ตลาดหลักทรัพย์เตรียมเสนอ ก.ล.ต.ผ่อนเกณฑ์รับบริษัทต่างประเทศเข้าจดทะเบียนตลาดหุ้นไทย หวั่นเสียโอกาสดึงบริษัทร่วมทุนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านคุณภาพดีเข้าเทรด จากติดเกณฑ์ ก.ล.ต.ต้องเป็นสมาชิก IOSCO-ตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นสมาชิก WFE “ชนิตร” เผย ตลาดหุ้นลาวเปิดทำการมีตลาดหุ้นต่างๆ สนใจดึงบริษัทลาวเข้าจดทะเบียน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารเพื่อเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดแรก (ไพรมารี่ ลิสติ้ง) และการเข้าจดทะเบียนแบบสองตลาด (ดูอัลลิสติ้ง) เพื่อให้บริษัทต่างประเทศ ที่เป็นลักษณะบริษัทร่วมทุนไทยกับต่าวประเทศ ที่หน่วยงานกำกับดูแล (ก.ล.ต.) ของประเทศนั้นยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และตลาดหุ้นของประเทศนั้นจะต้องเป็นสมาชิกของ World Federation of Exchange(WFE) เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้
ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศแถบอาเซียนยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ IOSCO และ WFE เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และบรูไน ขณะที่เวียดนามนั้นไม่ได้เป็นสมาชิกของ WFE แต่เป็นสมาชิกของ ไม่ได้ IOSCO ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสในการนำบริษัทต่างประเทศที่เป็นบริษัทนิติบุคคลร่วมทุนไทยกับต่างประเทศที่มีคุณภาพที่ดีเข้ามาจดทะเบียน ทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคดึงบริษัทดังกล่าวเข้าไปจดทะเบียนแทน ทำให้ตลาดหุ้นไทยยิ่งมีขนาดที่เล็ก และเสียเปรียบในการแข่งขันในอนาคตที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีการเชื่อมโยงกัน
สำหรับกลุ่มเป้าหมายประเทศที่ตลาดหลักทรัพย์จะไปชวนบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในแถบกลุ่มอินโดจีน เช่น ประเทศลาว เวียดนาม นั้น มีบริษัทไทยเข้าไปร่วมทุนกับลาวจำนวนมากในการทำธุรกิจ ขณะที่ตลาดหุ้นลาวเพิ่งจะมีการเปิดทำการซื้อขายไป นั้น มีตลาดหุ้นอื่นๆเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ สนใจที่จะเข้าไปชวนบริษัทขนาดใหญ่ของลาวเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งหากไม่มีการแก้เกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสที่จะเข้าไปชวนบริษัทดังกล่าวเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย แม้จะมีการแก้เกณฑ์ใน 2 เรื่องนั้น แต่เกณฑ์ในเรื่องของคุณภาพต่างๆนั้นยังคงเข้มเหมือนเดิม เช่น ระบบควบคุมต่างๆระบบมาตรฐานบัญชี ฯลฯ
“เราจะต้องมีการแก้เกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้บริษัทต่างประเทศที่หน่วยงานกำกับยังไม่เป็นสมาชิกของ IOSCO เข้าจดทะเบียนได้ เพราะหากไม่ทำก็จะทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลยเซีย ฯลฯ นำบริษัทดังกล่าวเข้าไปจดทะเบียนแทน ทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสในการที่จะเพิ่มขนาดของตลาด ในการนำบริษัทต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารข้อมูลสนับสนุนต่างๆ เพื่อเสริมกับข้อเสนอที่จะให้ ก.ล.ต.มีการแก้เกณฑ์ดังกล่าว” นายชนิตร กล่าว
นายชนิตร กล่าวว่า สำหรับแผนการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)จากบริษัทเข้าใหม่ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มจากการที่มีบริษัทเข้ามาเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรกทั้งในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดเอ็มเอไอ จำนวน 11 รวมเพิ่มมาร์เกตแคป จำนวน 5.2 หมื่นล้านบาท และมีบริษัทเข้าใหม่โดยการเข้าจดทะเบียนทางอ้อม จากติดปัญหาเรื่องการถือหุ้น ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯถือว่าเป็นหุ้นเข้าใหม่ ซึ่งจะนับมาร์เกตแคปจากตรงนี้ด้วย เช่น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ฯลฯ
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารเพื่อเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดแรก (ไพรมารี่ ลิสติ้ง) และการเข้าจดทะเบียนแบบสองตลาด (ดูอัลลิสติ้ง) เพื่อให้บริษัทต่างประเทศ ที่เป็นลักษณะบริษัทร่วมทุนไทยกับต่าวประเทศ ที่หน่วยงานกำกับดูแล (ก.ล.ต.) ของประเทศนั้นยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) และตลาดหุ้นของประเทศนั้นจะต้องเป็นสมาชิกของ World Federation of Exchange(WFE) เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้
ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศแถบอาเซียนยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ IOSCO และ WFE เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และบรูไน ขณะที่เวียดนามนั้นไม่ได้เป็นสมาชิกของ WFE แต่เป็นสมาชิกของ ไม่ได้ IOSCO ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสในการนำบริษัทต่างประเทศที่เป็นบริษัทนิติบุคคลร่วมทุนไทยกับต่างประเทศที่มีคุณภาพที่ดีเข้ามาจดทะเบียน ทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคดึงบริษัทดังกล่าวเข้าไปจดทะเบียนแทน ทำให้ตลาดหุ้นไทยยิ่งมีขนาดที่เล็ก และเสียเปรียบในการแข่งขันในอนาคตที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีการเชื่อมโยงกัน
สำหรับกลุ่มเป้าหมายประเทศที่ตลาดหลักทรัพย์จะไปชวนบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในแถบกลุ่มอินโดจีน เช่น ประเทศลาว เวียดนาม นั้น มีบริษัทไทยเข้าไปร่วมทุนกับลาวจำนวนมากในการทำธุรกิจ ขณะที่ตลาดหุ้นลาวเพิ่งจะมีการเปิดทำการซื้อขายไป นั้น มีตลาดหุ้นอื่นๆเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ สนใจที่จะเข้าไปชวนบริษัทขนาดใหญ่ของลาวเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งหากไม่มีการแก้เกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสที่จะเข้าไปชวนบริษัทดังกล่าวเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย แม้จะมีการแก้เกณฑ์ใน 2 เรื่องนั้น แต่เกณฑ์ในเรื่องของคุณภาพต่างๆนั้นยังคงเข้มเหมือนเดิม เช่น ระบบควบคุมต่างๆระบบมาตรฐานบัญชี ฯลฯ
“เราจะต้องมีการแก้เกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้บริษัทต่างประเทศที่หน่วยงานกำกับยังไม่เป็นสมาชิกของ IOSCO เข้าจดทะเบียนได้ เพราะหากไม่ทำก็จะทำให้ตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลยเซีย ฯลฯ นำบริษัทดังกล่าวเข้าไปจดทะเบียนแทน ทำให้ตลาดหุ้นไทยเสียโอกาสในการที่จะเพิ่มขนาดของตลาด ในการนำบริษัทต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารข้อมูลสนับสนุนต่างๆ เพื่อเสริมกับข้อเสนอที่จะให้ ก.ล.ต.มีการแก้เกณฑ์ดังกล่าว” นายชนิตร กล่าว
นายชนิตร กล่าวว่า สำหรับแผนการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)จากบริษัทเข้าใหม่ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มจากการที่มีบริษัทเข้ามาเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรกทั้งในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดเอ็มเอไอ จำนวน 11 รวมเพิ่มมาร์เกตแคป จำนวน 5.2 หมื่นล้านบาท และมีบริษัทเข้าใหม่โดยการเข้าจดทะเบียนทางอ้อม จากติดปัญหาเรื่องการถือหุ้น ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯถือว่าเป็นหุ้นเข้าใหม่ ซึ่งจะนับมาร์เกตแคปจากตรงนี้ด้วย เช่น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ฯลฯ