แบงก์รัฐเดินหน้าแก้หนี้นอกระบบหลังกรมบัญชีกลางแยกรายชื่อส่งให้เรียบร้อยแล้ว ออมสินเดินหน้าแล้ว 7 หมื่นราย ยันลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนต้องเข้าคอร์สฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ด้าน ธ.ก.ส.ระบุถอนตัวไม่ต่ำกว่า 30% เหตุชำระหนี้ได้เอง คาดเข้าร่วมโครงการได้ 2 แสนราย
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การดำเนินการแก้หนี้นอกระบบนั้น ในส่วนของธนาคารออมสินรับผิดชอบลูกหนี้ที่กรมบัญชีกลางส่งให้ทั้งหมด 5.27 แสนราย รวมมูลหนี้ 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่น้อยกว่า 5 หมื่นบาท ถึง 2.65 แสนราย รวมมูลหนี้ 3.8 หมื่นล้านบาท ที่จนถึงขณะนี้ได้เจรจาเพื่อแก้หนี้ไปแล้ว 7.73 หมื่นราย รวมยอดหนี้ 3.8 พันล้านบาท กำลังพิจารณาอีก 5.8 หมื่นราย และอนุมัติการแก้ไขหนี้ไปแล้ว 1.6 หมื่นราย คิดเป็นมูลหนี้ 600 ล้านบาท
“ออมสินได้เชิญทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กว่า 90% แล้ว แต่ได้ผลการเจรจาเพียง 30% โดยผู้ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณานั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกหนี้มีรายได้ไม่แน่นอน หรือผู้ค้ำประกันไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นผู้ค้ำประกันให้ และเจ้าหนี้ไม่ยอมมาเจรจาด้วย ซึ่งในกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้ไม่แน่นอนนั้น ออมสินจะต้องฝึกอบรมอาชีพให้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น หรับลูกหนี้ตั้งแต่ 5 หมื่น -2 แสนบาทนั้น คณะกรรมการระดับภูมิภาคที่ประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคลัง อัยการ ตำรวจในพื้นที่มาร่วมเจรจาด้วย คาดว่าสิ้นเดือนมี.ค.นี้จะปล่อยกู้ได้หมดสำหรับลูกหนี้ที่เจรจาตกลงกันได้แล้ว”
ขณะที่แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากจำนวนหนี้เกษตรกรที่อยู่ในความดูแลของ ธ.ก.ส.ที่มีจำนวน 6 แสนกว่าราย มูลหนี้ 6.4 หมื่นล้านบาท มีการประชุมร่วมกับลูกหนี้แล้ว 3.32 แสนราย มีลูกหนี้ที่ประสงค์เจรจาประนอมหนี้ 2.4 แสนราย และขอยุติเรื่องแล้ว 1.1 หมื่นรายหรือประมาณ 10 % เนื่องจากมีการชำระหนี้เสร็จสิ้นและมีเกินครึ่งที่เข้าใจผิดคิดว่ารัฐจะชำระหนี้ให้ และอีกจำนวนไม่น้อยที่เป็นหนี้กับญาติจึงรับได้กับภาระดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไป โดยส่วนของลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 5 หมื่นบาทนั้น ธ.ก.ส.อนุมัติเงินกู้แล้ว 588 ล้านบาท จำนวน 1.3 หมื่นราย ไม่สามารถอนุมัติให้ได้ 256 ราย เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอหรือมีรายได้ไม่แน่นอน
อย่างไรก็ตามในส่วนของ อีก 3 แสนรายนั้นจะเร่งให้สาขา ธ.ก.ส.ทั่วประเทศจัดประชุมชี้แจงลูกหนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ และมองว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 30% ที่ขอถอนตัวจากโครงการเนื่องจากชำระหนี้ได้เอง โดยจาก 6 แสนรายน่าจะเข้าโครงการประมาณ 2 แสนราย ซึ่งมากกว่าครั้งก่อนที่อนุมัติเงินกู้ไป 7 หมื่นกว่าราย จากที่ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ 8 แสนกว่าราย
สำหรับธนาคารกรุงไทย มีลูกหนี้ทั้งหมดจำนวน 64,172 ราย เป็นเงิน 6,556.52 ล้านบาท เจรจาสำเร็จ 140 ราย เป็นเงิน 13.60 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ จำนวน 35,451 ราย เป็นเงิน 3,871.88 ล้านบาท เจรจาสำเร็จ 512 ราย เป็นเงิน 54.83 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 35,857ราย เป็นเงิน 2,332.31 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 17,898 ราย เป็นเงิน 2,031.45 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการเจรจา
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การดำเนินการแก้หนี้นอกระบบนั้น ในส่วนของธนาคารออมสินรับผิดชอบลูกหนี้ที่กรมบัญชีกลางส่งให้ทั้งหมด 5.27 แสนราย รวมมูลหนี้ 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่น้อยกว่า 5 หมื่นบาท ถึง 2.65 แสนราย รวมมูลหนี้ 3.8 หมื่นล้านบาท ที่จนถึงขณะนี้ได้เจรจาเพื่อแก้หนี้ไปแล้ว 7.73 หมื่นราย รวมยอดหนี้ 3.8 พันล้านบาท กำลังพิจารณาอีก 5.8 หมื่นราย และอนุมัติการแก้ไขหนี้ไปแล้ว 1.6 หมื่นราย คิดเป็นมูลหนี้ 600 ล้านบาท
“ออมสินได้เชิญทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กว่า 90% แล้ว แต่ได้ผลการเจรจาเพียง 30% โดยผู้ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณานั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกหนี้มีรายได้ไม่แน่นอน หรือผู้ค้ำประกันไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นผู้ค้ำประกันให้ และเจ้าหนี้ไม่ยอมมาเจรจาด้วย ซึ่งในกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้ไม่แน่นอนนั้น ออมสินจะต้องฝึกอบรมอาชีพให้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น หรับลูกหนี้ตั้งแต่ 5 หมื่น -2 แสนบาทนั้น คณะกรรมการระดับภูมิภาคที่ประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคลัง อัยการ ตำรวจในพื้นที่มาร่วมเจรจาด้วย คาดว่าสิ้นเดือนมี.ค.นี้จะปล่อยกู้ได้หมดสำหรับลูกหนี้ที่เจรจาตกลงกันได้แล้ว”
ขณะที่แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากจำนวนหนี้เกษตรกรที่อยู่ในความดูแลของ ธ.ก.ส.ที่มีจำนวน 6 แสนกว่าราย มูลหนี้ 6.4 หมื่นล้านบาท มีการประชุมร่วมกับลูกหนี้แล้ว 3.32 แสนราย มีลูกหนี้ที่ประสงค์เจรจาประนอมหนี้ 2.4 แสนราย และขอยุติเรื่องแล้ว 1.1 หมื่นรายหรือประมาณ 10 % เนื่องจากมีการชำระหนี้เสร็จสิ้นและมีเกินครึ่งที่เข้าใจผิดคิดว่ารัฐจะชำระหนี้ให้ และอีกจำนวนไม่น้อยที่เป็นหนี้กับญาติจึงรับได้กับภาระดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไป โดยส่วนของลูกหนี้ที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 5 หมื่นบาทนั้น ธ.ก.ส.อนุมัติเงินกู้แล้ว 588 ล้านบาท จำนวน 1.3 หมื่นราย ไม่สามารถอนุมัติให้ได้ 256 ราย เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอหรือมีรายได้ไม่แน่นอน
อย่างไรก็ตามในส่วนของ อีก 3 แสนรายนั้นจะเร่งให้สาขา ธ.ก.ส.ทั่วประเทศจัดประชุมชี้แจงลูกหนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ และมองว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 30% ที่ขอถอนตัวจากโครงการเนื่องจากชำระหนี้ได้เอง โดยจาก 6 แสนรายน่าจะเข้าโครงการประมาณ 2 แสนราย ซึ่งมากกว่าครั้งก่อนที่อนุมัติเงินกู้ไป 7 หมื่นกว่าราย จากที่ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ 8 แสนกว่าราย
สำหรับธนาคารกรุงไทย มีลูกหนี้ทั้งหมดจำนวน 64,172 ราย เป็นเงิน 6,556.52 ล้านบาท เจรจาสำเร็จ 140 ราย เป็นเงิน 13.60 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ จำนวน 35,451 ราย เป็นเงิน 3,871.88 ล้านบาท เจรจาสำเร็จ 512 ราย เป็นเงิน 54.83 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน 35,857ราย เป็นเงิน 2,332.31 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 17,898 ราย เป็นเงิน 2,031.45 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการเจรจา