ทีโอทีเร่งพัฒนาศักยภาพบรอดแบนด์หวังเป็นน้ำเลี้ยงจุนเจือองค์กร หลังรายได้โทรศัพท์บ้านมีแต่ทรงกับทรุด จนธุรกิจที่ทำเองในปี 53 มีรายได้เพียง 2.9 หมื่นล้านบาท ขาดทุนหลักพันล้านบาท ส่วนแคมเปญแก๊งเน็ตซิ่ง กระตุกขาลูกค้าบรอดแบนด์เพิ่มอีก 4.2 แสนราย ทำรายได้แล้ว 400 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้รวมจากธุรกิจบรอดแบนด์ปีนี้ 8 พันล้านบาท
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีได้เดินหน้าเสริมศักยภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่ภาวะการแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับบรอดแบนด์ของทีโอทีไม่ใช่ทำเพียงกิจกรรมส่งเสริมการขาย แต่จะเน้นเรื่องบริการหลังการขาย รวมถึงพัฒนาบริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่เป็นแนวโน้มของตลาดโลกด้วย
สิ่งที่ทีโอทีดำเนินการคือการเพิ่มจุดให้บริการอีก 6.8 แสนจุดในปี 54 จากงบการลงทุนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปกติ 2.1 พันล้านบาท และอาจมีงบพิเศษซึ่งอาจจะถึง 3 พันล้านบาท โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย. 54 นอกจากนี้ ยังมีโครงการ NGN (Next Generation Network) ที่ทำไปแล้วแสนเลขหมาย และจะเพิ่มอีก 4.7 แสนเลขหมาย รวมถึงการลงไฟเบอร์ ทู เดอะ โฮม (FTTH หรือการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสงถึงผู้เช่า) แทนเทคโนโลยี ADSL เพราะเป็นแนวโน้มของตลาดโลก
สำหรับรายได้ของทีโอทีเกี่ยวกับธุรกิจบรอดแบนด์ ในปี 53 ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด เนื่องจากมียอดผู้ใช้ 1.17 ล้านราย มีส่วนแบ่งการตลาด 42% คิดเป็นรายได้ 7.34 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้นปี 7.2 พันล้านบาท และจากกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้ชื่อ 'แก๊งเน็ตซิ่ง' ความเร็ว 6 เมกะบิตต่อวินาที ค่าบริการเดือนละ 590 บาท ตั้งแต่วันที่5 ส.ค. 53 ถึง 15 ก.พ. 54ซึ่งเหลือเวลาจากแคมเปญดังกล่าวอีกประมาณเดือนกว่า แต่เมื่อสิ้นเดือนธ.ค. 53 โปรโมชันนี้สามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บรอดแบนด์ได้อีก 4.2 แสนราย ทำรายได้ 400 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ทีโอทีได้มีการมอบเน็ตบุ๊กให้กับผู้โชคดีจากแคมเปญดังกล่าวจำนวน 60 เครื่องมูลค่า 6 แสนบาท และตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปี 54จะมีรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์ 8 พันล้านบาท หรือมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนราย
ส่วนการดำเนินงานของทีโอทีในปี 53 มีรายได้ประมาณ 2.8-2.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของทีโอทีเอง ไม่รวมค่าสัมปทานถือว่าขาดทุนในระดับหลักพันล้านบาท ทีโอทีจึงต้องเร่งเครื่องตลาดบรอดแบนด์และเตรียมศักยภาพการให้บริการให้แข็งแกร่ง เพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง และต้องการสร้างรายได้ทดแทนบริการโทรศัพท์บ้านที่รายได้มีแต่ทรงกับทรุด ขณะเดียวกันยังเป็นการเตรียมความพร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติด้วย
นายนพณัฏฐ์ กล่าวว่าการให้บริการบรอดแบนด์แม้จะสร้างรายได้เกินเป้า แต่อุปสรรคคือเรื่องของภัยธรรมชาติ ปัญหาทางการเมือง และความวุ่นวายในประเทศที่ส่งผลกระทบกับบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จนทำให้ผู้ใช้มีการเปลี่ยนค่ายบ่อย อย่างการให้บริการของทีโอทีมียอดลูกค้าเลิกใช้บริการประมาณ 30-40% ต่อเดือน เพราะเห็นว่าผู้ให้บริการรายอื่นมีโปรโมชันดีกว่า แต่ก็เป็นการใช้งานประมาณ 2-3 เดือน แล้วก็เปลี่ยนไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีได้เดินหน้าเสริมศักยภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่ภาวะการแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับบรอดแบนด์ของทีโอทีไม่ใช่ทำเพียงกิจกรรมส่งเสริมการขาย แต่จะเน้นเรื่องบริการหลังการขาย รวมถึงพัฒนาบริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่เป็นแนวโน้มของตลาดโลกด้วย
สิ่งที่ทีโอทีดำเนินการคือการเพิ่มจุดให้บริการอีก 6.8 แสนจุดในปี 54 จากงบการลงทุนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตปกติ 2.1 พันล้านบาท และอาจมีงบพิเศษซึ่งอาจจะถึง 3 พันล้านบาท โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเม.ย. 54 นอกจากนี้ ยังมีโครงการ NGN (Next Generation Network) ที่ทำไปแล้วแสนเลขหมาย และจะเพิ่มอีก 4.7 แสนเลขหมาย รวมถึงการลงไฟเบอร์ ทู เดอะ โฮม (FTTH หรือการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสงถึงผู้เช่า) แทนเทคโนโลยี ADSL เพราะเป็นแนวโน้มของตลาดโลก
สำหรับรายได้ของทีโอทีเกี่ยวกับธุรกิจบรอดแบนด์ ในปี 53 ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด เนื่องจากมียอดผู้ใช้ 1.17 ล้านราย มีส่วนแบ่งการตลาด 42% คิดเป็นรายได้ 7.34 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้นปี 7.2 พันล้านบาท และจากกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้ชื่อ 'แก๊งเน็ตซิ่ง' ความเร็ว 6 เมกะบิตต่อวินาที ค่าบริการเดือนละ 590 บาท ตั้งแต่วันที่5 ส.ค. 53 ถึง 15 ก.พ. 54ซึ่งเหลือเวลาจากแคมเปญดังกล่าวอีกประมาณเดือนกว่า แต่เมื่อสิ้นเดือนธ.ค. 53 โปรโมชันนี้สามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บรอดแบนด์ได้อีก 4.2 แสนราย ทำรายได้ 400 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ทีโอทีได้มีการมอบเน็ตบุ๊กให้กับผู้โชคดีจากแคมเปญดังกล่าวจำนวน 60 เครื่องมูลค่า 6 แสนบาท และตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปี 54จะมีรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์ 8 พันล้านบาท หรือมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนราย
ส่วนการดำเนินงานของทีโอทีในปี 53 มีรายได้ประมาณ 2.8-2.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการประกอบกิจการของทีโอทีเอง ไม่รวมค่าสัมปทานถือว่าขาดทุนในระดับหลักพันล้านบาท ทีโอทีจึงต้องเร่งเครื่องตลาดบรอดแบนด์และเตรียมศักยภาพการให้บริการให้แข็งแกร่ง เพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง และต้องการสร้างรายได้ทดแทนบริการโทรศัพท์บ้านที่รายได้มีแต่ทรงกับทรุด ขณะเดียวกันยังเป็นการเตรียมความพร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติด้วย
นายนพณัฏฐ์ กล่าวว่าการให้บริการบรอดแบนด์แม้จะสร้างรายได้เกินเป้า แต่อุปสรรคคือเรื่องของภัยธรรมชาติ ปัญหาทางการเมือง และความวุ่นวายในประเทศที่ส่งผลกระทบกับบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จนทำให้ผู้ใช้มีการเปลี่ยนค่ายบ่อย อย่างการให้บริการของทีโอทีมียอดลูกค้าเลิกใช้บริการประมาณ 30-40% ต่อเดือน เพราะเห็นว่าผู้ให้บริการรายอื่นมีโปรโมชันดีกว่า แต่ก็เป็นการใช้งานประมาณ 2-3 เดือน แล้วก็เปลี่ยนไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่