ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.เร่งโอนหนี้นอกระบบมูลหนี้ที่ไม่เกิน 5 หมื่นจำนวน 1.2 แสนรายภายในมิ.ย.นี้ คาดช่วยได้เต็มที่ 3 แสนจากยอด 5 แสนราย เชื่อมีแจ้งเท็จและไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรจริง พร้อมปล่อยกู้เพิ่มให้รายที่ขาดสภาพคล่อง ด้านออมสินจี้ทุกสาขาโอนหนี้วันละ150 ราย ล่าสุดทะลุ 6 หมื่นราย
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในส่วนของเกษตรกรที่มาลงทะเบียนว่า จากจำนวน 5 แสนรายนั้นมีส่วนที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 5 หมื่นบาททั้งสิ้น 1.2 แสนราย โดยขณะนี้ได้โอนหนี้จากเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ที่ธ.ก.ส.แล้ว 7 พันรายเป็นเงิน 230 ล้านบาท โดยคาดว่าส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการโอนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนรายที่มีมูลหนี้สูงกว่า 5 หมื่นรายนั้นระหว่างนี้ก็ดำเนินการควบคู่กันไปแต่ต้องใช้เวลานานกว่าเพราะต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ระดับจังหวัดก่อน
อย่างไรก็ตามมองว่าจากจำนวนลูกหนี้ทั้งหมด 5 แสนราย มูลหนี้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท นั้นน่าจะสามารถโอนหนี้เข้ามาที่ธนาคารได้ประมาณ 2.5-3 แสนราย ซึ่งจะใช้เงินน้อยลง โดยส่วนที่ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์อาจมาจากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริงแล้วลงเป็นอาชีพเกษตรกร หรือรับจ้างเกษตรกรอีกทีหนึ่งหรือ ไม่ได้ประกอบอาชีพในปัจจุบัน
ส่วนนโยบายของรมว.คลังที่ขอให้ปล่อยกู้เพื่อประกอบอาชีพเพิ่มเติมหลังจากโอนหนี้เข้ามาในระบบแล้วนั้น ธ.ก.ส.จะพิจารณาให้เป็นรายๆ ไป โดยเห็นว่าส่วนใหญ่หากปรับโครงสร้างหนี้ให้มีภาระดอกเบี้ยต่ำลงก็น่าจะมีสภาพคล่องในการประกอบอาชีพมากขึ้น แต่หากมีความจำเป็นต้องขยายการลงทุนก็จะให้เงินกู้เพิ่มเติม เพราะรายที่ได้รับการช่วยเหลือต้องมีรายได้ที่ชัดเจนอยู่แล้วและธ.ก.ส.ยังให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมอยู่แล้ว ส่วนรายที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ก็จะต้องนำเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือต่อไป
ด้านธนาคารออมสิน มีลูกหนี้นอกระบบในความดูแลทั้งสิ้น 3.3 แสนราย ส่วนที่มีมูลหนี้ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทมีประมาณ 1.3 แสนราย นั้นพนักงานของออมสินทุกสาขาทั่วประเทศได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสินให้นโยบายว่าแต่ละสาขาต้องโอนหนี้เข้ามาระบบให้ได้วันละ 150 ราย หรืออยู่ที่วันละ 1 หมื่นรายทั่วประเทศ โดยล่าสุดน่าจะโอนได้แล้วกว่า 6 หมื่นราย ใช้เงินแค่หลักพันล้านบาท เพราะแต่ละรายมูลหนี้อยู่ที่ 2-3 หมื่นบาทต่อราย โดยกลุ่มที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 หมื่นน่าจะโอนหนี้เข้ามาในระบบได้หมดภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนที่เหลือน่าจะโอนได้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในส่วนของเกษตรกรที่มาลงทะเบียนว่า จากจำนวน 5 แสนรายนั้นมีส่วนที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 5 หมื่นบาททั้งสิ้น 1.2 แสนราย โดยขณะนี้ได้โอนหนี้จากเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ที่ธ.ก.ส.แล้ว 7 พันรายเป็นเงิน 230 ล้านบาท โดยคาดว่าส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการโอนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนรายที่มีมูลหนี้สูงกว่า 5 หมื่นรายนั้นระหว่างนี้ก็ดำเนินการควบคู่กันไปแต่ต้องใช้เวลานานกว่าเพราะต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาประนอมหนี้ระดับจังหวัดก่อน
อย่างไรก็ตามมองว่าจากจำนวนลูกหนี้ทั้งหมด 5 แสนราย มูลหนี้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท นั้นน่าจะสามารถโอนหนี้เข้ามาที่ธนาคารได้ประมาณ 2.5-3 แสนราย ซึ่งจะใช้เงินน้อยลง โดยส่วนที่ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์อาจมาจากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริงแล้วลงเป็นอาชีพเกษตรกร หรือรับจ้างเกษตรกรอีกทีหนึ่งหรือ ไม่ได้ประกอบอาชีพในปัจจุบัน
ส่วนนโยบายของรมว.คลังที่ขอให้ปล่อยกู้เพื่อประกอบอาชีพเพิ่มเติมหลังจากโอนหนี้เข้ามาในระบบแล้วนั้น ธ.ก.ส.จะพิจารณาให้เป็นรายๆ ไป โดยเห็นว่าส่วนใหญ่หากปรับโครงสร้างหนี้ให้มีภาระดอกเบี้ยต่ำลงก็น่าจะมีสภาพคล่องในการประกอบอาชีพมากขึ้น แต่หากมีความจำเป็นต้องขยายการลงทุนก็จะให้เงินกู้เพิ่มเติม เพราะรายที่ได้รับการช่วยเหลือต้องมีรายได้ที่ชัดเจนอยู่แล้วและธ.ก.ส.ยังให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมอยู่แล้ว ส่วนรายที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ก็จะต้องนำเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือต่อไป
ด้านธนาคารออมสิน มีลูกหนี้นอกระบบในความดูแลทั้งสิ้น 3.3 แสนราย ส่วนที่มีมูลหนี้ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทมีประมาณ 1.3 แสนราย นั้นพนักงานของออมสินทุกสาขาทั่วประเทศได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสินให้นโยบายว่าแต่ละสาขาต้องโอนหนี้เข้ามาระบบให้ได้วันละ 150 ราย หรืออยู่ที่วันละ 1 หมื่นรายทั่วประเทศ โดยล่าสุดน่าจะโอนได้แล้วกว่า 6 หมื่นราย ใช้เงินแค่หลักพันล้านบาท เพราะแต่ละรายมูลหนี้อยู่ที่ 2-3 หมื่นบาทต่อราย โดยกลุ่มที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 หมื่นน่าจะโอนหนี้เข้ามาในระบบได้หมดภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนที่เหลือน่าจะโอนได้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้