หุ้นไทยเมินแดงไล่รัฐบาล พบตั้งแต่เริ่มชุนนุม 12 มี.ค.จนถึงปัจจุบันดัชนีพุ่งเกือบ 50 จุด วงการคาดมีลุ้นแตะทะลุ 800 จุดได้ ภายใต้เงื่อนไขไร้ความรุนแรง ภาพรวมต่างชาติและนักลงทุนในประเทศ เชื่อมั่นภาครัฐควบคุมม็อบอยู่หมัด ดันกระแสเงินนอกไหลเข้าต่อเนื่อง คาดหากชุมนุมยืดเยื้อแต่ไร้เหตุรุนแรงดัชนียังบวกต่อยาวเนื่อง แต่เตือนแกนนำปัจจัยบวกย่อมมีวันหมด หากยังฝืนดื้อไม่เลิก อาจมีผลต่อจีดีพีไตรมาส 1/53 ได้ โดยเฉพาะเมื่อรวมกับธุรกิจท่องเที่ยวที่หนักสุด หากสงกรานต์ยังไม่ยุติ
จากการชุนนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา สร้างความตึงเครียดต่อสถานการณ์เมืองต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวกลับไม่มีผลต่อการภาคการลงทุนโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มากนัก อันเป็นคำถามมาสู่ตัวผู้ชุมนุมเอง แม้จะมีการแก้ต่างภายหลังว่าไม่ใช่พวกพ้องของตน หรือเป็นของปลอมก็ตาม
ล่าสุด การชุมนุมใหญ่อีกรอบของกลุ่มเสื้อแดง (20 มี.ค.) ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ภาคการลงทุนและภาคธุรกิจหลายฝ่ายกังวล ยังให้ความสำคัญกับ ระยะเวลาการชุมนุมที่จะยืดเยื้อมากน้อยแค่ไหน รวมถึงการก่อความรุนแรงที่ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าวหากเกิดขึ้น จะมีผลต่อภาพรวมของประเทศในหลายประเด็นเช่นกัน
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST กล่าวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ภาพรวมทิศทางตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ ต้องยอมรับว่า อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะทุกฝ่ายระวังตัวกันมากทั้งฟากรัฐบาล และกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงที่มีผลต่อประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี และหากควบคุมได้ตลอดก็จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในด้านความกังวลที่ลดลง ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตัวที่อยู่ในกรอบ ไม่ออกมาสร้างความรุนแรง เพราะดัชนีตลาดหุ้นผ่านจุดตึงเครียดในช่วงเริ่มต้นการชุมนุมมาแล้ว
ส่วนผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของจีดีพีประเทศไทย ในไตรมาส 1/53 นั้น ประเมินว่า เรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลมากนัก และถ้าภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวกลับมา บวกกับการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ในอัตราสูง เชื่อว่าน่าจะผลักดันในตัวเลขจีดีพีในไตรมาสนี้เป็นไปตามเป้าที่ภาครัฐวางไว้
***ย้ำแดงชุมนุมยืดเยื้อได้แต่ห้ามรุนแรง
แหล่งข่าววงการโบรกเกอร์รายหนึ่ง ให้ความเห็นว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากนั้น ต้องยอมรับวง่าช่วงนี้กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศมีผลต่อตลาดมาก โดยนักลงทุนต่างชาติมีมุมมองต่อสถานการณ์การเมืองในไทยไทยเป็นเรื่องรอง เพราะเชื่อมั่นว่า ภาครัฐบาลจะสามารถควบคุมการชุมนุมนี้ได้อย่างไม่เกิดปัญหา หลังได้รับทราบแนวทางและวิธีปฏิบัติต่อผู้ชุนนุมของรัฐบาลที่มีการออกมาชี้แจงอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนยังความสำคัญกับปัญหาและแนวโน้มค่าเงินสกุลหลักของโลก อย่างดอลลาร์สหรัฐ ยูโรที่ได้รับผลจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศต่างๆที่เกิดขึ้นมากกว่า ดังนั้นเมื่อประเทศสหรัฐฯ และแถบยุโรปยังมีปัญหา เม็ดเงินเหล่านี้ยังจำเป็นต้องวิ่งหาตลาดอื่น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ดี รวมทั้งไทยด้วย ดูได้จากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆตั้งแต่ไตรมาส 4/52 ที่เริ่มมีการประกาศออกมาในทิศทางที่ดีขึ้น
ดังนั้น แม้กลุ่มเสื้อแดงจะไม่ยอมยุติการชุมนุม แต่หากยังสามารถควบคุมฝูงชนไม่ให้เกิดการก่อความรุนแรงแดง อาจจะกล่าวได้ว่ากาชุมนุมในครั้งนี้แทบจะไม่มีผลต่อต่อการเติบโตในตลาดทุนของประเทศเลย เพราะบรรยากาศการลงทุนในช่วงนี้ยังมีปัจจัยบวกจากเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาช่วยอยู่ อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นนี้ย่อมจะหมดไปได้ ภายใต้เงื่อนไขของความรุนแรง หรือความตรึงเครียดของสถานการณ์ ซึ่งหมายถึง หากมีการชุนนุมยืดเยื้อเกิดขึ้นจริงย่อมมีต่อจิตวิทยานักลงทุนไม่บ้างก็น้อย แม้ตอนนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้และซึมซับปัจจัยลบหรือความกังวลดังกล่าวมาแล้วก็ตาม
ขณะที่ ผลต่อการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในประเทศ ช่วงไตรมาส 1/53 แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะมีผลบ้างแต่อยู่ในระดับเล็กน้อย หากมีการชุนนุมยืดเยื้อแต่ไม่มีสถานการณ์รุนแรง แต่น่ากังวลภาคส่งออกมากกว่าเนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินได้
“หากเกิดความรุนแรงขึ้น จุดนี้จะมีผลต่อตลาดหุ้นในทันที ตรงนี้เราคงไม่ต้องมองไปถึงภาครัฐ เพราะเขาชี้แจงตลอดว่าเวลาว่าคอยควบคุม ไม่ใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว จึงต้องมองไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม หากมีการยั่วยุ ปลุกอารมณืและคุมคนของตนเองไม่อยู่ จนเกิดเหตุการซ้ำรอย เมษายนปีก่อนจุดนี้จะสร้างแรงเทขายหุ้นขึ้นมาก แม้จะมีแรงซื้อเข้ามาสูงด้วยก็ตาม ดังนั้นทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ตัวของกลุ่มเสื้อแดงเอง ว่า จะทำตามที่ได้ประกาศไว้หรือไม่ว่าจะไม่สร้างความรุนแรง อีกอย่างการชุนนุมยือเยื้อเกินไปโดยไร้เหตุผล ก็ไม่ใช่เรื่องดีต่อตลาดหุ้น ต้องอย่างลืมว่าปัจจัยบวก รหือความมั่นใจย่อมมีวันถูกสั่นคลอน หรือหมดลงได้ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและผู้ชุมนุมควรหาวิธียุติเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว”
***วอนเห็นใจภาคธุรกิจการท่องเที่ยว
ส่วนการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1 มองว่า สิ่งที่จะได้รับผลกระทบหนัก คือธุรกิจท่องเที่ยว จุดนี้อยากให้มองว่า แตกต่างจากนักลงทุน เพราะนักท่องเที่ยวเมื่อยามใดบ้านเมืองมีปัญหา หากไม่เกิดความรุนแรงก็จะส่งผลประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าสถานการณ์เลวร้าย อาจต้องใช้เวลา 3 -4 เดือนถึงจะกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างลืมว่าธุรกิจท่องเที่ยวนับเป็ฯรายได้หลักที่ไหลเข้ามาในประเทศเช่นกัน หากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่มีความมั่นใจและหลีกเลี่ยงเข้าไทย ผู้ที่ต้องประสบเคราะห์หนักสุดคือบรรดาผู้ประกอบการ ยิ่งยืดเยื้อถึงช่วงสงกรานต์ยิ่งเลวร้ายหนัก แม้จำนวนนักท่องเที่ยวในกรุงเทพจะน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือและภาคใต้ แต่ภาพรวมก็จะมีผลกระทบออกมาให้เห็น ดังนั้นผู้ชุมนุมควรคิดถึงเรื่องนี้ด้วย
***ประเมินดัชนีมีลุ้นถึง 830 จุด
นายธิติ ธาราสุข ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท ชาร์ตมาสเตอร์ กล่าวให้ความเห็นทางเทคนิคต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงนี้ว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปต่อ แต่เป็นไปในทิศทางชะลอตัว จากช่วงนี้ที่ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะนักลงทุนมีความมั่นใจ โดยเฉพาะต่าชาติที่เชื่อมั่นในการควบคุมของภาครัฐ จึงมีแนวต้านที่ดัชนีมีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ 820-830 จุด ขณะเดียวกันจุดที่น่าสังเกตุอีกประการ คือ การเคลื่อนไหวของหุ้นใหญ่ หลายตัวตอนนี้เริ่มมีการชะลอตัวบ้าง ขณะที่หุ้นขนาดกลางและเล็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห้นว่าน่าจะเป็นช่วงปลายของการปรับขึ้นของดัชนีในรอบนี้เช่นกัน
***กองทุนเห็นด้วยห้ามแดงเดือด
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด กล่าวว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงขณะนี้ เป็นที่น่ายินดีว่ามีผลกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุนน้อยมาก ดังนั้นแม้จะมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อ แต่ถ้าภาครัฐสามารถควบคุมได้ ก็ไม่น่าจะสร้างปัญหาต่อตลาดทุนแต่อย่างใด อีกทั้งช่วงนี้ยังมีเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาตลาดหุ้นไทยโดยตลอด เพราะเห็นในศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทย ยิ่งส่งผลดีต่อการปรับตัวของดัชนีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บลจ.ประเมินไว้ว่าหากค่า P/E ของตลาดยังอยู่ในระดับไม่เกิน 13 เท่า ก็ยังถือว่ายังเข้ามาลงทุนในลาดหุ้นได้ ซึ่งคาดว่าหุ้นไทยในรอบนี้น่าจะมีโอกาสได้เห็นสูงขึ้นกว่า 800 จุด แต่ก็ควรระมัดระวังการลงทุนตั้งแต่ดัชนีแตะที่ระดับ 780 จุดได้แล้ว ส่วนตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/53 ยังเชื่อว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.5- 5.0% อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณืไว้ เพราะเชื่อว่าจะเป็นการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 4/52 ที่จีดีพีเติบโตขึ้น 5% ขณะที่ไตรมาส 2 น่าจะปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ หรือไซเคิลของจีดีพีทั่วไปอยู่แล้ว
**แดงป่วนครบสัปดาห์แต่หุ้นพุ่ง 50 จุด
ทั้งนี้ จากการสำรวจความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ปิดตลาดเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ระดับ 725.95 จุด มาจนถึงปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) ปิดที่ 774.59 จุด พบว่าตลอด สัปดาห์ที่ผ่านมา (12-19 มี.ค.) ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นร่วม 50 จุด โดยเพิ่มขึ้น 48.64 จุด
และเมื่อดูการเคลื่อนไหวของดัชนีตั้งแต่ต้นเดือน (2 ม.ค.) ซึ่งปิดที่ระดับ 733.19 จุด จะพบว่าดัชนีปรับสูงขึ้นถึง 41.40 จุด โดยดัชนีเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ถือว่าเป็นการสถิติใหม่หลายอย่างให้แก่ตลาดหุ้นไทย เริ่มตั้งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดของดัชนีซึ่งทำลายสถิติในรอบ 19 เดือน (774.59จุด) เมื่อเทียบกับ 2 ก.ค.51 ซึ่งปิดที่ 760.01 จุด รวมถึงผลักดันให้ มาร์เกตแคปของตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6,226,529.11 ล้านบาท หรือเป็นสถิติที่สูงสุดในรอบ 20 เดือน ขณะที่ วันที่ 9 มี.ค.นับเป็นวันที่ดัชนีหุ้นอยู่ที่ระดับต่ำสุดของเดือน โดยปิดที่ระดับ 718.77 จุด และวันที่ 16 มี.ค.ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 17.37 จุด โดยปิดที่ 752.20 จุด ส่วนวันที่ดัชนีปรับตัวลงมากสุด คือ 5 มี.ค.ซึ่งลดลง 6.86 จุด ปิดที่ 723.96 จุด
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในรอบ 3 เดือนล่าสุดของดัชนีหลักทรัพย์ พบว่าเพิ่มขึ้น 6.13% ขณะที่รอบ 6 เดือนล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.90% และตั้งแต่ต้นปี (2 ม.ค.)เพิ่มขึ้น 3.33% ค่า P/E ณ ปิดตลาด 19 มี.ค.อยู่ที่ 14.62 เท่า และP/BV อยู่ที่ 1.61 เท่า
จากการชุนนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา สร้างความตึงเครียดต่อสถานการณ์เมืองต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวกลับไม่มีผลต่อการภาคการลงทุนโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มากนัก อันเป็นคำถามมาสู่ตัวผู้ชุมนุมเอง แม้จะมีการแก้ต่างภายหลังว่าไม่ใช่พวกพ้องของตน หรือเป็นของปลอมก็ตาม
ล่าสุด การชุมนุมใหญ่อีกรอบของกลุ่มเสื้อแดง (20 มี.ค.) ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ภาคการลงทุนและภาคธุรกิจหลายฝ่ายกังวล ยังให้ความสำคัญกับ ระยะเวลาการชุมนุมที่จะยืดเยื้อมากน้อยแค่ไหน รวมถึงการก่อความรุนแรงที่ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าวหากเกิดขึ้น จะมีผลต่อภาพรวมของประเทศในหลายประเด็นเช่นกัน
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST กล่าวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ภาพรวมทิศทางตลาดหุ้นไทยในขณะนี้ ต้องยอมรับว่า อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะทุกฝ่ายระวังตัวกันมากทั้งฟากรัฐบาล และกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงที่มีผลต่อประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี และหากควบคุมได้ตลอดก็จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในด้านความกังวลที่ลดลง ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตัวที่อยู่ในกรอบ ไม่ออกมาสร้างความรุนแรง เพราะดัชนีตลาดหุ้นผ่านจุดตึงเครียดในช่วงเริ่มต้นการชุมนุมมาแล้ว
ส่วนผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของจีดีพีประเทศไทย ในไตรมาส 1/53 นั้น ประเมินว่า เรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลมากนัก และถ้าภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวกลับมา บวกกับการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ในอัตราสูง เชื่อว่าน่าจะผลักดันในตัวเลขจีดีพีในไตรมาสนี้เป็นไปตามเป้าที่ภาครัฐวางไว้
***ย้ำแดงชุมนุมยืดเยื้อได้แต่ห้ามรุนแรง
แหล่งข่าววงการโบรกเกอร์รายหนึ่ง ให้ความเห็นว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากนั้น ต้องยอมรับวง่าช่วงนี้กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศมีผลต่อตลาดมาก โดยนักลงทุนต่างชาติมีมุมมองต่อสถานการณ์การเมืองในไทยไทยเป็นเรื่องรอง เพราะเชื่อมั่นว่า ภาครัฐบาลจะสามารถควบคุมการชุมนุมนี้ได้อย่างไม่เกิดปัญหา หลังได้รับทราบแนวทางและวิธีปฏิบัติต่อผู้ชุนนุมของรัฐบาลที่มีการออกมาชี้แจงอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนยังความสำคัญกับปัญหาและแนวโน้มค่าเงินสกุลหลักของโลก อย่างดอลลาร์สหรัฐ ยูโรที่ได้รับผลจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศต่างๆที่เกิดขึ้นมากกว่า ดังนั้นเมื่อประเทศสหรัฐฯ และแถบยุโรปยังมีปัญหา เม็ดเงินเหล่านี้ยังจำเป็นต้องวิ่งหาตลาดอื่น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ดี รวมทั้งไทยด้วย ดูได้จากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆตั้งแต่ไตรมาส 4/52 ที่เริ่มมีการประกาศออกมาในทิศทางที่ดีขึ้น
ดังนั้น แม้กลุ่มเสื้อแดงจะไม่ยอมยุติการชุมนุม แต่หากยังสามารถควบคุมฝูงชนไม่ให้เกิดการก่อความรุนแรงแดง อาจจะกล่าวได้ว่ากาชุมนุมในครั้งนี้แทบจะไม่มีผลต่อต่อการเติบโตในตลาดทุนของประเทศเลย เพราะบรรยากาศการลงทุนในช่วงนี้ยังมีปัจจัยบวกจากเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาช่วยอยู่ อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นนี้ย่อมจะหมดไปได้ ภายใต้เงื่อนไขของความรุนแรง หรือความตรึงเครียดของสถานการณ์ ซึ่งหมายถึง หากมีการชุนนุมยืดเยื้อเกิดขึ้นจริงย่อมมีต่อจิตวิทยานักลงทุนไม่บ้างก็น้อย แม้ตอนนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้และซึมซับปัจจัยลบหรือความกังวลดังกล่าวมาแล้วก็ตาม
ขณะที่ ผลต่อการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในประเทศ ช่วงไตรมาส 1/53 แหล่งข่าวกล่าวว่า น่าจะมีผลบ้างแต่อยู่ในระดับเล็กน้อย หากมีการชุนนุมยืดเยื้อแต่ไม่มีสถานการณ์รุนแรง แต่น่ากังวลภาคส่งออกมากกว่าเนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินได้
“หากเกิดความรุนแรงขึ้น จุดนี้จะมีผลต่อตลาดหุ้นในทันที ตรงนี้เราคงไม่ต้องมองไปถึงภาครัฐ เพราะเขาชี้แจงตลอดว่าเวลาว่าคอยควบคุม ไม่ใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว จึงต้องมองไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม หากมีการยั่วยุ ปลุกอารมณืและคุมคนของตนเองไม่อยู่ จนเกิดเหตุการซ้ำรอย เมษายนปีก่อนจุดนี้จะสร้างแรงเทขายหุ้นขึ้นมาก แม้จะมีแรงซื้อเข้ามาสูงด้วยก็ตาม ดังนั้นทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ตัวของกลุ่มเสื้อแดงเอง ว่า จะทำตามที่ได้ประกาศไว้หรือไม่ว่าจะไม่สร้างความรุนแรง อีกอย่างการชุนนุมยือเยื้อเกินไปโดยไร้เหตุผล ก็ไม่ใช่เรื่องดีต่อตลาดหุ้น ต้องอย่างลืมว่าปัจจัยบวก รหือความมั่นใจย่อมมีวันถูกสั่นคลอน หรือหมดลงได้ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและผู้ชุมนุมควรหาวิธียุติเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว”
***วอนเห็นใจภาคธุรกิจการท่องเที่ยว
ส่วนการเติบโตของตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1 มองว่า สิ่งที่จะได้รับผลกระทบหนัก คือธุรกิจท่องเที่ยว จุดนี้อยากให้มองว่า แตกต่างจากนักลงทุน เพราะนักท่องเที่ยวเมื่อยามใดบ้านเมืองมีปัญหา หากไม่เกิดความรุนแรงก็จะส่งผลประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าสถานการณ์เลวร้าย อาจต้องใช้เวลา 3 -4 เดือนถึงจะกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างลืมว่าธุรกิจท่องเที่ยวนับเป็ฯรายได้หลักที่ไหลเข้ามาในประเทศเช่นกัน หากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่มีความมั่นใจและหลีกเลี่ยงเข้าไทย ผู้ที่ต้องประสบเคราะห์หนักสุดคือบรรดาผู้ประกอบการ ยิ่งยืดเยื้อถึงช่วงสงกรานต์ยิ่งเลวร้ายหนัก แม้จำนวนนักท่องเที่ยวในกรุงเทพจะน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือและภาคใต้ แต่ภาพรวมก็จะมีผลกระทบออกมาให้เห็น ดังนั้นผู้ชุมนุมควรคิดถึงเรื่องนี้ด้วย
***ประเมินดัชนีมีลุ้นถึง 830 จุด
นายธิติ ธาราสุข ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท ชาร์ตมาสเตอร์ กล่าวให้ความเห็นทางเทคนิคต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงนี้ว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปต่อ แต่เป็นไปในทิศทางชะลอตัว จากช่วงนี้ที่ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะนักลงทุนมีความมั่นใจ โดยเฉพาะต่าชาติที่เชื่อมั่นในการควบคุมของภาครัฐ จึงมีแนวต้านที่ดัชนีมีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ 820-830 จุด ขณะเดียวกันจุดที่น่าสังเกตุอีกประการ คือ การเคลื่อนไหวของหุ้นใหญ่ หลายตัวตอนนี้เริ่มมีการชะลอตัวบ้าง ขณะที่หุ้นขนาดกลางและเล็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห้นว่าน่าจะเป็นช่วงปลายของการปรับขึ้นของดัชนีในรอบนี้เช่นกัน
***กองทุนเห็นด้วยห้ามแดงเดือด
นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด กล่าวว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงขณะนี้ เป็นที่น่ายินดีว่ามีผลกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุนน้อยมาก ดังนั้นแม้จะมีการชุมนุมที่ยืดเยื้อ แต่ถ้าภาครัฐสามารถควบคุมได้ ก็ไม่น่าจะสร้างปัญหาต่อตลาดทุนแต่อย่างใด อีกทั้งช่วงนี้ยังมีเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาตลาดหุ้นไทยโดยตลอด เพราะเห็นในศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทย ยิ่งส่งผลดีต่อการปรับตัวของดัชนีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บลจ.ประเมินไว้ว่าหากค่า P/E ของตลาดยังอยู่ในระดับไม่เกิน 13 เท่า ก็ยังถือว่ายังเข้ามาลงทุนในลาดหุ้นได้ ซึ่งคาดว่าหุ้นไทยในรอบนี้น่าจะมีโอกาสได้เห็นสูงขึ้นกว่า 800 จุด แต่ก็ควรระมัดระวังการลงทุนตั้งแต่ดัชนีแตะที่ระดับ 780 จุดได้แล้ว ส่วนตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/53 ยังเชื่อว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.5- 5.0% อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณืไว้ เพราะเชื่อว่าจะเป็นการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 4/52 ที่จีดีพีเติบโตขึ้น 5% ขณะที่ไตรมาส 2 น่าจะปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ หรือไซเคิลของจีดีพีทั่วไปอยู่แล้ว
**แดงป่วนครบสัปดาห์แต่หุ้นพุ่ง 50 จุด
ทั้งนี้ จากการสำรวจความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ปิดตลาดเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ระดับ 725.95 จุด มาจนถึงปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 มี.ค.) ปิดที่ 774.59 จุด พบว่าตลอด สัปดาห์ที่ผ่านมา (12-19 มี.ค.) ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นร่วม 50 จุด โดยเพิ่มขึ้น 48.64 จุด
และเมื่อดูการเคลื่อนไหวของดัชนีตั้งแต่ต้นเดือน (2 ม.ค.) ซึ่งปิดที่ระดับ 733.19 จุด จะพบว่าดัชนีปรับสูงขึ้นถึง 41.40 จุด โดยดัชนีเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ถือว่าเป็นการสถิติใหม่หลายอย่างให้แก่ตลาดหุ้นไทย เริ่มตั้งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงสุดของดัชนีซึ่งทำลายสถิติในรอบ 19 เดือน (774.59จุด) เมื่อเทียบกับ 2 ก.ค.51 ซึ่งปิดที่ 760.01 จุด รวมถึงผลักดันให้ มาร์เกตแคปของตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6,226,529.11 ล้านบาท หรือเป็นสถิติที่สูงสุดในรอบ 20 เดือน ขณะที่ วันที่ 9 มี.ค.นับเป็นวันที่ดัชนีหุ้นอยู่ที่ระดับต่ำสุดของเดือน โดยปิดที่ระดับ 718.77 จุด และวันที่ 16 มี.ค.ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 17.37 จุด โดยปิดที่ 752.20 จุด ส่วนวันที่ดัชนีปรับตัวลงมากสุด คือ 5 มี.ค.ซึ่งลดลง 6.86 จุด ปิดที่ 723.96 จุด
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในรอบ 3 เดือนล่าสุดของดัชนีหลักทรัพย์ พบว่าเพิ่มขึ้น 6.13% ขณะที่รอบ 6 เดือนล่าสุดเพิ่มขึ้น 3.90% และตั้งแต่ต้นปี (2 ม.ค.)เพิ่มขึ้น 3.33% ค่า P/E ณ ปิดตลาด 19 มี.ค.อยู่ที่ 14.62 เท่า และP/BV อยู่ที่ 1.61 เท่า