กเกจใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พฤกษาฯ เร่งเจรจาแบงก์เพิ่มวงเงินกู้ ออกแพ็กเกจใหม่สร้างความหลากหลายด้านสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า หวังดึงคืนกลุ่มลูกค้าถูกปฏิเสธสินเชื่อ ดันตลาดรวมขยายตัว หลังLTV กระทบกำลังซื้อฉุดตลาดรวมหดตัว พร้อมตั้งเป้าลดยอดปฏิเสธสินเชื่อในพอร์ตเหลือ 20% จากปีก่อนหน้า23% เชื่อผู้ประกอบการดึง 5 Change ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ, เปลี่ยนเทคโนโลยีการก่อสร้าง, จับมือแบงก์ออกแพ็กเกจสินเชื่อหลากหลาย, รับฟังผู้บริโภคเพื่อพัฒนาระบบบริการขอองค์กร,ทำตลาดผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ผลักดันตลาดรวมโตต่อเนื่อง

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เปิดเผยว่าตั้งแต่ช่วงไตรมาที่ 2 นี้เป็นต้นไป บริษัทฯจะทยอยเปิดตัวแบรนด์สินค้าใหม่เพิ่ม 3แบรนด์ (3โมเดลบิซิเนส) ไปพร้อมๆกับการขยายทำเลการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในส่วนกทม.และต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น อาทิ อยุธยา นครปฐม ชลบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ พฤกษาฯยังได้เจรจากับพันธมิตรสถาบันการเงินหลักๆของบริษัท ประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาครไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อออกแพ็กเกจสินเชื่อให้หลากหลาย และรองรับกลุ่มลูกค้าของบริษัททั้งในตลาดระดับกลางและล่าง โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระ จากเดิมที่เน้นกลุ่มลูกค้าพนักงานบริษัทมี่มีเงินเดือนประจำ

“จากมาตรการLTV ที่จะบังคับใช้ครอบคลุมทั้งในส่วนของกลุ่มที่อยู่อาศัยห้องชุดในปีนี้และที่อยู่อาศัยแนวราบในปี2555 นั้นจะส่งผลให้กำลังซื้อลูกค้าหดตัว ซึ่งมีผลต่อการหดตัวของตลาดรวมในปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบต่อการปฏิเสธสินเชื่อของสถานการเงินที่เพิ่มขึ้นในอนาคต”

ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ พฤกษาฯได้เจรจาและเสนอให้สถาบันการเงินต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนแพ็กเกจสินเชื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในตลาดรวม โดยการออกแพ็กเกจสินเชื่อรองรับกลุ่มลูกค้าตลาดกลาง-ล่าง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าอาชีพอิสระที่มีกำลังซื้อลดลงจากการบังคับใช้มาตรการLTV ซึ่งส่งผลต่อยอดปฏเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน

โดยในปี2552 ที่ผ่านมาบริษัทมีสต๊อกยอดขายรวมประมาณ 30,389ล้านบาท และมียอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่25% หรือประมาณ 7,671ล้านบาท ดังนั้น เพื่อเป็นรักษายอดขายในส่วนที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อ พฤกษาฯ ได้เจรจากับพันธมิตรสถาบันการเงินหลักๆ ให้ออกแพ็กเกจสินเชื่อ และเพิ่มวงเงินปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้า เพื่อรองกับกลุ่มลูกค้าดังกล่าว ชึ่งช่วยให้ลดยอดปฏิเสธสินเชื่อลดลง โดยในปี2553ที่ผ่านมาบริษัทลดยอดปฏิเสธสินเชื่อลงมาอยู่ที่ 23% จากสต๊อกยอดขายรวม 38,753ล้านบาทหรือมียอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 11,700 ล้านบาท และในปี2554 นี้ตั้งเป้าว่าจะลดยอดการปฏิเสธสินเชื่อลงมาอยู่ที่20% ให้ได้

“ ในปี2553 บริษัทมีสต๊อกยอดขายรอโอน 30,671 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปี2554 จำนวน 18,749 ล้านบาท โดยในไตรมาสแรกของปีนี้คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ที่7,000-8,000ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ในไตรมาสถัดไป ซึ่งในส่วนนี้บริษัทยังมีงานก่อสร้างที่ล่าช้าอยู่ แต่จะเร่งงานก่อสร้างให้สามารถส่งมอบได้ตามเป้าและเป็นไปตามแผนงานลดสต๊อกและต้นทุนของบริษัท”

สำหรับพอร์ตลูกค้าขอสินเชื่อของพฤกษาฯนั้นธนาคารสงเคาระห์ (ธอส.)ถือว่าเป็นพอร์ตใหญ่ที่สุดที่บริษัทส่งลูกค้าขอสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเจรจาให้เพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้ากลุ่มอาชีพอิสระและออกแพ็กเกจใหม่รองรับกลุ่มลูกค้าไปแล้ว โดย ธอส.ได้เพิ่มวงเงินสิ้นเชื่อให้แก่ลูกค้าดังกล่าวจาก75% เป็น 85% ซึ่งเป็นไปตามนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการปล่อยกู้กลุ่มอาชีพอิสระเพิ่มมากขึ้น

นายประเสริฐ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการประกาศใช้มาตรการLTV ของรัฐบาลจะส่งผลให้กำลังซื้อและตลาดรวมเกิดการหดตัวลง ดังนั้น เชื่อว่าตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปผู้ประกอบการอสังหาฯทั้งรายใหญ่และรายเล็กที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในธุรกิจของต้นเองใน 5 เรื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการปรับตัวของตลาดในอนาคต ให้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น

สำหรับแนวโน้มการปรับเปลี่ยนใน 5 เรื่องที่จะปรับเปลี่ยน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนโมเดลของธุรกิจใหญ่ ๆ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ 1.การปรับโมเดลธุรกิจ โดยการแตกเซ็กเมนต์ตลาดแยกย่อย เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าทุกระดับ อาทิ แสนสิริ ซึ่งมีการดำเนินการไปแล้วในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ ก็จะแตกแบรนด์ใหม่ออกมา 2.การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง โดยจะมีการจับมือกับพันธมิตรกลุ่มก่อสร้างนำเทคโนโลยีก่อสร้างสำเร็จรูป หรือก่อตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปรองรับกำลังการผลิตของบริษัทช่วยลดต้นุทนก่อสร้าง และช่วยให้สามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้ตามกำหนดซึ่งเป็นการบริหารสต๊อกสินค้าในมือไปในตัว

“รายใหญ่ๆ ในตลาดขณะนี้ เช่น เอพี และแลนด์ฯ จะมีการลงทุนตั้งโรงงานระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปขึ้นมารองรับงานก่อสร้าง ลดสต๊อกและลดต้นทุน รวมถึงรองรับกำลังการผลิตที่ต้องส่งโอนบ้านให้ทันเวลา แสนสิริ ก็มีแนวโน้มจะเปิดเหมือนกัน”

3.การปรับเปลี่ยนด้านคอนซูเมอร์ โพสต์ไฟแนนซ์ จากสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อปลอ่อยกู้ให้ลูกค้ากลุ่มต่างๆ มีการแยกย่อยออกไปเยอะมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าดังกล่าว เช่น เอสเอ็มอี มีแนวโน้มว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดในอนาคตสูงถึง 20% ปัจจัยที่ 4 ที่จะมีการปรับเปลี่ยนคือ วอยส์ออฟคอนซูเมอร์ การรับฟังผู้บริโภคเพื่อนำมาพัฒนาระบบงานบริการขอองค์กร จากการสื่อสารที่มีหลายช่องทาง ทั้งอินเตอร์เน็ต และสื่อต่างๆ ซึ่งต้องรับฟ้งลูกค้ามากขึ้น เพื่อให้ได้ตามความต้องการลูกค้าที่มามากขึ้นและหลากหลาย ปัจจัยที่ 5 คือ โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่บริษัทได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ โดยโซเชียลเน็ตเวิร์ค จะช่วยเพิ่มช่องทางของลูกค้าได้กว้างขึ้น จึงต้องขยายการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น

สำหรับต้นทุนวัสดุ ที่จะมีการปรับราคา และ ส่งผลให้ต้นทุนต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น นั้น พฤกษาฯ ได้ปรับวิธีแก้ปัญหาโดยการสต๊อกสินค้าล่วงหน้าเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลงกับซัพพลายเออร์ จากเมื่อก่อนสต๊อกเป็นปี เลี่ยนมาเป็นสต๊อกเป็นรายสามเดือนแทน เพราะการซื้อล่วงหน้าระยะยาว ซัพพลายเออร์จะบวกราคาความผันผวนไว้ค่อนข้างสูงทำให้มีทุนสูงขึ้น การทำระยะเวลาสต๊อกสินค้าให้สั้นลงจะทำให้ค่าผันผวนไม่มาก ยกเว้นวัสดุในกลุ่มเหล็กซึ่งมีการซื้อระยะยาวไว้ที่1ปีในราคา 20 บาทต่อกิโลกรัม
กำลังโหลดความคิดเห็น